กล้วยหอมทอง จ.อุดรธานี แหล่งปลูกคุณภาพ มาตรฐานส่งออก

ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีการปลูกกล้วยหอมเพื่อการค้าในหลายจังหวัด รวมถึงที่จังหวัดอุดรธานี

โดยการปลูกกล้วยหอมทองเพื่อการค้าของจังหวัดอุดรธานี เกิดขึ้นในปี 2537 โดยมี คุณทองคูณ โพธิ์พรม เกษตรกร บ้านโพธิ์ ต.บ้านโคก อ.สร้างคอม เป็นเกษตรกรผู้เริ่มต้นและจุดประกายการปลูกกล้วยหอมทอง

เริ่มขายจากตลาดท้องถิ่น

เดิมนั้น คุณทองคูณทำงานอยู่ในโรงงานไม้อัดที่จ.นนทบุรี แต่เนื่องด้วยมีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในครัวเรือน จึงตัดสินใจกลับบ้านเกิด มาประกอบอาชีพการเกษตร และได้นำพันธุ์กล้วยหอมทองจากจ.นนทบุรี มาปลูก

Advertisement

3

ด้านการตลาด เริ่มต้นด้วยการปลูกเพื่อจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น และนำไปให้เพื่อนที่อยู่บ้านปากสวย ต.ปากสวย อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ช่วยจำหน่ายในร้านค้าริมข้างทาง บนถนนสายหนองคาย-โพนพิสัย เนื่องจากมีรถสัญจรมากพอสมควร ต่อมามีการพัฒนาจนกลายเป็นตลาดกล้วยหอมทองแหล่งใหญ่อีกแห่งหนึ่งจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาในปี 2540 คุณทองคูณ ได้ริเริ่มจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกกล้วยหอมทองอ.สร้างคอม ขึ้น มีสมาชิกเริ่มต้นทั้งหมด 23 คน และในปี 2549 คุณทองคูณ ได้ขอการรับการรับรองแหล่งผลิต GAP กล้วยหอมทองเป็นรายแรกและรายเดียวของจ.อุดรธานี

Advertisement

ปี 2552 กลุ่มกล้วยหอมทองอ.สร้างคอม ได้จดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทองอ.สร้างคอม มีสมาชิกทั้งหมด 36 ราย โดยมี คุณจักรินทร์ โพธิ์พรม เป็นประธาน

4

สำหรับคุณจักรินทร์นั้น เป็นลูกชายของคุณทองคูณ โดยเมื่อกลับมาจากการทำงานที่ประเทศอิสราเอล ได้นำความรู้ด้านการเกษตรมาปรับใช้ในแปลงกล้วยหอมทอง พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง และได้เข้ามาเป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทองอ.สร้างคอม ซึ่งสมาชิกในกลุ่มได้รับการรับรองแหล่งผลิต GAP กล้วยหอมทองเพิ่มขึ้น จำนวน 6 ราย และเริ่มมีการผลิตกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออก

ในปี 2557 เพื่อให้การดำเนินงานของกลุ่มมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดตั้งกลุ่มใหม่เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกล้วยหอมทองต.บ้านโคก อ.สร้างคอม มีสมาชิกทั้งหมด 40 ราย และในเบื้องต้นเกษตรกรที่มีความพร้อมในการปฏิบัติตามระบบ GAP พืช ได้ขอการรับรองแหล่งผลิต GAP พืชแบบกลุ่ม (กล้วยหอม) จำนวน 17 ราย ประกอบด้วยเกษตรกรอำเภอสร้างคอม 8 ราย อ.พิบูลย์รักษ์ 7 ราย และอ.เพ็ญ 2 ราย โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุดรธานี ในสังกัดสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จ.ขอนแก่น กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการตรวจประเมินการจัดการระบบควบคุมภายในของกลุ่ม การตรวจแปลงผลิตกล้วยหอมทองตามมาตรฐานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสุ่มตัวอย่างวิเคราะห์สารพิษตกค้าง

ภาพประกอบ2

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกล้วยหอมทองต.บ้านโคก ได้รับการรับรองแหล่งผลิต GAP พืช แบบกลุ่ม (กล้วยหอม) ในเดือนพฤศจิกายน 2558 จำนวน 17 ราย และคาดว่าสมาชิกที่เหลือจะยื่นขอการรับรองแหล่งผลิต GAP พืช (กล้วยหอม) ต่อไป

6

7

ในปี 2559 นี้ จ.อุดรธานี มีพื้นที่ปลูกกล้วยหอมทองทั้งหมด 123 ไร่ โดยแหล่งปลูกสำคัญของจ.อุดรธานี อยู่ในเขตอ.สร้างคอม พื้นที่ 70 ไร่ ที่เหลืออยู่ในเขตอ.พิบูลย์รักษ์ และอ.เพ็ญ 20 ไร่ อ.กุมภวาปี 23 ไร่ และอ.กุดจับ 10 ไร่

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิกที่นี่ 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image