เปิดขุนพลสนช.-สปท. ปูพรมชี้แจงคำถามพ่วง

เดินหน้าในทุกกลไกในการร่วมกันลงพื้นที่ชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ล่าสุดหนึ่งในแม่น้ำ 5 สาย อย่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะผู้รับผิดชอบชี้แจงประเด็นคำถามพ่วงในการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

ที่มีคำถามว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง 5 ปีแรก นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี”

ซึ่งหลายฝ่ายต่างตั้งข้อสังเกตและวิเคราะห์ไปในทิศทางเดียวกันว่า ประเด็นเรื่องคำถามพ่วงนั้นจะกลายเป็นประเด็นร้อน ที่ส่งผลชี้วัดต่อการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ด้วย

สนช.ในฐานะผู้รับผิดชอบในการชี้แจงคำถามพ่วง จึงต้องจัดเตรียมกระบวนการลงพื้นที่เพื่อชี้แจงประเด็นคำถามพ่วงอย่างเป็นระบบ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)

Advertisement

ด้วยการคัดเลือก สนช.กระจายกันลงพื้นที่ให้ครบทั้ง 9 กลุ่มจังหวัด เริ่มจากกลุ่ม 1 จ.ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง นนทบุรี และ สระบุรี, มี พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ ประธานกลุ่มฯ พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร รองประธานคนที่หนึ่ง พล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร (สปท.) รองประธานคนที่สอง พล.ร.อ.วีระพันธ์ สุขก้อน เลขานุการ และ พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน (สปท.) เป็นรองเลขานุการ

กลุ่ม 2 ประกอบด้วย จ.ชลบุรี ระยอง ตราด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระบุรี นครนายก และสมุทรปราการ มีนายศิระชัย โชติรัตน์ ประธานกลุ่ม

พล.ร.อ.ยุทธนา ฟักผลงาม รองประธานกลุ่ม คนที่หนึ่ง พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม รองประธานกลุ่ม คนที่สอง พล.อ.มารุต ปัชโชตะสิงห์ รองประธานกลุ่ม คนที่สาม

Advertisement

พล.ร.อ.พลวัฒน์ สิโรดม รองประธานกลุ่ม คนที่สี่ นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ โฆษกกลุ่ม พล.ต.ท.สุวิระ ทรงเมตตา (สปท.) รองโฆษกกลุ่ม

กลุ่ม 3 ประกอบด้วย จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี มีนายธานี อ่อนละเอียด ประธานกลุ่ม

พล.อ.อ.ชนะ อยู่สถาพร รองประธานกลุ่ม คนที่หนึ่ง พล.อ.องอาจ พงษ์ศักดิ์ รองประธานกลุ่ม คนที่สอง พล.อ.สุชาติ หนองบัว รองประธานกลุ่ม คนที่สาม นายเจตน์ ศิรธรานนท์ เป็นโฆษกกลุ่ม

กลุ่ม 4 ประกอบด้วย จ.อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ เลย นครพนม มุกดาหาร และขอนแก่น มีนายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ประธานกลุ่ม พล.ท.ชาญชัย ภู่ทอง รองประธานกลุ่มคนที่หนึ่ง นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ รองประธานกลุ่ม คนที่สอง พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ รองประธานกลุ่มคนที่สาม นายพรศักดิ์ เจียรณัย โฆษกกลุ่ม

กลุ่ม 5 ประกอบด้วย จ.บุรีรัมย์ นครราชสีมา สุรินทร์ ชัยภูมิ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม มีนายชาญวิทย์ วสยางกูร ประธานกลุ่ม นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ที่ปรึกษากลุ่ม

กลุ่ม 6 ประกอบด้วย จ.ภูเก็ต พังงา ระนอง กระบี่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช มี พล.ร.อ.ชุมนุม อาจวงษ์ ประธานกลุ่ม พล.ร.อ.วัลลภ เกิดผล รองประธานกลุ่ม คนที่หนึ่ง นายปรีชา วัชราภัย รองประธานกลุ่ม คนที่สอง พล.ร.อ.พัลลภ ตมิศานนท์ รองประธานกลุ่ม คนที่สาม พล.ท.สุวโรจน์ ทิพย์มงคล เลขานุการกลุ่ม และนายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล โฆษกกลุ่ม

กลุ่ม 7 ประกอบด้วย จ.สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และตรัง มีนายสนิท อักษรแก้ว ประธานกลุ่ม นายภาณุ อุทัยรัตน์ รองประธานกลุ่ม คนที่หนึ่ง

นายวิทวัส บุญญสถิต รองประธานกลุ่ม คนที่สอง นายอนุมัติ อาหมัด รองประธานกลุ่ม คนที่สาม นายเพิ่มพงษ์ เชาวลิต (สปท.) รองประธานกลุ่ม คนที่สี่ นายบัญญัติ จันทน์เสนะ ประธานที่ปรึกษากลุ่ม และนายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล โฆษกกลุ่ม

กลุ่ม 8 ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน พะเยา ลำปาง และลำพูน มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานที่ปรึกษากลุ่ม นายกล้านรงค์ จันทิก ประธานกลุ่ม

นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ รองประธานกลุ่ม คนที่หนึ่ง นายกิตติ วะสีนนท์ รองประธานกลุ่ม คนที่สอง นายคำนูณ สิทธิสมาน (สปท.) รองประธานกลุ่ม คนที่สาม นายปรีชา บัววิรัตน์เลิศ เลขานุการกลุ่ม นายยุทธนา ทัพเจริญ โฆษกกลุ่ม

กลุ่ม 9 ประกอบด้วย จ.พิษณุโลก ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร และอุทัยธานี มี พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานกลุ่ม นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ รองประธานกลุ่ม คนที่หนึ่ง พล.อ.อ.อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ รองประธานกลุ่ม คนที่สอง พล.อ.โปฎก บุนนาค รองประธานกลุ่ม คนที่สาม พล.อ.ชยุติ สุวรรณมาศ เลขานุการกลุ่ม นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ โฆษกกลุ่ม และนายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานที่ปรึกษากลุ่ม

นอกจากนี้ยังมี สนช.และ สปท.ที่เหลือกระจายกันลงไปทำหน้าที่ชี้แจงและอบรมวิทยากร ครู ก. ครู ข. และ ครู ค. จนครบทุกกลุ่มจังหวัดด้วย ซึ่งประเด็นที่ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช.คนที่ 1ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาศึกษา เสนอแนะ และรวบรวมความเห็นเพื่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ สนช. เน้นย้ำกับ สนช.และ สปท.ที่จะลงพื้นที่ไปชี้แจงประเด็นคำถามพ่วงนั้น นั่นคือ ห้ามไม่ให้มีการชี้นำประชาชนในการลงประชามติฯ ซึ่งจะสุ่มเสี่ยงต่อการทำผิด พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติฯ ได้

รวมทั้งยังเน้นย้ำให้ สนช.และ สปท.เตรียมพร้อมในการตอบคำถามชี้แจงกับประชาชนให้เข้าใจ ในข้อสงสัยเกี่ยวกับคำถามพ่วงว่า เป็นการสร้างกลไกของ คสช.ในการสืบทอดอำนาจหรือไม่ ซึ่งมีการประเมินกันว่าจะต้องมีคำถามดังกล่าวสอบถามในเวทีชี้แจงคำถามพ่วงแน่นอน

ส่วนการลงพื้นที่ชี้แจงคำถามพ่วงของ สนช.และ สปท.จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่นั้น คงต้องดูที่ผลชี้วัดการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 สิงหาคมนี้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image