สุจิตต์ วงษ์เทศ : อาจารย์ด้อยคุณภาพ

ชั้นเรียนในมหาวิทยาลัย มีจุดมุ่งหมายเพียงการสอนให้เรียนรู้สิ่งที่เขารู้กันอยู่แล้ว จึงควรทบทวนเป้าหมายและวิธีการของการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัย

[สรุปจากบทความเรื่อง จากหนังหน้า สู่ความรู้คิด โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในมติชน ฉบับวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2559 หน้า 16]

รับจ้างเรียนแทนในมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ความขี้เกียจส่วนบุคคล หากแต่เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่สำคัญมาก

สังคมต้องการให้นักศึกษาเป็น “เด็ก” ที่ไม่ต้องคิดอะไร เพื่อตอบสนองระบบอำนาจที่ไม่ต้องการให้ใครมีและตั้งคำถามใดๆ ทั้งสิ้น ความปรารถนาที่จะ “เรียนรู้” ของนักศึกษาจึงลดลงอย่างต่อเนื่อง ไม่รู้ว่าจะเข้าเรียนไปทำไม ในเมื่อแค่อ่านหนังสือสอบก็ได้อยู่แล้ว

Advertisement

[สรุปจากบทความเรื่อง รับจ้างเรียนแทน : ยอดภูเขาน้ำแข็ง โดย อรรถจักร์ สัตยา นุรักษ์ ในกรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2559 หน้า 10]

สังคมจะฆ่ามหา’ลัยไร้คุณภาพ

รศ. ดร. ฤาเดช เกิดวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มร.สส.) บอกว่าการจะทำให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ อาจต้องให้กระบวนการทางสังคมเข้ามามีส่วนจัดการปัญหาด้วย หากสถาบันใดไม่มีคุณภาพสังคมจะลงโทษและฆ่าสถาบันเหล่านั้นให้ล้มหายตายจากไปเอง ซึ่งจะใช้เวลาไม่นาน

แต่ที่สำคัญจะต้องมีระบบแนะแนวและให้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้เรียนใช้ในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ เช่น ต้องเปิดเผยแผนการรับและจำนวนที่รับจริง

Advertisement

รศ. ดร. ฤาเดช กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้จบปริญญาเอกจำนวนมาก แต่บางคนก็ไม่กล้าโชว์ว่าจบจากที่ไหน เพราะกลัวคนอื่นจะร้องยี้ และไม่ให้ความเชื่อถือ ทั้งที่อาจจะเคยจบปริญญาตรีและโทอย่างดีมาก่อน แต่พอจบปริญญาเอกจากสถาบันที่ไม่น่าเชื่อถือก็เป็นการลดคุณค่าปริญญาที่เคยได้มาก่อนไปด้วย

[เดลินิวส์ ฉบับวันพุธที่ 22 มิถุนายน 2559 หน้า 26]

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image