ยังไม่ท้อ ! ป้อมมหากาฬยื่นจม. “สภากทม.” หาทางออกปมไล่รื้อ

สืบเนื่องกรณีการไล่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬ เพื่อสร้างสวนสาธารณะโดย กทม. ตามแผนแม่บทเมื่อ 50 ปีก่อน ซึ่งเป็นปัญหายืดเยื้อมานาน 24 ปี โดยมีความพยายามในการพูดคุยเพื่อหาทางออกหลายครั้ง ล่าสุด กทม.ยืนยันรื้อชุมชนในวันที่ 3 ก.ย. โดยได้ดำเนินการติดตั้งป้ายประกาศรื้อถอนเมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมา

ล่าสุด เมื่อวันที่ 18 ส.ค. เวลา 11.30 น.  เครือข่ายป้อมมหากาฬ เครือข่ายภาคประชาสังคม และกลุ่มนักวิชาการ เพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูเมือง อาทิ นางภารนี สวัสดิรักษ์ นักวิชาการอิสระด้านผังเมือง , นางสาวอินทิรา วิทยสมบูรณ์ นักกิจกรรมทางสังคมที่เคลื่อนไหวร่วมกับชุมชนป้อมมหากาฬ ได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อสภากรุงเทพมหานคร เพื่อหาทางออกร่วมกันในประเด็นดังกล่าว โดยมีร.ต.ต.เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ ประธานสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยนางวรรณวิไล พรหมลักขโณ, เรือโทวารินทร์ เดชเจริญ พลโท โชติภณ จันทร์อยู่และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องร่วมประชุม

ขวา-นางภารนี สวัสดิรักษ์ นักวิชาการอิสระด้านผังเมือง
ขวา-นางภารนี สวัสดิรักษ์ นักวิชาการอิสระด้านผังเมือง

เนื้อหาสำคัญของเอกสาร ขอให้มีการศึกษาผังเมืองและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชานไม้โบราณ ร.3 เพื่อให้ได้รับการพัฒนาเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่มีวิถีชุมชนร่วมกัน โดยระหว่างการศึกษาขอให้ กทม.หยุดดำเนินการไล่รื้อและอื่นๆ กับชุมชน และนำผลการศึกษาของคณะกรรมการพหุภาคีมาปรับ พระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน ปี พ.ศ.2535  รวมถึงนำตัวอย่างกระบวนการการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณธรรมาภิบาลในการจัดทำแผน พัฒนาและการบริหารจัดพื้นที่ประวัติศาสตร์ของชาวชุมชน

สภากทม.03

Advertisement

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 17 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมระหว่างคณะอนุกรรมการด้านสิทธิมนุษยชน,ผู้แทนจาก กทม. ,กรมศิลปากร ,สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย รวมถึง ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ โดยที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่า การแก้ไขปัญหาชุมชนป้อมมหากาฬ ซึ่งกทม.อ้างว่าติดขัดที่ข้อกฎหมายนั้น มีทางอออกหลายวิธี เช่น. 1. การปรับเปลี่ยนรูปแบบสวนสาธารณะให้มีความชัดเจนในรูปแบบพิพิธภัณฑ์บ้านไม้ โบราณเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย. 2.แก้ไขวัตถุประสงค์ใน พะราชกฤษฎีกา (พรฎ.) 3.แก้ไขพรฎ. ทั้งฉบับ 4.กทม. ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นให้พื้นที่ชุมชนป้อมมหากาฬเป็นสวนสาธารณะและบ้านไม้ โบราณที่ประชาชนอยู่อาศัยได้ 5.ในระยะยาว กทม.อาจต้องออก พรบ.กำหนดเขตอุทยานทางวัฒนธรรม ในพื้นที่กทม. เพื่อแก้ไขปัญหาในชุมชนอื่นๆด้วย

นายอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ จากสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า วิธีที่ง่ายและสามารถดำเนินการในทางนโยบายได้รวดเร็ว คือการปรับเปลี่ยนรูปแบบสวนสาธารณะให้มีความชัดเจนในรูปแบบพิพิธภัณฑ์บ้าน ไม้โบราณเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย
ก่อน

อภิชาต พงษ์สวัสดิ์
อภิชาต พงษ์สวัสดิ์-แฟ้มภาพ
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image