เครือข่ายประชาสังคม-วิชาการ เพื่อไทย-ประชาธิปัตย์ แถลง จี้ คสช.เปิดกว้างประชามติ

เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 20 กรกฎาคม 2559 เครือข่ายประชาสังคม และนักวิชาการจากหลายสถาบัน รวบรวมรายชื่อจากเครือข่ายต่างๆ รวมทั้งพรรคการเมือง หาจุดร่วมเพื่อเรียกร้องการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่โปร่งใสและชอบธรรม ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลอย่างครบถ้วน มีพื้นที่ถกแถลงความเห็นอย่างรอบด้าน ได้แถลงข่าวเรื่องคำแถลงจุดยืนว่าด้วยกระบวนการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ วันที่ 7 สิงหาคม 2559 ณ ห้องแคนนา โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถนนวิภาวดี

นายโคทม อารียา อดีตผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี กล่าวว่า สาระสำคัญของแถลงการณ์ฉบับก่อนหน้านี้คืออยากให้การลงประชามติโปร่งใส ให้มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างครบถ้วน โดยมีผู้ลงนาม 117 คนและ 16 องค์กร เรียกร้องว่าการลงประชามติยังไม่สมบูรณ์เพราะผู้ลงประชามติไม่ทราบว่าหากประชามติไม่ผ่านจะมีกระบวนการอย่างไรต่อ แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าสังคมไทยจะมีทางเลือกอย่างไรต่อไปในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการประชามติ ทางเครือข่ายที่มีความห่วงใยในสถานการณ์จึงได้มีการจัดทำคำแถลงฉบับที่ 2 เพื่อเรียกร้องและร่วมผลักดันให้เกิดความชัดเจนในประเด็นเหล่านี้ต่อไปก่อนถึงวันลงประชามติ รวมทั้งเสนอหลักการทั้งในเชิงเนื้อหาและกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนทุกฝ่ายต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการทำประชามติ

“รัฐสามารถประกาศต่อประชาชนเพื่อความชัดเจนได้ว่าหากประชามติไม่ผ่านจะมีกระบวนการอะไรต่อเพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ” นายโคทมกล่าว และว่า เสนอทางเลือกส่วนตัวว่าหากประชามติไม่ผ่าน ให้ใช้รัฐธรรรมนูญฉบับที่ 20 นี้เป็นระยะเวลา 4 ปีเท่ากับรัฐบาลเลือกตั้ง โดยระหว่างนั้นก็ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญและจัดทำรัฐธรรมนูญที่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับที่ 21 ซึ่งประชาชนมีส่วนร่วมได้

นางสุนี ไชยรส นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า เพื่อให้การประชามติวันที่ 7 สิงหาคมนี้มีความชอบธรรมและเป็นไปตามหลักการที่เป็นที่ยอมรับของสากล มีความครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งในเชิงเนื้อหาและกระบวนการ จึงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในสังคมร่วมกันผลักดันข้อเสนอดังต่อไปนี้

Advertisement

1.) ให้ความเคารพสิทธิของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ โดยต้องเปิดให้ประชาชนทุกฝ่ายได้ถกแถลงเพื่อแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์
2.) ต้องเสนอทางเลือกที่ชัดเจนให้ประชาชน หากกรณีร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะมีกระบวนอย่างไรต่อไป
3.) กรณีร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านควรมีกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มาจากฉันทามติผ่านกลไกที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการออกแบบกระบวนการและกำหนดหลักการสำคัญในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านกลับไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยตามกรอบเวลาที่มีการประกาศไว้ในโร้ดแม็ปสู่การเลือกตั้งและตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว
4.) หากหลักการตามข้อเรียกร้องข้อ 1-3 ข้างต้นเกิดขึ้นได้จริง ทุกฝ่ายควรยอมรับในผลของการลงประชามติ โดยร่วมกันส่งเสริมให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในสังคม
5.) รัฐธรรมนูญที่ได้มานั้นควรมีหลักการสำคัญ อาทิ การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิของประชาชนในด้านต่างๆ ที่ไม่ถดถอยไปจากเดิม การตรวจสอบและถ่วงดุลย์การใช้อำนาจอธิปไตยของกลไกทางการเมืองที่มีความสมดุล การกำหนดให้มีการปฏิรูปที่เป็นรูปธรรม การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่มีความพร้อมในการจัดการตนเอง เป็นต้น

“ควรเปิดกว้างให้ทุกสื่อและทุกคนแสดงความเห็นได้อย่างเสรีซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณอะไรเลย ถึงวันนี้คนยังไม่ได้รับเอกสารและไม่รู้เรื่องรัฐธรรมนูญอยู่มาก กระแสนี้จึงเป็นเรื่องใหญ่ในสังคมมาก” นางสุนีกล่าว

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ รองประธานมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ กล่าวว่า ยังมีประชาชนอีกหลายคนที่สนับสนุนแถลงการณ์นี้ไม่ได้แสดงตัวเพราะบรรยากาศอันไร้เสรีภาพของบ้านเมือง ทั้งนี้ คาดหวังว่าจะให้กติกาสูงสุดของประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญมาจากการประชามติที่มีความหมาย เปิดกว้าง ให้ประชาชนได้แสดงความเห็นอย่างเต็มที่ การลงประชามตินั้นต้องเป็นการลงประชามติโดยไร้สภาวะความกดดัน ให้เป็นการลงประชามติที่ประชาชนเห็นทางเลือก การลงประชามติวันที่ 7 สิงหาคมนี้ จะมีความสำคัญต่ออนาคตและเศรษฐกิจของประเทศอย่างยิ่งเพราะจะชี้ทิศทางของประเทศอย่างชัดเจน ในเบื้องต้นจึงเรียกร้องให้การแสดงประชามตินี้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นประชาธิปไตย และในฐานะที่ตนเคยเป็นนักศึกษาที่เรียกร้องประชาธิปไตย ไม่อยากให้เกิดการถอยหลังและเกิดความสูญเสียเช่นที่เคยเกิดในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 จึงขอเรียกร้องให้ผู้จัดการประชามติฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และร่างรัฐธรรมนูญโดยยึดหลักการที่เคารพต่อสิทธิของประชาชน

Advertisement

“คิดว่า คสช. เดินมาถูกทางในแง่ให้มีการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ แม้ส่วนตัวจะไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาของ รัฐธรรมนูญหลายประเด็น แต่ถ้าการลงประชามติป็นการลงประชามติที่โปร่งใส เป็นมาตรฐานสากล ก็จะเป็นการลงประชามติที่มีความหมาย ตนก็จะเคารพเสียงส่วนใหญ่ การลงประชามติครั้งนี้จึงมีความหมายอย่างยิ่ง จะทำเป็นพิธีกรรมนั้นไม่ได้ จึงเสนอว่าถ้าวันที่ 7 สิงหาคม รัฐทำให้มั่นใจไม่ได้ว่าเป็นการลงประชามติที่มีความหมาย ก็ขอเรียกร้องให้เลื่อนการลงประชามติจนกว่าจะมั่นใจได้ว่ามีประชาธิปไตยในกระบวนการลงประชามติและให้เสียงของประชาชนมีความหมาย เพื่อจะได้ไม่นำไปสู่ความขัดแย้งหลังการลงประชามติ ตนต้องการประชาธิปไตยที่มีคุณภาพและสังคมที่มีสันติธรรม หากทำไม่ได้ ก็จะได้การลงประชามติที่ไร้ความหมายซึ่งจะนำไปสู่กติกาสูงสุดที่มีปัญหาและนำมาสู่วิกฤติการเมืองอีกครั้งซึ่งจะกระทบความเป็นอยู่ของประชาชนและการทำงานของ คสช. เอง อยากให้เวลาที่เหลืออยู่จนกว่าจะถึง 7 สิงหาคมนั้นเปิดกว้างอย่างเต็มที่” นายอนุสรณ์กล่าว

นายประพจน์ ศรีเทพ จากเครือข่ายถกแถลงพิษณุโลก กล่าวว่า เครือข่ายถกแถลงเชื่อว่าผู้จัดการลงประชามติจะมีความอดทน เพื่อให้การลงประชามติของประชาชนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผลการลงประชามติจะผ่านหรือไม่ผ่านนั้นอยากให้ทุกฝ่ายตั้งสติและยอมรับผลของการลงประชามติของประชาชนที่โปร่งใสและเป็นไปตามกรอบมาตรฐาน ส่วนตัวเชื่อมั่นต่อเครือข่ายและทุกฝ่ายที่ร่วมลงนามแถลงด้วยความห่วงใยต่อการลงประชามติ

“ในนามของเครือข่ายถกแถลง อยากเห็นฝ่ายจัดการประชามติให้คำสัญญากับประชาชนว่าการลงประชามติครั้งนี้จะโปร่งใสและเป็นธรรม มีมาตรฐานสากลที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ คาดหวังว่าฝ่ายจัดการเลือกตั้งจะดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย” นายประพจน์กล่าว

นายชำนาญ จันทร์เรือง ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า ทุกฝ่ายที่ลงนามแม้มีทัศนคติทางการเมืองแตกต่างกัน แต่ก็ล้วนอยากเห็นการลงประชามติที่เปิดกว้างและเป็นธรรม ให้ทุกฝ่ายแสดงความเห็นได้อย่างสร้างสรรค์ หากแสดงความเห็นไม่ได้ ผลการลงประชามติก็คงยากจะเป็นที่ยอมรับ

“เราเรียกร้องให้มีการลงประชามติอย่างสากลและโปร่งใส กรณีคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็ลงนามสนับสนุนคำแถลงในครั้งนี้ ย่อมสะท้อนชัดเจนเพราะคุณอภิสิทธิ์พูดมาตลอดว่าพรรคประชาธิปัตย์เองประชุมพรรคไม่ได้ เขาจึงต้องลงชื่อในครั้งนี้” นายชำนาญกล่าว

ทั้งนี้ รายนามบุคคลที่ลงนามสนับสนุนคำแถลงนั้นประกอบด้วย

รายชื่อองค์กร

1.สภาองค์กรชุมชน ต.ทะนง อ.โพทะเล จ.พิจิตร 2.กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) 3.สมัชชาองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม 4.คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภาž35 5.ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (We Move) 6.ศูนย์ประสานงานเยาวชนสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD) 7.เครือข่ายคืนสัญชาติคนไทยพลัดถิ่น ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง 8.เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมืองจังหวัดพังงา 9.เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมืองจังหวัดอุบลราชธานี 10.เครือข่ายชาวเลอันดามัน 11.กลุ่มรักษ์เชียงของ 12.เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา 13.เครือข่ายสิทธิคนจนพัฒนาภูเก็ต 14.เครือข่ายประชาสังคมนราธิวาส 15.มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ 16.มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (PNET) 17.มูลนิธิสันติภาพและวัฒนธรรม

รายชื่อบุคคล

ศ.สุริชัย หวันแก้ว รศ.ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ รศ.ดร.โคทม อารียา ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข รศ.ดร.วิชัย กาญจนสุวรรณ รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ นายสมชาย หอมลออ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ นายชำนาญ จันทร์เรือง นายประพจน์ ศรีเทศ สมณะดาวดิน ปฐวัตโต นายณรงค์ จันทร์เรือง นายณรงค์ ชื่นชม นายจอน อึ๊งภากรณ์ นายไพโรจน์ พลเพชร นายประสาร มฤคพิทักษ์ นายศศิน เฉลิมลาภ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ดร.สมนึก จงมีวศิน ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผศ.นพ.พรเลิศ ฉัตรแก้ว รศ.ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์ ดร.กิตติ ลิ่มสกุล นางสุนี ไชยรส นายสมเกียรติ บุญชู ผศ.ดร.นฤมล ทับจุมพล รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ดร.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช ผศ.ดร.ภูมิ มูลศิลป์ นายสุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง นายสุณัย ผาสุข

นายมนต์ชีพ ศิวะสินางกูร นายดวงฤทธิ์ บุนนาค นายสุหฤท สยามวาลา นายประธาน ธีระธาดา นายวิชญ์ พิมพ์กาญจนพงศ์ นายฟูอาดี้ พิศสุวรรณ นายบุญเลิศ คชายุทธเดช (ช้างใหญ่) ดร.กฤษฎา บุญชัย นายวชิระ รักษพันธุ์ นายนพปฎล ปิติวงษ์ นายภานุภณ ภูสินพิโรดม นางสาวอาภาภรณ์ แสวงพรรค นางสาวพรสุรีย์ พันธุ์เรือง นายสุรินทร์ ไชยชุมศักดิ์ นายสาธิต ชีวิประเสริฐ นายวิทย์ ประทักษ์ใจ นายกุลวิชญ์ สำแดงเดช นางสาวฐิตินบ โกมลนิมิ นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล นายขดดะรี บินเซ็น นางอนันทชัย วงศ์พยัคฆ์ น.ส.มาซีเต๊าะ หมันหล๊ะ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ นายเกียรติ สิทธีอมร นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช นายธนา ชีรวินิจ นายสาธิต ปิตุเตชะ ดร.รัชดา ธนาดิเรก

นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล นายนิกร จำนง นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รศ.ดร.โภคิน พลกุล ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี นายภูมิธรรม เวชยชัย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา นายจาตุรนต์ ฉายแสง รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ศ.พิเศษ ชัยเกษม นิติสิริ นายวัฒนา เมืองสุข น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ ดร.ภูวนิดา คุนผลิน นายนัจมุดดีน อูมา ร.ท.หญิงสุณิสา เลิศภควัต นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ นายวสันต์ สิทธิเขตต์ นางสาวรรณพร ฉิมบรรจง นางปรีดา คงแป้น นายไมตรี จงไกรจักร์ นางสมศรี หาญอนันทสุข นายธาตรี ฝากตัว นายบำเพ็ญ กุลดิลกชัย นางสาววิไลลักษณ์ หวังธนาโชติ นางพะเยาว์ อัคฮาด ดร.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์

นายภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ นายศรีสุวรรณ จรรยา นายสมบูรณ์ คำแหง นางภรกัทร พิมพา นายบุญยืน วงศ์สงวน นายณัฐวุฒิ อุปปะ นายประสิทธิ์ บึงมุม นายมานพ สนิท นายอนัน จันทราภิรมย์ นายเอกชัย อิสระทะ นายธนาเทพ วันบญ นายดิชฐ์พิเชษ สุวรรณโพธิ์ นายประวีณ จุลภักดี นายอกนิษฐ์ ป้องภัย นายกฤษณะเดช โสสุทธิ นายธนู แนบเนียร นายรณชัย ชัยนิวัฒนา นายไชยา กวีวัฒนะ นายชาญยุทธ เทพา นายสมชาย กระจ่างแสง นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ นายนิมิตร เทียนอุดม นายพฤ โอ่โดเชา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image