คนสวนลุมตะโกนค้าน เหี้ยไม่เคยทำร้ายใคร กทม.ยันมีมากเกิน จับตามเป้า 40 ตัว ชี้ไปอยู่ที่ใหม่สบายกว่าเยอะ

เมื่อวันที่ 20 กันยายน เวลา 09.00น. ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้า การดำเนินการจับตัวเหี้ยที่สวนลุมพินี ส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในสวนลุมพินีของกรุงเทพมหานคร (คลิกอ่าน ข่าวร้ายตัวเงินตัวทอง! 20 ก.ย. กทม.จะไปไล่จับ สวนลุมอื้อ 400 ตัว ทำลายต้นไม้-ทำคนกลัว) โดยมีเจ้าหน้าที่สำนักงานสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร และเจ้าหน้าที่สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช รวมทั้งสัตวแพทย์สัตว์ป่า เจ้าหน้าที่เทศกิจ จำนวน 30 คน ได้เดินทางไปที่สวนลุมพินีเพื่อเตรียมจับตัวเหี้ย โดยตั้งเป้าจับจำนวน 40 ตัวในวันนี้เพื่อนำไปไว้ที่ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเขาสน จังหวัดราชบุรี โดยในวันนี้มีสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ เดินทางมารอทำข่าวตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่

S__4481065

อย่างไรก็ตามระหว่างที่เจ้าหน้าที่สองหน่วยงานเตรียมอุปกรณ์เพื่อเตรียมดำเนินการจับตัวเหี้ย มีประชาชนที่เดินทางมาออกกำลังกายภายในสวนลุมฯ ได้เข้ามาสอบถามว่ากำลังทำอะไรกันอยู่ เมื่อทราบเรื่องก็แสดงความไม่พอใจตะโกนคัดค้านระบุว่า “พวกมันไม่เคยทำร้ายใคร ไม่เคยทำให้ใครเดือดร้อน ทุกคนที่มาออกกำลังกายในสวนลุมฯ ต่างเห็นมันเป็นเพื่อนอยู่ด้วยกันทุกวัน ช่วยรักษาระบบนิเวศ จะจับมันไปไหน อย่าเอาไปไหนเลย เอาไว้นี่แหละ”

อุปกรณ์จับตัวเหี้ยและเหยื่อล่อ
อุปกรณ์จับตัวเหี้ยและเหยื่อล่อ

ด้านนายนิพนธ์ บุญญภัทโร รองประธานบริหาร มูลนิธิเรารักสวนลุมพินี และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมาปั่นจักรยานในสวนลุมฯ เป็นเวลา 10 ปีแล้ว ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวระบุว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการในครั้งนี้ “ตัวเหี้ยไม่เคยทำร้ายใคร มันเป็นเพื่อนกับเจ้าหน้าที่ทุกคนในสวนลุมฯ ตั้งแต่ยามไปจนถึงแม่ค้า ไม่เข้าใจว่าเป็นนโยบายอะไรที่ต้องทำถึงขนาดนี้ กทม.มีงานอื่นให้ทำตั้งมากมาย มาเสียเวลากับตัวเหี้ยกันทำไม” นายนิพนธ์ ระบุ

Advertisement

26 27

S__4481068

นางสุวรรณา จุ่งรุ่งเรือง ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานครฯ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวระบุว่า “แม้ว่าจะยังไม่มีประวัติตัวเหี้ยในสวนลุมฯทำร้ายใคร แต่ด้วยความที่เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างค่อนข้างน่ากลัว โดยพบว่ามีตัวเหี้ยอยู่ในสวนลุมฯจำนวนราว 400 ตัว โดยตัวที่ออกมาเดินมักเป็นตัวใหญ่ขนาดราว 2-3 เมตร ทำให้ประชาชนหวาดกลัว จึงร้องเรียนเข้ามาให้ กทม.ช่วยดูแล”

Advertisement

“วิธีการที่เราจะจับคือ ใช้บ่วงผูกติดท่อพีวีซี เพื่อใช้คล้องคอ จากนั้นก็ใช้กระสอบป่านคลุมที่ลำตัวเพื่อกดทับ จับขาไขว้หลัง เพื่อมัดทั้งขาหน้า และขาหลัง และนำขึ้นรถ โดยในวันนี้จะนำไปไว้ที่บ่อในเรือนเพาะชำภายในสวนลุมพินีก่อน จะใช้น้ำพรม เพื่อให้ลำตัวผิวหนังไม่แห้ง และจะนำส่งที่ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน ในวันที่ 21 กันยายน สถานที่ดังกล่าว มีระบบนิเวศน์ที่ดีและมีความอุดมสมบูรณ์มาก มีเนื้อที่กว่า 1,000 ไร่ รองรับสัตว์ต่างๆได้จำนวนมาก โดยก่อนหน้านี้ สำนักสิ่งแวดล้อมสามารถจับตัวเหี้ยในพื้นที่ต่างๆที่ประชาชนแจ้งมาให้ไปช่วยจับได้ 167 ตัว”นางสุวรรณา กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงแรกที่เจ้าหน้าที่ออกจับตัวเหี้ยนั้น เป็นไปด้วยความทุลักทุเล เพราะมีสื่อมวลชนทั้งชาวไทยและต่างประเทศกว่า 100 คน รวมทั้งประชาชนที่มาออกกำลังกายในสวนลุม ได้รุมเข้าไปเกาะติดการทำงานของเจ้าหน้าที่ แม้เจ้าหน้าที่จะใช้ปลาดุกตัวขนาดท่อนแขนคนเข้าไปล่อเพื่อให้ตัวเหี้ยเข้ามากิน ปรากฏว่า ไม่มีเหี้ยตัวไหนกล้าออกมากิน จนกระทั่งเวลาผ่านไปอีกประมาณ 1 ชั่วโมง จึงสามารถจับเหี้ยตัวแรกได้สำเร็จ หลังจากนั้นจึงมีการแยกย้าย กระจายกำลังออกไปจับตามจุดต่างๆ แต่ก็ได้เกิดฝนตกลงมาอย่างหนัก ทำให้เกิดความทุลัก ทุเลเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในที่สุดแล้ว เจ้าหน้าที่สามารถจับตัวเหี้ยได้ 40 ตัว

นางสุวรรณา ให้สัมภาษณ์ เพิ่มว่า การจับตัวเหี้ยออกจากสวนลุมครั้งนี้ เป็นเพียงการควบคุมประชากรไม่ให้มีมากเกินไป และเหี้ยทุกตัวที่จับออกไปก็จะได้อาศัยอยู่ในที่ที่เหมาะสม ไม่ได้ไปทรมานแต่อย่างใด

“เราไม่สามารถทำหมันให้เขาได้ เพราะเป็นสัตว์เลือดเย็น ออกลูกเป็นไข่ การจำกัดปริมาณ คือการเอาจากที่ตรงนี้ไปปล่อยอีกที่หนึ่ง ทั้งนี้วิธีการเก็บไข่ไปทำลายก็เป็นวิธีการควบคุมประชากรได้อย่างหนึ่ง แต่การเก็บไข่ก็ทำค่อนข้างยาก เพราะอยู่ในโพลงลึก

ชมคลิป นายนิพนธ์ บุญญภัทโร รองประธานบริหาร มูลนิธิเรารักสวนลุมพินีไม่เห็นด้วยกับการจับตัวเหี้ยที่สวนลุมฯ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image