รายแรกของโลก ทารกชาย ‘พ่อแม่3คน’

ภาพไม่เกี่ยวกับเนื้อหา (ภาพ-Jeff Cremer)

นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจริญพันธุ์ชาวอเมริกันประสบความสำเร็จในการใช้กรรมวิธี พ่อแม่ 3 คนเพื่อการเจริญพันธุ์Ž ให้กำเนิดทารกเพศชายที่สุขภาพดีให้กับคู่สามีภรรยาชาวจอร์แดนเป็นรายแรกของโลก ทั้งนี้ตามรายงานที่ปรากฏในนิตยสารนิว ไซนซ์ทิสต์ เมื่อเร็วๆ นี้

ทารกเพศชายดังกล่าวซึ่งอายุได้ 5 เดือนแล้วในขณะนี้ เป็นลูกของคู่สามีภรรยาชาวจอร์แดนที่ไม่เปิดเผยชื่อ โดยผู้เป็นภรรยามีความผิดปกติทางพันธุกรรมซึ่งเรียกว่า เลห์ซินโดรมŽ ที่สืบทอดต่อมาจากพ่อแม่ เลห์ซินโดรมŽเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาท ที่ส่งผลให้เด็กที่เกิดจากไข่ของมารดารายนี้ป่วยหนักและเสียชีวิตได้ ก่อนหน้านี้ผู้เป็นภรรยารายนี้เคยส่งผ่านโรคทางพันธุกรรมดังกล่าวนี้ให้กับลูกๆ ก่อนหน้านี้แล้ว 2 ราย ซึ่งในเวลาต่อมาทั้งคู่เสียชีวิตจากเลห์ซินโดรมทั้งหมด นอกจากนั้นยังเคยแท้งลูกมาแล้ว 4 ครั้งด้วยกัน

คู่สามีภรรยาจอร์แดนติดต่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์เพื่อให้มีลูกได้โดยปลอดภัยจาก นพ.จอห์น จาง นายแพทย์ชาวอเมริกันจากศูนย์ เจริญพันธุ์เพื่อความหวังใหม่ ในนครนิวยอร์ก แต่เนื่องจากในสหรัฐอเมริกามีกฎหมายห้ามใช้กรรมวิธีดังกล่าว จึงต้องเลี่ยงไปดำเนินกระบวนการทั้งหมดในประเทศเม็กซิโกซึ่งไม่มีบทบัญญัติทางกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้แทน

สืบเนื่องจากพันธุกรรมที่ก่อให้เกิดเลห์ซินโดรม ปรากฏอยู่ในดีเอ็นเอเฉพาะจากฝ่ายมารดาที่ปรากฏอยู่ในดีเอ็นเอในไมโทคอนเดรียŽ ทั้งนี้ ไมโทคอนเดรียเป็นโครงสร้างย่อยขนาดเล็กภายในเซลล์ ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์และมีดีเอ็นเอปรากฏอยู่ด้วย แต่ดีเอ็นเอภายในไมโทคอนเดรียต่างจากดีเอ็นเอที่พบในนิวเคลียสของเซลล์ เพราะในนิวเคลียสจะเป็นดีเอ็นเอผสมที่มีทั้งของฝ่ายพ่อและแม่ ในขณะที่ดีเอ็นเอใน

Advertisement

ไมโทคอนเดรียจะมาจากฝ่ายแม่เท่านั้น นพ.จางจึงใช้กรรมวิธีแยกเอานิวเคลียสจากไข่ของมารดาชาวจอร์แดนออกมาแล้วนำไปใส่ไว้ในไข่ที่ได้จากผู้บริจาค จากนั้นนำไข่ที่ได้ไปผ่านเทคนิค สปินเดิล นิวเคลียส ทรานสเฟอร์Ž ผลที่ได้คือไข่ที่มีนิวเคลียสจากมารดาและมีไมโทคอนเดรียดีเอ็นเอจากผู้บริจาค ซึ่งนำไปสู่กระบวนการผสมกับสเปิร์มของผู้เป็นบิดานอกมดลูก ก่อนใส่กลับไปยังตัวผู้เป็นมารดาในที่สุด

ทั้งนี้ นพ.จางและทีมเตรียมอธิบายกรรมวิธีดังกล่าวโดยละเอียดต่อที่ประชุมสมาคมแพทย์เจริญพันธุ์อเมริกัน ที่กำหนดจะมีขึ้นที่นครซอลต์เลคซิตี รัฐยูทาห์ ในเดือนตุลาคมนี้

อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวนี้ก็ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากผู้เชี่ยวชาญที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างทารกจาก 3 พ่อแม่ดังกล่าวนี้ ทั้งนี้ ศาสตราจารย์จัสติน เซนต์จอห์น อาจารย์และผู้อำนวยการศูนย์โรคทางพันธุกรรมแห่งมหาวิทยาลัยโมนาช เตือนว่าในทศวรรษ 1990 เพียงมีการทดลองนำไมโทคอนเดรียจากผู้บริจาคใส่ลงไปในไข่ของมารดาแล้วนำไปผสมกับสเปิร์มของผู้เป็นสามี แต่ทารกที่ได้กลับยังคงมีโรคทางพันธุกรรมเหมือนมารดาต่อไป ทำให้มีการออกกฎหมายห้ามใช้กรรมวิธีนี้ในที่สุด โดย ศ.เซนต์จอห์นเชื่อว่าปัญหาน่าจะเกิดจากการมีไมโทคอนเดรียจาก 2 แหล่งนั่นเอง

Advertisement

ศ.เดวิด แคลนซี จากมหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์ชี้เอาไว้ด้วยว่า เคยมีการทดลองในลิง พบว่าไมโทคอนเดรียที่ได้จากฝ่ายแม่นั้นสามารถขยายบทบาทขึ้นในอนาคตและทำให้โรคทางพันธุกรรมยังคงปรากฏขึ้นอีก

เช่นกัน ทำให้คาดได้ว่าในกรณีของมนุษย์ก็น่าจะเป็นเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามในกรณีผู้ดำเนินการอ้างว่าตรวจสอบแล้วพบว่าไมโทคอนเดรียของเด็กชายมีส่วนกลายพันธุ์ (ตามแบบของมารดา) เพียง 1% ต่ำกว่าระดับ 18% ที่คิดกันว่าจะก่อให้เกิดปัญหาเลห์ซินโดรมขึ้นได้อยู่มาก

นอกจากนั้นการที่เด็กที่ได้จากกระบวนการใหม่นี้เป็นเด็กชาย ในอนาคตจึงไม่ถ่ายทอดข้อบกพร่องในไมโทคอนเดรียที่ได้รับมาได้อีก

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image