เผย 3 แชมป์นวัตกรรม ‘นักศึกษา’ พร้อมพัฒนา-ต่อยอด ใช้จริง !

ถือเป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่เป็นเครื่องยืนยันความก้าวหน้าของวงการการศึกษาและวิศวกรรมของไทย

กำลังพูดถึง งานสร้างสรรค์นวัตกรรมนักศึกษาไทย สู่สตาร์ตอัพ From Creativity & Innovation To Startups ประจำปี 2016 จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ที่นำเสนอผลงานเกือบ 500 ชิ้นจาก 10 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาโทรคมนาคม ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ โยธา เคมี อาหาร อุตสาหการ เครื่องกล คอมพิวเตอร์ การวัดและควบคุม

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรมด้วยองค์ความรู้และสมาร์ทเทคโนโลยี เปิดเวทีคนรุ่นใหม่ และเปิดโอกาสให้เจ้าของนวัตกรรมและผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนมาพบปะกันในงานนี้ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือและต่อยอดเชิงพาณิชย์ต่อไป

พ้นจากร่องรอยอิดโรยที่ปรากฏบนใบหน้าอ่อนเยาว์นั้น คือความภาคภูมิใจต่อชิ้นงานของตัวเอง

Advertisement

ผลงานที่เรียงรายอยู่นั้นเต็มไปด้วยความหลากหลายและสร้างสรรค์ สะท้อนความเป็นคนรุ่นใหม่ซึ่งมองเห็นปัญหาและความจำเป็นจากมุมสายตาของตน ออกมาเป็นผลงานมากมายตามความถนัดในสาขาวิชาชีพที่เรียน

ใช่หรือไม่ว่า นี่ย่อมเป็นเวทีใหญ่อีกหนึ่ง เวทีสำคัญที่ช่วยเสริมศักยภาพและอนาคตของประเทศไทยให้ขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นี่หมายถึงโอกาสในการต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่ให้ผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของไทย ให้โดดเด่นสนองตอบโจทย์ของสังคม คุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจ

ที่มา ที่ไป งานโชว์เคสวัยโจ๋

ยิ่งใหญ่สุดในรอบ 55 ปี

นวัตกรรมต่างๆ ที่นักศึกษาพัฒนาขึ้นนี้ หากมองในระยะยาว นับเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายที่จะลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ลดการนำเข้า สามารถพึ่งพาและพัฒนาเทคโนโลยีของไทยเองในอนาคต และเป็นการให้โอกาสคนรุ่นใหม่ให้เข้ามามีบทบาทและแสดงศักยภาพในโลกการทำงาน ในเวลาต่อไปอย่างได้ผล

Advertisement

รศ.ดร.คมสัน มาลีสี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวถึงหมุดหมายของการจัดงาน ซึ่งครั้งนี้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 55 ปี ว่า งานครั้งนี้เพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรมด้วย องค์ความรู้และเทคโนโลยี เปิดเวทีสำหรับการแสดงผลงานของคนรุ่นใหม่และเปิดโอกาสให้เจ้าของนวัตกรรมและ ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนมาพบปะกันในงานนี้ เพื่อเป็นลู่ทางความร่วมมือและต่อยอดเชิงพาณิชย์ต่อไป

“เรานำเอาภาคอุตสาหกรรมมารวมกับภาคการศึกษา ทำให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างแท้จริง คือต่อให้มีการเปลี่ยนรัฐบาลในอนาคตข้างหน้า โครงการนี้ก็ยังดำเนินต่อไปได้เพราะไม่ขึ้นกับรัฐบาล” คณบดีคณะวิศวรรมศาสตร์จากรั้วลาดพระบังอธิบาย “เป็นความเข้มแข็งอย่างแท้จริงของประเทศ จะเกิดการพัฒนา ขับเคลื่อนประเทศไปพร้อมภาคอุตสาหกรรม”

คมสัน มาลีสี

ไม่เพียงเท่านั้น คมสันยังมองว่า ตัวมหาวิทยาลัยเองก็ต้องพัฒนาควบคู่ไปด้วยเช่นกัน อาจารย์ประจำภาควิชาต้องไม่เน้นแค่การสอน แต่ต้องกระตุ้นให้นักศึกษาทำงานเป็น เพื่อผลักดันผลงานกลับไปสู่ภาคอุตสาหกรรม

“เราต้องตระหนักให้ได้ว่า เหตุใดที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมจึงไม่ค่อยสนับสนุนมหาวิทยาลัย เพราะประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่นั้น ภาคอุตสาหกรรมนิยมให้ทุนแก่มหาวิทยาลัยในการพัฒนาบุคลากรในอนาคตเยอะมาก”

เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศให้แข่งขันได้ก้าวหน้าและยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรไทยให้มีศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ทักษะที่จำเป็นของวิถีชีวิต และโลกธุรกิจในศตวรรษใหม่ ดังนั้นการเรียนการสอนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์จึงใช้องค์ความรู้จากหลากหลาย สาขา มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล พัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองสังคม เศรษฐกิจ ทั้งในปัจจุบันและรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้

“อีกประการสำคัญคือ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ นับจากนี้ไป ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาต้องร่วมมือกันเพื่อทำงานอย่างใกล้ชิด และร่วมค้นคว้าสิ่งที่ตอบโจทย์ แก้ปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ซึ่งความร่วมมือเช่นนี้จะทำให้การวิจัยและพัฒนาต่างๆ ไม่ตั้งไว้บนหิ้งอีกต่อไป ลดการสูญเปล่าของงานวิจัย งบประมาณ และเวลาที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจอย่างเต็มที่”

และถัดจากนี้ คือผลงานที่คว้ารางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยม Best Exhibition Award 2016

ผู้ชนะจากระบบแจ้งเตือนโจรกรรมจักรยานยนต์
ผู้ชนะจากระบบแจ้งเตือนโจรกรรมจักรยานยนต์

เลี่ยงรถติด-ประหยัดค่าใช้จ่าย

ด้วย ‘แอพพ์พาร์ทลี่’ นำทาง

เริ่ม ต้นที่ พาร์ทลี่ : ระบบแนะนำวิธีการเดินทางด้วยบริการสาธารณะในกรุงเทพมหานคร (Pathly : Bangkok Public Transportation Route Recommendation System) ผลงานของ ปรัชญา บุญศรี จตุรณต์ นามวิเศษ และธนกร แก้วกัณหา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ปรัชญาเล่าให้ ฟังว่า ที่มาของนวัตกรรมนี้มาจากปัญหาจราจรติดขัด ทำอย่างไรจึงจะชี้แนะประชาชนทั่วไปหรือนักท่องเที่ยวให้มีทางเลือกวิธีการ เดินทางด้วยบริการสาธารณะ รถ เรือ ราง ไปยังจุดหมายได้อย่างประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย โดยเราออกแบบเป็นแอพพลิเคชั่นบนมือถือ ชื่อว่า พาร์ทลี่ (Pathly) หรือระบบแนะนำวิธีการเดินทางด้วยบริการสาธารณะในกรุงเทพฯ ผ่านทาง Mobile Application และ Web Application

ทีมผู้สร้างแอพลิเคชั่น Pathly
ทีมผู้สร้างแอพลิเคชั่น Pathly

พาร์ทลี่ (Pathly) ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก

1.Mobile Application ให้คนทั่วไปเข้าใช้งาน ค้นหาเส้นทางด้วยบริการระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ ด้วยสองปัจจัยคือ เวลาและค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการเดินทาง อีกทั้งค้นหา-เลือกบริการระบบขนส่งสาธารณะได้ เช่น ไม่ต้องการเดินทางด้วยรถเมล์ร้อน ก็สามารถ exclude บริการนี้ออกจากการค้นหาได้ โดยปัจจุบันเป็นเราทำต้นแบบ (prototype) ที่ทางทีมสร้างเป็น Android Application โดยใช้ Android Native ภาษา Java ในการพัฒนา

2.Web Application สำหรับให้ผู้ดูแลระบบเข้ามาจัดการข้อมูลของบริการระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ ได้ และสามารถจัดการเกี่ยวกับรายงานข้อผิดพลาดต่างๆ ที่ผู้ใช้รายงานเข้ามาในระบบ เพื่อเสริมประสิทธิภาพให้กับระบบมากขึ้น โดยใช้ Spring Framework ในการพัฒนา

3.Pathly Service ซึ่งจะเป็น Web Service ที่ประมวลผลข้อมูลต่างๆ จากฐานข้อมูลเพื่อค้นหาเส้นทางโดยใช้อัลกอริทึมที่ทีมงานเขียนไว้ ซึ่งพัฒนาส่วนนี้โดยใช้ Spring Framework

4.Database เป็นฐานข้อมูลในลักษณะของ Graph Database นำมาจัดเก็บข้อมูลบริการระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ เช่นข้อมูลสถานี ข้อมูลเส้นทางเดินรถ ฯลฯ โดยใช้ OrientDB มาจัดทำฐานข้อมูล

สำหรับ จุดเด่นของพาร์ทลี่ (Partly) คือ แนะนำเส้นทางได้ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ โดยพิจารณาเส้นทางจากค่าใช้จ่ายและเวลาที่ใช้เดินทาง อีกทั้งสามารถใช้บริการได้ทั้งบนโทรศัพท์มือถือและเว็บไซต์ และแจ้งเตือนเมื่อเดินทางถึงสถานที่ปลายทางอีกด้วย ในขั้นต่อไปคาดว่าจะสามารถพร้อมให้คนทั่วไปทดลองใช้งานได้ฟรีในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า และจะพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ โดยเพิ่มข้อมูลสถานที่เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหารฯ ได้ โดยใช้แอพพลิเคชั่นนำทาง รวมทั้งพัฒนาระบบค้นหาเส้นทางที่สั้นที่สุดเพื่อวางแผนขนส่งสินค้าให้มีต้น ทุนต่ำลง

ระบบป้องกัน ‘โจรกรรม’

จอดมอ’ไซค์ ปลอดภัยหายห่วง

นวัตกรรมต่อมาคือ ระบบแจ้งเตือนโจรกรรมรถจักรยานยนต์ (Motorcycle Alarm and Tracking System) โดยธนาศักดิ์ ชมจุรัย และธนัท เมษพันธุ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม

ผลงานนี้ได้แรง บันดาลใจจากสังคมไทยซึ่งนิยมใช้รถจักรยานยนต์มากถึง 19 ล้านคันทั่วประเทศ ซึ่งปัญหาการโจรกรรมก็มากตามไปด้วย เพราะโจรกรรมได้เร็ว และนำไปขายต่อได้ราคาดี

ธนาศักดิ์กล่าวว่า ทีมงานจึงต้องการสร้างระบบการแจ้งเตือนการโจรกรรมและติดตามตำแหน่งของรถที่ ถูกขโมยด้วยวิธีง่ายๆ และมีประสิทธิภาพ โดยทำงานผ่านเซ็นเซอร์ความเร่งแบบ 3 แกน ที่ใช้ในการตรวจจับการเคลื่อนที่ของรถจักรยานยนต์และรีเลย์เป็นสวิตช์ตัดการ จ่ายไฟให้กับรถจักรยานยนต์ โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ในการประมวลผล ถ้าหากเกิดการเคลื่อนที่ที่ผิดปกติเกิดขึ้น จะมีการแจ้งเตือนด้วยเสียงจากแตรของรถจักรยานยนต์และใช้จีพีเอสโมดูล (GPS Module) ในการโทรแจ้งเจ้าของรถผ่านโทรศัพท์ และระบุตำแหน่งของรถจักรยานยนต์ แล้วส่งข้อมูลพิกัดตำแหน่งไปจัดเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ โดยเจ้าของรถจักรยานยนต์สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวในฐานข้อมูลผ่านเว็บ เบราเซอร์ ทั้งนี้การทำงานดังกล่าวสามารถสั่งการผ่านรีโมตคอนโทรลเลอร์

“จุดเด่นที่แตกต่างจากเครื่องกันขโมยในท้องตลาด คือ การใช้เซ็นเซอร์ความเร่ง 3 แกนมาประมวลผลและวิเคราะห์การโจรกรรมทำให้สามารถตรวจจับเฉพาะกรณีที่เสี่ยง จะถูกโจรกรรมได้จริงๆ และการโทรเข้าโทรศัพท์ของเจ้าของรถจะไม่เสียเงิน เพราะสามารถกดวางได้และแจ้งเตือนเจ้าของได้จริง ในขณะที่เครื่องกันขโมยตามท้องตลาดจะใช้เซ็นเซอร์แรงสั่นสะเทือนที่จะแจ้ง เตือนทันทีที่รถสั่น ซึ่งการสั่นนั้นอาจเกิดจากการที่มีรถวิ่งผ่านหรือมีคนมาขยับรถเพื่อจะถอยรถ ก็ได้ อีกทั้งส่งแจ้งเตือนเจ้าของรถผ่านการส่ง sms ซึ่งจะเสียเงินทุกๆ ครั้งที่ส่ง” ธนาศักดิ์กล่าว

สำหรับราคาต้นทุนของอุปกรณ์แจ้งเตือน การโจรกรรมรถจักรยานยนต์ (Motorcycle alarm and tracking system) นี้อยู่ที่ 2,500 บาท ในอนาคตจะพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นที่สามารถสั่งสตาร์ตรถและดับเครื่องยนต์ได้ ผ่านรีโมตคอนโทรลเลอร์ หรือ แอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์ รวมถึงซ่อนกล้องเพื่อถ่ายหน้าขโมยได้ด้วย พร้อมทำแบตเตอรี่แบคอัพให้กับอุปกรณ์

ทีมผู้สร้างนวัตกรรม Traffic Management
ทีมผู้สร้างนวัตกรรม Traffic Management

เก็บข้อมูล พร้อมนำเสนอ

แก้ปัญหาจราจรติดขัด

และอีกหนึ่งนวัตกรรมที่คว้างรางวัล Best Exhibition Award 2016 คือ แนวทางการจัดการจราจรบริเวณถนนฉลองกรุงช่วงพาดผ่าน สจล. โดยอาศัยแบบจำลองระดับจุลภาค (Traffic management) ผลงานของพีรวัฒน์ พงศ์ศิริปรีชา นันท์นภัส ครุธศรี และอชิรญา ชื่นกิติญานนท์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สจล.

พีรวัฒน์บอกว่า “ผลงาน Traffic Management นี้มีแรงบันดาลใจมาจากประสบการณ์การใช้รถใช้ถนนบริเวณถนนฉลองกรุง แคมปัส สจล. ที่มีปัญหารถติดสะสมมากทุกเช้า-เย็น ทำให้สูญเสียพลังงาน บั่นทอนคุณภาพชีวิต และเพิ่มมลพิษในสิ่งแวดล้อม จึงต้องการปรับปรุงการจราจรให้ดีขึ้น จึงคิดค้นแบบจำลอง (Simulation) แนวทางการแก้ปัญหาจราจร ที่แสดงผลในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว 3D Animation, ข้อมูลชุดตัวเลขทางด้านวิศวกรรมจราจร และจัดทำรายงานผลการศึกษาบุคคลทั่วไปที่แม้ไม่มีความรู้ทางด้านวิศวกรรม จราจรก็เข้าใจได้โดยง่าย

แบบจำลองนี้ศึกษาและเก็บข้อมูลจาก 4 ปัจจัยในการจราจรคือ 1.เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการเดินทางช่วงรถติด 2.ช่วงเวลาล่าช้า (Delay Time) 3.ความเร็วเฉลี่ยของรถ 4.ระยะทางที่รถเรียงคิวต่อกันขณะรถติด หลังจากนั้นจึงทำข้อมูลที่ได้ว่าวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาการจราจรได้ 2 แผน ซึ่งมีข้อเสนอเพื่อปรับปรุงการจราจร เช่น สร้างวงเวียนแทนการใช้สัญญาณไฟจราจร ปรับปรุงถนนให้ดีขึ้น ขยายเลนถนน กำหนดระเบียบการจราจรใหม่ อาทิ ห้ามกลับรถบริเวณสี่แยก

วิธีการแก้ ปัญหาการจราจรที่นำเสนอผ่านผลงาน Traffic management ชิ้นนี้นำเสนอในมิติของวิศวกรรมจราจรเท่านั้น หากหน่วยงานใดต้องการที่จะขยายผลสู่การนำไปใช้งานจริงในอนาคต จะต้องศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) และการออกแบบทางด้านวิศวกรรมการทางด้วย”

นี่คือ 3 รางวัลผลงานชนะเลิศ Best Exhibition Award 2016

เป็นบทพิสูจน์อันแข็งแกร่งถึงความสามารถของนักศึกษาไทย ซึ่งจะเติบโตต่อไปในอนาคต

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image