เปิดประวัติ’ข้าวหอมมะลิ’ตั้งแต่ปี 2493 อดีตอธิบดีกรมการข้าวเผย เคยถูกทิ้ง-ยกเลิกการทดลอง

ภาพเล็ก ดร.สละ ทศานนท์ อดีตอธิบดีกรมการข้าว

ในห้วงเวลาที่ราคาข้าวตกต่ำ ข้าวราคาถูกแสนถูกจนน่าใจหาย  ไม่เพียงชาวนาที่สละหยาดเหงื่อ แรงกาย แรงใจลงไปในข้าวทุกรวง หากแต่ยังมีการทุ่มเทจากหน่วยงานต่างๆ ในการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์ จนกลายเป็นข้าวพันธุ์หลากหลาย รวมถึง ข้าวหอมมะลิ ซึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนาน ดังปรากฎในข้อเขียนของ ดร. สละ ทศานนท์ อดีตอธิบดีกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้บอกเล่าเรื่องราวไว้ในบทความเรื่อง “ข้าวหอมดอกมะลิ สิ่งที่ข้าพเจ้าภูมิใจ” ปรากฏในหนังสือ  80 ปีของชีวิต สละ ทศนานนท์  1 มิถุนายน 2539

เนื้อหาส่วนหนึ่ง มีดังนี้

ส่วนใหญ่ของชีวิตข้าพเจ้า ได้ทำงานเกี่ยวกับข้าว โดยได้มีส่วนสร้างการค้นคว้าและส่งเสริมการผลิตข้าวของประเทส ในด้านพันธุ์และวิธีปลูก ดูแลป้องกันโรคและศัตรู ตลอดจนเขตต่างๆ เพื่อให้รายได้ต่อเนื้อที่สูงขึ้น

….

Advertisement

ข้าวหอมดอกมะลิ เป็นข้าวที่มีชื่อเรียกได้ว่าระดับโลก สังเกตได้จากความนิยมในตลาดต่างประเทศ ดดยเฉพาะในสหรัฐฯ พบว่าข้าวหอมดอกมะลิเป็นข้าวที่ชาวเอเชีย เช่น จีน ไทย เวียดนาม เขมร นิยมกินเป็นส่วนใหญ่ ตามร้านอาหารไทยและจีนในยุโรปก็นิยมข้าวหอมดอกมะลิ และแม้แต่ในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ข้าวหอมดอกมะลิก็เป็นที่ต้องการมาก จนภายหลังเกิดมีการปลอมกัน

ข้าพเจ้าได้รู้จักกับข้าวหอมดอกมะลิเป้นครั้งแรก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2493-2494 โดยคุณสุนทร สีหะเนิน ซึ่งขณะนั้นเป็นพนักงานข้าว อำเภอบางคล้า นำมาให้ข้าพเจ้ารับประทานประมาณครึ่งกระสอบ โดยเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าเป็นข้าวคุณภาพดีที่ชาวน่ปลูกที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เกี่ยวแล้วแยกเก็บในฉางไว้ต่างหาก เพื่อสีส่งสำเพ็งในราคาพิเศษสูงกว่าข้าวสารทั่วไปเกือบเท่าตัว

สุนทร สีหะเนิน อดีตพนักงานข้าว อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
สุนทร สีหะเนิน อดีตพนักงานข้าว อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

เดิมเรียกข้าวชนิดนี้ว่า ขาวดอกมะลิ แต่มีกลิ่นหอมหลังจากเก็บเกี่ยวใหม่ จึงได้ชื่อใหม่ว่า “หอมมะลิ” (ถ้าพูดถึงเรื่องหอมแล้ว ข้าว “นางมล” หอมกว่ามาก)

Advertisement

การทดสอบของข้าวดอกมะลิได้ทำในสถานีโคกสำโรง เมื่อข้าพเจ้ากลับมาจากต่างประเทศ เมื่อ พ.ศ.2500 ข้าพเจ้าก็รีบขึ้นไปตรวจดูที่สถานีโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ขณะนั้น คุณโอภาส พลศิลป เป็นหัวหน้าสถานี ต่อมาคุณโอภาสได้ไปรับราชการเป็นนายอำเภอแล้วได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. จังหวัดลพบุรี และได้เคยดำรงตำแหน่ง รมต. ช่วยว่าการมหาดไทย

ข้าพเจ้าถามถึงข้าวหอมมะลิ คุณโอภาสก็บอกข้าพเจ้าว่า หัวหน้ากองให้ทิ้งได้ และเลิกการทดลอง

ข้าพเจ้าตกใจรีบสั่งให้ดำเนินการทดสอบ โดยแบ่งพันธุ์ข้าว 153 สายออกเป็น 2 ชุด ชุดหนึ่งส่งไปทดลองที่สถานีพิมาย จังหวัดนครราชสีมา และอีกชุดหนึ่งไปที่สถานีสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จาก 153 สายพันธุ์ในการทดลองนาราษฎร์ด้วย

สายพันธุ์ที่ 105 ให้ผลดีมากในภาคอีสาน สายพันธุ์ 103 ให้ผลดีทางภาคเหนือ แต่เนื่องจากข้าวเจ้าไม่ค่อยเป็นที่นิยมกันในภาคเหนือ จึงมีผู้ปลูกน้อย ส่วนในภาคอีสาน สาย 105 มีผู้ปลูกกันมากในแถบจังหวัดสุรินทร์, ร้อยเอ็ด

ข้าพเจ้าได้รับคำแนะนำจาก Dr.N.Patharsarathi ผู้เชี่ยวชาญข้าวของ FAO ซึ่งแนะนำให้ข้าพเจ้าไปแถลงการทำ Reginal trai ของข้าวหอมมะลิ 105 ให้ภาคอีสานที่การประชุม Pacific Science Congress ที่ Honnolulu Hawaii ครั้งที่ 10 เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2504 เชื่อว่าคงอยู่ในรายงานการประชุมนี้

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image