ด่วน! บิ๊กตู่ ใช้ ม.44 แก้ปัญหารถไฟฟ้าสีน้ำเงิน – คุ้มครองกก.ดำเนินการไม่ต้องรับผิด

ภาพกราฟิกลิขสิทธิ์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 42/2559 เรื่อง การดําเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้้าเงิน ระบุว่า

โดยที่การจัดระบบการขนส่งสาธารณะเป็นเรื่องสําคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและเป็นการอํานวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน แต่เนื่องจากการจัดระบบการขนส่งสาธารณะโดยรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้้ำเงิน ซึ่งประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ําเงิน(สายเฉลิมรัชมงคล) ช่วงหัวลําโพง – บางซื่อ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ําเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลําโพง – บางแคและช่วงบางซื่อ – ท่าพระ ในปัจจุบันยังมีปัญหาในการเชื่อมต่อและร่วมใช้ระบบรถไฟฟ้า การพิจารณาคัดเลือกเอกชน และการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน เพื่อให้มีการเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน(Through Operation) และแม้คณะรัฐมนตรีจะได้มีมติเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เร่งรัดให้มี การดําเนินการแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่อและร่วมใช้ระบบรถไฟฟ้าเพื่อให้การเดินรถแล้วเสร็จโดยเร็ว แต่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่สามารถดําเนินการร่วมกันให้เป็นผลสําเร็จได้ ซึ่งจะทําให้การเริ่มเปิดให้บริการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ําเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลําโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ มีความล่าช้าออกไปมาก ส่งผลให้ประชาชนผู้ใช้บริการไม่ได้รับความสะดวก รวมทั้งอาจมีผลกระทบ
ไปถึงระบบความปลอดภัยในการใช้บริการ นอกเหนือไปจากนั้นรัฐยังต้องสูญเสียรายได้และมีภาระค่าใช้จ่าย ตลอดจนมีความสูญเสียทางเศรษฐกิจอีกเป็นจํานวนมาก

ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินโครงการดังกล่าว สามารถดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิผลและรวดเร็ว อันจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้ใช้บริการและเป็นการรักษาผลประโยชน์ของรัฐ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการจัดระบบการขนส่งสาธารณะของประเทศอาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้

Advertisement

ข้อ ๑ ในคําสั่งนี้

“คณะกรรมการคัดเลือก” หมายความว่า คณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ําเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลําโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ ตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่ดําเนินการอยู่ในวันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ
“คณะกรรมการกํากับดูแล” หมายความว่า คณะกรรมการกํากับดูแลโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ําเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) ช่วงหัวลําโพง – บางซื่อ ตามมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่ดําเนินการอยู่ในวันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ
“โครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล” หมายความว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ําเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) ช่วงหัวลําโพง – บางซื่อ

“โครงการส่วนต่อขยาย” หมายความว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ําเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลําโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ

Advertisement

ข้อ ๒ ภายใต้บังคับข้อ ๔ ให้คณะกรรมการคัดเลือกยุติการดําเนินการใด ๆ ที่อยู่ระหว่างดําเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ดําเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ําเงินตามที่กําหนดในคําสั่งนี้

ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การแบ่งปันผลประโยชน์จากค่าโดยสาร รวมถึงหลักเกณฑ์อื่นเพื่อประโยชน์ในการเชื่อมต่อหรือร่วมใช้
กิจการรถไฟฟ้าตามมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยพ.ศ. ๒๕๔๓ เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาของคณะกรรมการตามข้อ ๔ และข้อ ๗ สําหรับการดําเนินโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลและโครงการส่วนต่อขยาย โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวต้องคํานึงถึงความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้บริการของประชาชน ทั้งนี้ ให้รับฟังความเห็นของกระทรวงคมนาคม สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตตามข้อ ๙ประกอบด้วย โดยให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ และให้เสนอหลักเกณฑ์พร้อมทั้งความเห็นของหน่วยงานดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับ
หลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง

ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ําเงินให้สามารถเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน (Through Operation) และการกําหนดระยะเวลาการดําเนิน
โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ําเงินให้มีระยะเวลาการดําเนินการโครงการสิ้นสุดลงพร้อมกันหรือสอดคล้องกันให้คณะกรรมการคัดเลือกและคณะกรรมการกํากับดูแลประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาการดําเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ําเงิน ในส่วนของงานระบบรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลและโครงการส่วนต่อขยาย โดยให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์ตามข้อ ๓

เมื่อคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งดําเนินการจนได้ข้อยุติแล้ว ให้เจรจาร่วมกันกับผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลให้ดําเนินการโครงการส่วนต่อขยาย และดําเนินการให้มีการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลกับผู้รับสัมปทานดังกล่าว เพื่อให้สามารถเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน (Through Operation) โดยให้ดําเนินการเจรจาและแก้ไขสัญญาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ต้องคํานึงถึงประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้ใช้บริการ และการแบ่งปันผลประโยชน์ต่อภาครัฐอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม และรับฟังความเห็นของคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตตามข้อ ๙ ด้วย

ข้อ ๕ ในกรณีที่ไม่อาจดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามข้อ ๓ หรือข้อ ๔ให้กระทรวงคมนาคมรายงานผลการดําเนินการ รวมทั้งสาเหตุของการดําเนินการไม่แล้วเสร็จไปยังนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีอาจพิจารณาขยายระยะเวลาออกไปได้อีกตามที่เห็นสมควรก็ได้

ข้อ ๖ ในกรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกและคณะกรรมการกํากับดูแลไม่อาจดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามข้อ ๔ และนายกรัฐมนตรีไม่อนุมัติให้มีการขยายระยะเวลาออกไป
ตามข้อ ๕ หรือในกรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกและคณะกรรมการกํากับดูแลไม่สามารถหาข้อยุติได้ตามข้อ ๔ให้ยุติการดําเนินการดังกล่าวและให้กระทรวงคมนาคมรายงานผลการดําเนินการไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา

ข้อ ๗ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีพิจารณารายงานตามข้อ ๖ แล้วมีมติเห็นควรให้ดําเนินโครงการต่อไป ให้มีคณะกรรมการพิจารณาการดําเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ําเงิน ขึ้นคณะหนึ่ง
ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ อัยการสูงสุด และผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เป็นกรรมการและผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อทําหน้าที่แทน คณะกรรมการตามข้อ ๔ โดยให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติและให้รับฟังความเห็นของคณะกรรมการความร่วมมืป้องกันการทุจริตตามข้อ ๙ ประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ หากยังดําเนินการไม่ได้ข้อยุติภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้เสนอแนวทางอื่นในการดําเนินการ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ําเงินต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป

ข้อ ๘ เมื่อมีการดําเนินการตามข้อ ๔ หรือข้อ ๗ แล้วแต่กรณี จนได้ผลการเจรจาและร่างสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนแล้ว ให้ถือว่าเป็นการดําเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชน
ร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ ในส่วนของการคัดเลือกเอกชนแล้ว และให้ดําเนินการตามขั้นตอนต่อไปตั้งแต่มาตรา ๔๐ หรือมาตรา ๔๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ แล้วแต่กรณี โดยให้สํานักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาร่างสัญญาร่วมลงทุน ที่ผ่านการเจรจากับเอกชนหรือผู้รับสัมปทานให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างสัญญาดังกล่าว

ข้อ ๙ ให้นําหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางในการใช้ระบบข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘ มาใช้กับการดําเนินการตามข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๗ตามคําสั่งนี้

ข้อ ๑๐ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งนี้ ที่ได้กระทําการไปตามอํานาจหน้าที่โดยสุจริต และไม่เกินสมควรแก่เหตุ ย่อมได้รับความคุ้มครองและไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง
ทางอาญา หรือทางวินัย แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

ข้อ ๑๑ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาต

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image