รพ.วชิระ ภูเก็ต เผยแพร่เอกสารพัฒนาอาคารงบ 303 ล้าน หลังปชช.ค้านทุบตึกเก่า-ต้นมะฮอกกานีอายุร้อยปี

รายงานข่าวจากจังหวัดภูเก็ตแจ้งว่า เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม จากกรณีที่มีบุคคลใช้เครือข่าย facebook ในบัญชีชื่อ Watanyoo Thephuttee แชร์ภาพและข้อมูลเกี่ยวกับโรงพยาบาลศูนย์วชิระ ภูเก็ต เตรียมรื้อถอนอาคารเก่าหรือตึกบุญพัฒน์ ที่มีอายุเกือบ 100 ปี เพื่อสร้างอาคารใหม่ และในปัจจุบันเริ่มมีกลุ่มประชาชนในพื้นที่กำลังร่วมกันคัดค้าน นอกจากนี้ยังมีบันทึกข้อความขอคัดค้านการตัดต้นไม้ เพื่อสร้างตึกผู้ป่วย 298 เตียง จากบุคคลที่ใช้ชื่อว่านายแพทย์เชี่ยวชาญ ที่ยื่นต่อนายแพทย์เจษฎา จงไพบูลย์วัฒนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอีกส่วนหนึ่งด้วย โดยระบุว่ามีการย้ายพื้นที่ก่อสร้างจากบริเวณโรงซักฟอกโรงครัวและโรงน้ำเกลือ ไปเป็นบริเวณพื้นที่ด้านหลังอาคารน้อมเกล้า หรือหน้าตึกคุณพุ่มแทน และทำให้ต้นไม้ มะฮอกกานี อายุร่วม 100 ปี ได้รับผลกระทบ
ล่าสุดเช้าในเช้าวันนี้ที่โรงพยาบาลศูนย์วชิระ ภูเก็ต มีการเผยแพร่เอกสารข้อพิจารณาประกอบการตัดสินใจเลือกพื้นที่ก่อสร้างอาคารผู้ป่วย 298 เตียง โดยข้อมูลระบุว่าโรงพยาบาลได้รับงบประมาณในปี 2560 ก่อสร้างอาคารผู้ป่วย 298 เตียง ขนาด 8 ชั้นวงเงิน 303,000,000 บาท ที่ประกอบไปด้วยห้องผู้ป่วยฉุกเฉินหรือ icu 16 เตียง ตึกพิเศษ 84 ห้อง และห้องสามัญ 198 เตียง และอาคารนี้เป็นการสร้างเพื่อรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นเพราะปัจจุบันอัตราการครองเตียง 150 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ผู้ป่วยไม่มีที่พักและเพื่อทดแทนอาคารศัลยกรรม 3 ชั้น ซึ่งในอนาคตจะต้องรื้อเพื่อสร้างเป็นอาคารอุบัติเหตุและศูนย์หัวใจ
เพื่อความเรียบร้อยฝ่ายบริหารได้สำรวจพื้นที่ที่จะก่อสร้างอาคารได้มี 2 พื้นที่คือ บริเวณโรงซักฟอกโรงครัวและโรงน้ำเกลือ กับบริเวณพื้นที่ด้านหลังอาคารน้อมเกล้า และฝ่ายบริหาร สรุปข้อดีข้อเสีย กรณีที่จะก่อสร้างอาคารบริเวณโรงซักฟอกโรงครัวและโรงน้ำเกลือเท่าที่ประมวลได้เพื่อประกอบการพิจารณาการตัดสินใจดังนี้คือ ข้อดีคือทำให้ไม่มีผลกระทบต่อผู้ที่มีบ้านพักอาศัยบริเวณนั้น ต้นไม้ที่อยู่บริเวณนั้นไม่โดนตัด ที่จอดรถ แพทย์บริเวณนั้นไม่มีที่จอด แต่ทางคณะกรรมการพิจารณาที่จอดรถได้จัดสรรที่จอดรถใหม่ให้แล้ว
ในขณะที่ข้อเสียของการก่อสร้าง บริเวณโรงซักฟอกโรงครัวและโรงน้ำเกลือ ทำให้มีผลกระทบต่อระบบการบริหารจัดการคือตามหลัก Master Plan ของโรงพยาบาลควรมีอาคารที่พักผู้ป่วย อาคารผู้ป่วยนอก อาคารวินิจฉัย อาคารสนับสนุนและอาคารที่พักแยกออกจากกัน การก่อสร้างอาคารพักผู้ป่วย 298 เตียงบริเวณด้านหลังอาคารน้อมเกล้าทำให้กลุ่มอาคารพักผู้ป่วยและพยาบาลอยู่ในบริเวณเดียวกันทำให้การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทำได้สะดวกและสามารถที่จะเชื่อมกับตึกอันดามันและอาคารน้อมเกล้าได้ หากก่อสร้างบริเวณโรงซักฟอกโรงครัวและโรงน้ำเกลือทำให้การตรวจผู้ป่วยแพทย์ไม่สะดวกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากตึก ผูัป่วยนอกหรือ OPD ไปอาคารพักผู้ป่วยจะต้องเข็นไกลบนทางลาดชันซึ่งไม่สะดวก ต้องก่อสร้างทางเชื่อมระหว่างอาคาร 298 เตียง กับอาคารที่จอดรถโดยทางเชื่อมต้องพาดผ่านทางเข้าโรงพยาบาลที่จะก่อสร้างใหม่บริเวณด้านหน้าโรงซักฟอก โรงครัว ที่ทางโรงพยาบาลจะต้องเสียงบประมาณส่วนนี้
201608261522512-20021028190412
นอกจากนี้ โรงพยาบาลต้องเสียค่าใช้จ่าย มีการเคลื่อนย้ายเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 2 เครื่อง หม้อแปลงไฟฟ้าขนาด 1,000 KVA จำนวน 2 เครื่อง สายไฟฟ้าแรงสูงและแรงต่ำบริเวณด้านหน้าโรงซักฟอกโรงครัวประมาณ 10 ล้านบาท และมีผลกระทบต่ออาคารรักษาพยาบาลและอาคารสนับสนุน คืออาคารน้อมเกล้าอาคารอันดามันตึกศัลยกรรม 3 ชั้นอาคารสงฆ์อาพาธ 200 ปี และอาคารซักฟอกโรงครัวและโรงน้ำเกลือ ยกเว้นอาคารผู้ป่วยนอก 6 ชั้น ตึกคุณพุ่ม ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาที่มีผลทำให้เกิดไฟฟ้าดับชั่วคราว ระหว่างการเคลื่อนย้ายหม้อแปลงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และจำเป็นต้องเช่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชั่วคราวมาใช้ระหว่างดำเนินการ
หากสร้างบริเวณโรงซักฟอกโรงครัวและโรงน้ำเกลือทำให้ช่องทางสัญจรที่ใช้สัญจรปัจจุบันและถนนทางขึ้นส่วนบ้านพักผู้อำนวยการโรงพยาบาลและสนามกีฬาถูกตัดขาดเนื่องจากบริเวณที่ก่อสร้างจะครอบคลุมพื้นที่ถึงถนนด้านข้างอาคารศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา และการก่อสร้าง ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม เนื่องจากต้องรื้อโรงซักฟอกโรงครัวและโรงน้ำเกลือและที่สำคัญคือจะต้องระเบิดหินตั้งแต่ถนนทางเข้าปัจจุบันจนถึงถนนทางลงด้านข้างอาคารศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาซึ่งมีความเสี่ยงเนื่องจากแนวระเบิดหินติดกับทางสัญจรเข้าออกโรงพยาบาล ประกอบกับจังหวัดภูเก็ตมีกฎหมายห้ามระเบิดหิน ในทางกลับกันหากสร้างบริเวณด้านหลังอาคารน้อมเกล้าสามารถดำเนินการได้เลย พร้อมกันนี้ทำให้มีผลกระทบต่อการก่อสร้างที่ล่าช้า เนื่องจากจะต้องย้ายโรงซักฟอกและโรงเกลือ เข้าอาคารบริเวณจอดรถ ส่วนโรงน้ำเกลือโรงพยาบาลจะต้องก่อสร้างอาคารโรงน้ำเกลือใหม่ ที่ตามนโยบายของรัฐบาลจะต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้รวดเร็วและต้องส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างพร้อมทำสัญญาจ้างภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2559
ในขณะเดียวกันหากพื้นที่ก่อสร้างอาคารที่เป็นส่วนขาดของโรงพยาบาลคือยังขาดอาคารบริการที่จำเป็นอีกครั้งยังไม่มีเช่นอาคารเภสัชกรรมอาคารซ่อมบำรุงอาคารนิติเวช หากก่อสร้างบริเวณโรงครัว โรงอาหารพื้นที่ที่จะก่อสร้างอาคารจะไม่มีหรือจะให้สร้างบริเวณไหนแทน รวมทั้งต้องก่อสร้างโรงน้ำเกลือทดแทนอาคารเดิมที่ต้องโดนรื้อถอนทำให้ต้องเสียเงินบำรุงมาใช้จ่ายในส่วนนี้และโรงพยาบาลมีสถานการณ์ทางด้านการเงิน อยู่ในภาวะวิกฤต ระดับ 3
สำหรับแนวทางแก้ปัญหาอาคารสร้างตึกผู้ป่วย 298 เตียง ประกอบไปด้วย 1.ตั้งคณะกรรมการโดยมีนายแพทย์วีรศักดิ์ หล่อทองคำ เป็นประธาน นายแพทย์วีระวิทย์ สฤษดิพันธ์และตัวแทนกลุ่มต่างๆ โดยมีตัวแทนกรมศิลปากร กรมป่าไม้ กองแบบแผน ที่กระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณ 303,000,000 บาท สร้างตึกผู้ป่วยใน 298 เตียง เพื่อลดความแออัดให้ผู้ป่วยพิจารณาว่าจะสร้างได้หรือไม่ในบริเวณที่มีตึกเก่า 2.เชิญตัวแทนกระทรวงสาธารณสุข (วิศวกร, สถาปนิก) มาดูบริเวณที่ จะสร้างที่มีปัญหาเห็นว่ามีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไรถ้าแก้ปัญหาไม่ได้ให้ใช้แนวทางที่ 3 คือ 3.นำงบประมาณไปก่อสร้างที่โรงพยาบาลฉลอง เป็นโรงพยาบาลแห่งใหม่แต่ต้องมีคณะแพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตไปช่วยดูแล อย่างไรก็ตามหากทั้ง 3 แนวทางไม่สามารถเป็นไปได้ก็จะต้องคืนงบประมาณ ทั้งหมดให้กับกระทรวงสาธารณสุขโดยการต่อไป
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image