กลุ่มนักเรียน-นักศึกษา จี้พม.ออกนโยบายแก้ปัญหาเยาวชน ทั้งความรุนแรง ขาดโอกาสทางสังคม ไม่มีพื้นที่ปลอดภัยสร้างสรรค์

เมื่อวันที่ 30 กันยายน นายสุวิชัย อินธิสุคนธ์ แกนนำเครือข่ายเด็กเยาวชนเพื่อการเปลี่ยนแปลง นำกลุ่มนักเรียน นักศึกษา พร้อมด้วย มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา เครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง เครือข่ายป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ เครือข่ายเด็กรุ่นใหม่ไม่พนัน และองค์กรด้านเด็กและเยาวชน กว่า 30 คน ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ผ่านทางนางนภา เศรษฐกร อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน เพื่อเรียกร้องให้พม.เร่งออกนโยบายปกป้องเด็กและเยาวชนจากปัจจัยเสี่ยงอย่างจริงจัง

นายณัฐพงษ์ สำเภาแก้ว ผู้ประสานงานเครือข่ายเด็กรุ่นใหม่ไม่พนัน กล่าวว่า ภาคีเครือข่ายฯได้ลงพื้นที่สำรวจเด็กเยาวชน 1,661 รายจากทั่วประเทศ พบว่าเยาวชนต้องเผชิญสารพัดปัญหา ได้แก่ความรุนแรงในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน 18.45% เหล้าบุหรี่ยาเสพติดการพนัน18.20% แหล่งมั่วสุม16.19% สื่อไม่สร้างสรรค์ 13.67% พื้นที่ไม่ปลอดภัย11.80%การถูกกีดกันทางสังคม7.59%โดยที่มาของปัญหานั้นเด็กเยาวชนมองว่าเกิดจากกฎหมายการบังคับใช้อ่อนแอความความไม่เท่าเทียม ขาดทักษะชีวิต มีทัศนคติเชิงลบ ครอบครัวอ่อนแอ และนโยบายรัฐบาลไม่เอื้ออำนวย ทำให้ส่งผลตามมาได้แก่ครอบครัวแตกแยก สุขภาพจิตคุณภาพชีวิตแย่ ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและขาดโอกาสทางการศึกษาแต่ที่น่าสนใจคือเกินครึ่งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง อย่างไรก็ตามเมื่อถามถึงการมีส่วนร่วมคิดและตัดสินใจ พบว่า 42.26% แค่ร่วมคิดแต่ไม่เคยได้ร่วมตัดสินใจ และ 18.42% ไม่มีโอกาสทั้งร่วมคิดและร่วมตัดสินใจ

“แม้ปัจจุบันสังคมไทยให้ความสำคัญกับเด็กเยาวชนมากขึ้น แต่ก็อยู่ในระดับที่ยังไม่น่าพอใจนัก ทั้งที่เขาควรจะได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้เกิดคุณภาพในทุกระดับ ซึ่งต้องเน้นที่การส่งเสริมสร้างกระบวนการการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมีกระบวนการพื้นที่สื่อสร้างสรรค์รวมถึงจัดกระบวนการสภาพแวดล้อมรอบตัวให้มีความปลอดภัย มีสื่อดีๆ ที่ช่วยสร้างการเรียนรู้และเกิดภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เขาจะซึมซับจนเกิดเป็นความรับผิดชอบมีมิติเชิงบวก ดังนั้นกระบวนการทำงานคือต้องให้เด็กเยาวชนได้ลงมือทำ แก้ปัญหาจนเกิดเป็นการเรียนรู้ และเกิดการยอมรับจากผู้ใหญ่จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมในที่สุด” นายณัฐพงษ์ กล่าว

นายสุวิชัย อินธิสุคนธ์ แกนนำเครือข่ายเด็กเยาวชนเพื่อการเปลี่ยนแปลง กล่าวว่า จากปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น เครือข่ายเด็กเยาวชนฯ ขอแสดงจุดยืนและมีข้อเสนอต่อ พม.ดังนี้1.ขอให้มีนโยบายมาตรการที่ชัดเจนในการปกป้องคุ้มครองเด็กเยาวชนจากปัจจัยเสี่ยงทุกรูปแบบ2.การจัดสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กเยาวชน ลดพื้นที่เสี่ยง เพิ่มพื้นที่ปลอดภัย มีสื่อดีที่สามารถสร้างการเรียนรู้และเกิดภูมิป้องกันได้ 3.จัดกระบวนการเสริมศักยภาพเด็กเยาวชน เพิ่มทักษะชีวิต ทักษะทางสังคม และ 4. ส่งเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ขอให้เด็กเยาวชนได้มีโอกาสร่วมแก้ไขปัญหา มีพื้นที่ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ และร่วมลงมือทำ

Advertisement

นายสุวิชัย กล่าวด้วยว่า ล่าสุดเครือข่ายฯได้ร่วมกับ Unicef ประเทศไทย นำระบบยูรีพอร์ต ซึ่งเป็นแบบฟอร์มที่พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมสิทธิการมีส่วนร่วมของเด็กเยาวชน ให้ร่วมแสดงความคิดเห็น ผ่านระบบโพลในรูปแบบแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน มีสมาชิกที่เรียกว่ายูรีพอร์ตเตอร์(Ureporter) โดยในแต่ละเดือนจะมีแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับเด็กเยาวชน ซึ่งสมาชิกเหล่านี้จะสามารถตอบกลับความคิดเห็นได้ง่ายๆผ่านแอพนี้ จากนั้นคำตอบจะถูกรวบรวมและประเมินผล ผ่านเว็บไซต์ทันที เชื่อว่าระบบนี้จะช่วยให้เกิดนโยบายระดับสูงเพราะทุกเสียงของเยาวชนเป็นสิ่งสำคัญ และเครือข่ายหวังว่าจะมีโอกาพัฒนาช่องทาง กลไกในการสื่อสารประเด็นเสียงเด็กเยาวชน จากยูรีพอร์ตเตอร์ ส่งข้อมูลต่างๆให้กับกระทรวงฯเพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายต่อไปในอนาคตด้วย

นางนภา เศรษฐกร อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กล่าวภายหลังจากรับหนังสือว่า เห็นด้วยกับสิ่งที่เยาวชนนำเสนอ ซึ่งพม.มีกลไกยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กและเยาวชนอยู่แล้วทั้งนี้วันที่20ก.ย.ซึ่งเป็นวันสิทธิเด็กเราคงมีการวางกรอบแนวทางร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนอย่างจริงจัง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image