บทเรียน เมียนมา ประชามติ รัฐธรรมนูญ พฤษภาคม 2551

แฟ้มภาพ

ความคึกคักแห่งบรรยากาศการทำ ”ประชามติ”Ž ของสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ส่งผลสะเทือนอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง

หลายคนบังเกิดนัยประหวัดถึง ”ประชามติ”Ž ในเมียนมาเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2551

เป็นประชามติว่าจะ ”รับ”Ž หรือ ”ไม่รับ”Ž ร่างรัฐธรรมนูญซึ่งกลายมาเป็นรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพเมียนมา พ.ศ.2551 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน “อันหนังสือ ความมั่นคงโลก:การเมืองและการทหารในโลกที่เปลี่ยนแปลง”Ž ของ สุรชาติ บำรุงสุข ระบุว่าเป็นไปตาม ”โรดแมปสู่ประชาธิปไตย”Ž ของผู้นำทหาร

กระนั้นก็กล่าวด้วยว่า เป็นความพยายามสร้างความเข้มแข็งให้แก่รัฐบาลทหารมากกว่าจะนำไปสู่การสร้างประชาธิปไตย

Advertisement

และปรากฏการณ์นี้ก็ถูกตอกย้ำอย่างชัดเจนจากการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 10 พฤษภาคม 2551 ที่ผู้นำพรรคฝ่ายค้านถูกขจัดออกไปจากเวทีทางการเมือง และอำนาจก็ถูกรวบอยู่ในมือของผู้นำทหารอย่างไม่เปลี่ยนแปลง

ผลก็คือ ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติด้วยคะแนนมากกว่าร้อยละ 90 แต่ก็เป็นร้อยละ 90 อันมากด้วยตำหนิ ไฝฝ้าและราคีคาวจากอำนาจอันฉ้อฉลแห่งเหล่า JUNTA

ต่างไปจาก ”ประชามติ”Ž อันเปี่ยมด้วย ”ประชาธิปไตย”Ž ของสหราชอาณาจักร

Advertisement

บทความของ ดุลลภาค ปรีชารัชช ที่ปรากฏผ่านเว็บไซต์ประชาไทเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ให้ภาพของประชามติ สกปรกŽ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2551 ได้อย่างเป็นรูปธรรม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่อนที่ว่า

คนพม่าจำนวนไม่น้อยรู้สึกไม่สบายใจและออกมาต่อต้านรัฐธรรมนูญฉบับ 2551 ที่ถูกร่างขึ้นโดยสภาพัฒนาและสันติภาพแห่งรัฐ (SPDC)

แต่ท้ายที่สุดรัฐบาลทหารพม่าก็จัดให้มีการลงประชามติเพื่อให้ประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญ อันเป็นประชามติที่ถูกกล่าวถึงหนาหูว่าเต็มไปด้วยกลโกงสารพัดชนิด เช่น การให้เจ้าหน้าที่ทหาร/ตัวแทนรัฐ ยืนประกบหีบบัตรคะแนนเพื่อกำกับผู้ใช้สิทธิให้โหวต ”YESŽ”

หรือการให้ผู้ใช้สิทธิส่วนหนึ่งลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญแทนญาติพี่น้องที่มีชื่อตกหล่นในทะเบียนราษฎร

จนท้ายสุด แม้จะมีการให้ตัวเลขจากทางการว่ามีประชาชนพม่าออกมาลงคะแนนโหวต ”YES”Ž จำนวนมาก แต่ควันหลงเรื่องกลโกงและกระแสต้านรัฐธรรมนูญที่ยังตกอยู่ใต้อิทธิพลกองทัพก็ยังปรากฏมีให้เห็นเป็นระลอกตลอดช่วงต้นสมัยบริหารราชการแผ่นดินของ ประธานาธิบดี เต็งเส่ง นั่นก็คือ ความไม่พอใจต่อ ร่างŽ รัฐธรรมนูญของเหล่า JUNTA แห่งเมียนมา

นั่นก็คือ ”ประชามติ”Ž อันเต็มไปด้วย “กลโกง”Ž ของ JUNTA แห่งเมียนมาที่ต้องการต่อท่อในการสืบทอดอำนาจ

ยิ่งการลงประชามติเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ที่สหราชอาณาจักรเปี่ยมด้วยจิตวิญญาณแห่งประชาธิปไตย ”อารยะ”Ž ที่มีความเป็น ”สากล”Ž มากเพียงใด

ประชามติ “ร่างรัฐธรรมนูญŽ” เมื่อปี 2551 ของเมียนมายิ่ง ”ฉาวโฉ่Ž ”

ความฉาวโฉ่จากการทำประชามติ ”ร่างรัฐธรรมนูญ”Ž ในลักษณะมัดมือชก ปิดประตูตีแมวและตั้งใจ ”โกง”Ž อย่างหน้าด้านๆ ของรัฐบาลทหารเมียนมานั้นเองที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาโต้กลับในกาลต่อมา

นางออง ซาน ซูจี ซึ่งเหยียบแผ่นดินไทยระหว่างที่ 23-25 มิถุนายน ย่อมรู้อยู่แก่ใจและยากที่จะลืมเลือนอย่างง่ายดาย

“ร่างรัฐธรรมนูญŽ” อาจเป็นเครื่องมือสำคัญใน ระยะเปลี่ยนผ่านŽ

กระบวนการในการทำประชามติที่เริ่มต้น ”โกง”Ž ตั้งแต่การกำหนดกฎกติกาในลักษณะกีดกันพรรคฝ่ายค้าน และแสดงอำนาจบาตรใหญ่ต่อประชาชน

มีแต่รัฐบาลทหารเท่านั้นที่เคลื่อนไหว รณรงค์ได้ มีแต่ฝ่ายเดียวกันกับรัฐบาลทหารเท่านั้นที่ออกโรงชี้แจงแสดงข้อดี ความยอดเยี่ยมของร่างรัฐธรรมนูญได้

เหมือนกับเป็น ”ผลดี”Ž แต่ในระยะยาวกลับกลายเป็น ”ผลเสีย”Ž

บทบาทของเหล่า JUNTA แห่งเมียนมาที่แสดงออกผ่าน ”ร่างรัฐธรรมนูญŽ” โดยกระบวนการ “ประชามติ”Ž เท่ากับยืนยันสัจจะในทางประวัติศาสตร์ที่ว่า

”งาช้าง”Ž ไม่สามารถงอกจากช่องทางอื่นได้

เผด็จการไม่สามารถสถาปนารัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยได้อย่างเด็ดขาด ประชามติไม่ปรากฎขึ้นอย่างสง่างามในบรรยากาศที่ไม่เอื้ออำนวย

เมียนมาที่นางออง ซาน ซูจี ประสบมา คือตัวอย่างอันเด่นชัด

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image