ป.ป.ส.ผนึก ยูเอ็น-ประเทศลุ่มน้ำโขง7 ฝ่าย แก้ยาเสพติด สามเหลี่ยมทองคำ ทุกมิติ

ป.ป.ส.ผนึกกำลัง 7 ฝ่ายประเทศลุ่มน้ำโขง-ยูเอ็น แก้ยาเสพติดสามเหลี่ยมทองคำ ทุกมิติ

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท จ.กระบี่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิด “การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจ (MOU) 7 ฝ่าย ว่าด้วยการควบคุมยาเสพติดในอนุภูมิภาค” ได้แก่ ประเทศจีน ลาว เมียนมา ไทย เวียดนาม กัมพูชา และ สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) โดยมีเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของแต่ละประเทศและหน่วยงานเข้าร่วม สำหรับประเทศไทยนำโดย นายณรงค์ รัตนานุกูล เลขาธิการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด( ป.ป.ส.)และคณะเข้าร่วมประชุม

พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า ต้องขอบคุณ ยูเอ็นโอดีซี ที่ได้เข้ามามีบทบาทริเริ่มการทำงานแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมาตั้งแต่ ช่วงปี 2536 ซึ่งได้ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการขับเคลื่อนกลไก ความร่วมมือนี้ ให้เกิดผลประจักษ์ ทั้งนี้เห็นว่ายูเอ็นโอดีซี และประเทศในอนุภูมิภาค ควรมองปัญหาแบบองค์รวม คือมุ่งเป้าหมายและระดมสรรพกำลังไปสู่การแก้ไขปัญหาในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำเป็นหลัก เนื่องจากยังคงเป็นแหล่งที่มีการลักลอบผลิตยาเสพติดที่ส่งผลกระทบต่อประเทศในอนุภูมิภาคและภูมิภาค ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาในระดับประเทศของแต่ละประเทศ และนอกเหนือ อย่างไรก็ตาม จากการทำงานในกรอบ ของความร่วมมือ 7 ฝ่าย แล้วนั้นประเทศภาคียังได้มีการทำงานร่วมกันใน “แผนปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย” ซึ่งริเริ่มโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี 2556 โดยเป็นการมุ่งสร้างให้พื้นที่ลำน้ำโขงและพื้นที่ใกล้เคียงปลอดภัยจากการลักลอบขนส่งยาเสพติด ซึ่งแบ่งการปฏิบัติเป็น 3 ระยะ ในระยะที่ 1 และ 2 ประเทศเข้าร่วม 4 ประเทศคือ จีน ลาว เมียนมา และไทย

13271834_10208753175842431_1999165495_o

Advertisement

พล.อ.ไพบูลย์ ยังกล่าวต่อว่า จากนั้นในปี 2559 ได้มีการขยายความร่วมมือให้ครอบคลุมประเทศเวียดนามและกัมพูชา ซึ่งเป็นไปตามแผนปฏิบัติการระยะ 3 ทั้งนี้ความร่วมมือประสบผล สำเร็จเป็นอย่างดี ด้วยข้อมูลการข่าวที่รวดเร็วและเป็นปัจจุบัน ทำให้การทำงานเป็นทีมของทั้ง 6 ประเทศ ได้ผลดีมากและเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งให้กับประเทศในภูมิภาคอื่นที่ประสบปัญหายาเสพติดได้ใช้รูปแบบของโครงการแม่น้ำโขงปลอดภัยในการทำงานร่วมกัน ปัจจุบันได้มีการขยายขอบข่ายการดำเนินงานไปสู่มิติอื่น เช่น การพัฒนาทางเลือก การลดอุปสงค์ยาเสพติด ฯลฯ ซึ่งการดำเนินงานทั้งภายใต้กรอบ ความร่วมมือ 7 ฝ่าย และตามแผนปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย ล้วนมีความเชื่อมโยง และเป็นส่วนเสริมซึ่งกันและกัน ให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดในอนุภูมิภาคประสบผลสำเร็จ

พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวด้วยว่า การประชุมในครั้งนี้ เป็นการแสดงออกถึงความร่วมมืออย่างเหนียวแน่นและปณิธานอันแรงกล้าของประเทศภาคีสมาชิกบันทึกความเข้าใจ 7 ฝ่าย ที่ต้องการขจัดภัยคุกคามจากยาเสพติดให้หมดไปจากอนุภูมิภาคนี้ โดยผู้แทนระดับสูงจากหน่วยงานกลางด้านยาเสพติดของแต่ละประเทศ จะมาร่วมกันทบทวนสถานการณ์และหามาตรการแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกมิติ ผ่านการดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการ ว่าด้วยการควบคุมยาเสพติดในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ฉบับที่ 9 โดยมีกิจกรรมที่ประเทศไทยจะให้การสนับสนุนในปี 2559 ได้แก่ การส่งเสริมศักยภาพผู้ปฏิบัติงานสำนักงานประสานงานชายแดน (BLO) การตรวจพิสูจน์ยาเสพติด การเฝ้าระวังการเบี่ยงเบนสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ รวมถึงการสำรวจเส้นทางที่มีความเสี่ยงต่อการลักลอบขนยาเสพติดด้วย

13262562_10208753175522423_168020410_o

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image