มึนหนักมาก!! นักวิชาการพุทธศาสนางงร่าง รธน.มาตรา 67 ให้รัฐหนุน-เผยแผ่หลักธรรมพุทธ “เถรวาท” เท่านั้น

แฟ้มภาพ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และพุทธศาสนา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Somrit Luechai ระบุว่า “เหตุผลที่ผมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2559 คือในมาตรา 67 หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ซึ่งระบุว่า “…ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและเผยแผ่หลักธรรมของพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา…” ประเด็นคือทำไมต้องระบุคำว่า “พุทธศาสนาเถรวาท” ทั้งๆ ที่ในรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ไม่มีคำนี้ และคำถามต่อมาคือ “พุทธศาสนาเถรวาทของใคร?” ในความจริงแล้วเถรวาทในไทยมีหลายสำนัก ดังนั้น เห็นกันชัดๆ ว่าเถรวาทที่จะเข้าข่ายได้รับการส่งเสริม และสนับสนุนจากรัฐนั้น ต้องเป็นเถรวาทที่เอื้อประโยชน์ต่อรัฐ เป็นเถรวาทที่รัฐพอใจยินดี แล้วพุทธศาสนาเถรวาทสำนักอื่นๆ ล่ะ? ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเถรวาทที่รัฐไทยยังไม่รับรองล่ะ? จีนนิกาย? อานัมนิกาย? เหล่านี้ไม่ใช่พุทธศาสนาหรือ? ทำไมต้องจำกัดแค่ “เถรวาท” เท่านั้น มิใยต้องพูดถึงศาสนาอื่น หรือลัทธิอื่น”

“กล่าวโดยสรุปก็คือ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะดึงพุทธศาสนาให้เข้ามารับใช้รัฐอย่างเต็มตัว เปรียบเสมือนดึงพุทธศาสนาจากที่กว้างมาสู่ที่แคบ และท้ายที่สุดแล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นพิษภัยต่อพุทธศาสนาเอง โดยทฤษฎีแล้วเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนาคือนิพพาน และเส้นทางสู่เป้าหมายนั้นมีหลายวิธีหลายเส้นทาง แต่นี้รัฐไทยกำลังจำกัดว่า “เถรวาท” เท่านั้นคือคำตอบสุดท้าย ผมขอแย้งว่า” เป็นคำตอบที่ผิดถนัดครับ” นี้แหละคือเหตุผลที่ผมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อีกทั้ง ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเรื่องศาสนา ให้ร่วมฟังกลุ่ม ?พุทธราษฎร์? มองร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. … ในวันที่ 11 เมษายน เวลา 13.00 น.ที่โรงแรมรอยัลรัตนโกสินทร์ จัดโดยมูลนิธิพุทธสาวิกา โดยเชิญวิทยากรที่มีความรู้ความเข้าใจในประเด็นที่เกี่ยวข้องร่วมถกกันในเวทีเสวนานี้ ได้แก่ นายกิตติชัย จงไกรจักร ผู้ช่วยนักวิชาการปฏิรูปกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และผม” นายสมฤทธิ์ระบุ

นายสมฤทธิ์ เปิดเผยว่า สาเหตุผลที่ตนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 คือมีบางบทบัญญัติ เช่น ในมาตรา 67 หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ซึ่งระบุคำว่าพุทธศาสนาเถรวาท ทั้งๆ ที่ในรัฐธรรมนูญปี 2540 และปี 2550 ไม่มีคำนี้ และคำถามต่อมาคือพุทธศาสนาเถรวาทเป็นของใคร ในความจริงแล้วเถรวาทในไทยก็มีหลายสำนัก ดังนั้น เห็นกันชัดๆ ว่าเถรวาทที่จะเข้าข่ายได้รับการส่งเสริม และสนับสนุนจากรัฐนั้น ต้องเป็นเถรวาทที่เอื้อประโยชน์ต่อรัฐ เป็นเถรวาทที่รัฐพอใจยินดี แล้วพุทธศาสนาเถรวาทสำนักอื่นๆ เหล่านี้ไม่ใช่พุทธศาสนาหรือ โดยสรุปคือร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะดึงพุทธศาสนาให้เข้ามารับใช้รัฐอย่างเต็มตัว เปรียบเสมือนดึงพุทธศาสนาจากที่กว้างมาสู่ที่แคบ และท้ายที่สุดแล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็จะเป็นพิษภัยต่อพุทธศาสนาเอง

นายสมฤทธิ์กล่าวอีกว่า ส่วนที่มีพระสงฆ์บางรูปมองว่าบทบัญญัติดังกล่าวคุ้มครองพระพุทธศาสนาทุกนิกาย แต่เรื่องการเผยแผ่ศาสนา และการศึกษา จะเน้นหลักใหญ่ที่ชาวพุทธไทยนับถือคือนิกายเถรวาท กรณีนี้มองจากประสบการณ์ที่ตนเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยสงฆ์ ทำให้ทราบว่าพระสงฆ์หลายรูปมีความไม่รู้มากกว่าความรู้ จึงอยากถามว่าท่านรู้หรือไม่ว่ารัฐธรรมนูญคืออะไร ขอยกตัวอย่างว่าหากมีกฎหมายระบุว่า “โรงพยาบาลแห่งนี้รักษาเฉพาะคนไทย รักษาคนไทยเป็นเบื้องต้น คนชาติอื่นเข้ามารักษาด้วยไม่เป็นไร” จะมีใครยอมรับกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ โดยหลักการทั้งในแง่ศาสนา และแง่ของรัฐ ต้องคุ้มครองดูแลอย่างเท่าเทียมกัน และเรื่องการนับถือศาสนาเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล รัฐไม่ควรมากำกับเรื่องดังกล่าว รัฐธรรมนูญที่ดีต้องตอบโจทย์ในแง่ความเชื่อ มีเสรีภาพ และเสมอภาค ที่สำคัญหน้าที่ของรัฐต้องทำให้ทุกศาสนาจับมือกันเป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน ไม่ใช่มาจำกัดศาสนาให้แคบลง

Advertisement

พระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จนฺทสาโร) เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย (ศพศ) กล่าวว่า ที่นายสัมฤทธิ์โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงเหตุผลที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 ในมาตรา 67 หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ เพราะมองว่ารัฐอุปถัมภ์คุ้มครองพุทธศาสนานิกายเถรวาท แต่ไม่คุ้มครองนิกายอื่นๆ นั้น บทบัญญัติดังกล่าวระบุชัดว่ารัฐบาลอุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนาทุกนิกายเท่าเทียมกัน แต่ในส่วนของนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นนิกายที่ชาวพุทธในไทยส่วนใหญ่นับถือ ดังนั้น รัฐจึงสนับสนุนการศึกษาการเผยแผ่หลักธรรมศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นหลัก เพื่อให้ทิศทางในการเผยแผ่ศาสนาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ ศาสนาพุทธทุกนิกายอยู่ร่วมกันได้ แม้จะมีความแตกต่างกันด้านพิธีกรรมบ้างก็ตาม แต่ที่เป็นปัญหาคือการไม่บัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติต่างหาก ซึ่งขณะนี้ ศพศ กำลังศึกษาในข้อ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image