ยูนิพาวเวอร์เทค เซ็นเคพีเอ็น กรีนเอ็นเนอจี ลุยผลิตไฟฟ้าชีวมวล800ล.มั่นใจคว้างาน4จว.ใต้

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน มีพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลง เซ็นสัญญาลงนามการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลบริษัท ยูนิพาวเวอร์เทค จำกัด กับบริษัท เคพีเอ็น กรีนเอ็นเนอจี โซลูชั่น ซึ่งจะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล ขนาดกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ มูลค่าโครงการกว่า 800 ล้านบาท ในจังหวัดนคราชสีมา ซึ่งโครงการดังกล่าวจะใช้ไม้สับ เปลือกไม้ และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิงการผลิตราว 2 แสนตันต่อปี สร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มขึ้น และยังเกิดการจ้างงานให้กับคนในพื้นที่ ซึ่งโรงงานดังกล่าว ใช้เทคโนโลยีกังกันเทอร์ไบน์แบบไอน้ำจากประเทศเยอรมนีและญี่ปุ่น ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการผลิต ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การเซ็นสัญญามีขึ้นที่ห้องเมต้า 1 สโมสรราชพฤกษ์ เขตหลักสี่ กทม.ทั้งนี้นายธนวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล กรรมการบริหาร บริษัท ยูนิพาวเวอร์เทค จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้ลงนามสัญญาก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลยูนิพาวเวอร์เทค กับบริษัท เคพีเอ็น กรีน เอ็นเนอจี โซลูชั่น จำกัด ซึ่งจะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล ขนาดกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ มูลค่าโครงการกว่า 800 ล้านบาท ในจังหวัดนคราชสีมา

“เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ 8 เมกะวัตต์ โดยมีสัญญาเป็นระยะเวลา 20 ปี ราคารับซื้อไฟฟ้า (ฟีดอินทาริฟ) ของโรงไฟฟ้าชีวมวลในราคา 4.24 บาทต่อหน่วย ค่าพรีเมี่ยม 30 สตางค์ ส่วนที่เหลือไว้ราว 2 เมกะวัตต์ เก็บไว้เพื่อใช้ในกิจการโรงไฟฟ้า บริษัทคาดว่าจะใช้เวลาหลังเริ่มดำเนินธุรกิจราว 7-8 ปี น่าจะเห็นการคืนทุน อย่างไรก็ตาม บริษัทได้เข้าร่วมประมูลตามประกาศรับซื้อไhttps://www.matichon.co.th/news/191335ฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (ไม่รวมโครงการพลังงานแสงอาทิตย์) ในแบบ ฟีดอินทาริฟ พ.ศ. 2559 ระยะที่ 1 สำหรับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส และ 4 อำเภอในจ.สงขลา ได้แก่ อ.จะนะ ,เทพา,สะบ้าย้อย และนาทวี โดยจะรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) ไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ และจากพลังงานชีวมวล ไม่เกิน 36 เมกะวัตต์ ซึ่งบริษัทมีความมั่นใจ และจะเป็นโอกาสให้กับบริษัทได้ขยายธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล เนื่องจากบริษัทมีความชำนาญในโรงไฟฟ้าประเภทนี้ ตลอดจนขั้นตอนการสรรหาวัตถุดิบ เพื่อใช้ในการผลิต”นายธนวรรธน์กล่าว

ขณะที่นายกฤษดา อัครพัทธยากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคพีเอ็น กรีน เอ็นเนอจี โซลูชั่น จำกัด กล่าวว่า การก่อสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าว จะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 และจะสิ้นสุดโครงการวันที่ 15 มกราคม 2561 รวมระยะเวลา 18 เดือน

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image