สุจิตต์ วงษ์เทศ : อยุธยา ได้ใบเหลือง “ภาวะอันตราย”

ขยะมูลฝอยริมคลองท่อ ท้ายพระราชวังโบราณ เมื่อไม่นานมานี้

อยุธยามีปัญหามรดกโลก จนคณะกรรมการมรดกโลกและยูเนสโก ถึงกับอดรนทนไม่ได้ ต้องส่งสัญญาณบอกไทยว่ามีข้อกังวลและข้อห่วงใยหลายเรื่อง

ข้อกังวลและข้อห่วงใย” แปลว่าข้อท้วงติงและข้อตักเตือน เป็นคำอธิบายของผู้รู้ภาษาการเมืองระหว่างประเทศ ว่าเป็นมารยาทในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ต้องแสดงความสุภาพ บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น โดยไม่พูดตรงๆ ว่า อยุธยาอยู่ในภาวะอันตราย เพราะไทยบริหารจัดการอนุรักษ์อย่างไม่เป็นไปตามมาตรฐานหลักวิชาสากลโลกทางประวัติศาสตร์โบราณคดี

ภาพนี้มีผู้ส่งให้ดูบริเวณคลองท่อ อยู่ท้ายพระราชวังโบราณ เชื่อมแม่น้ำลพบุรี (ด้านเหนือ) กับแม่น้ำเจ้าพระยา (ด้านใต้) เป็นแกนของเกาะเมืองมาแต่แรก ในเอกสารโบราณยุคอยุธยาว่าเป็นที่ติดตลาดน้ำมีเรือแขกค้าผ้าแพรพรรณกับเครื่องประดับชาววัง ควรทำให้ดีได้ แต่ไม่ได้ทำ กองขยะริมถนนเลียบคลองท่อ หน้าวัดส้ม กลางเกาะเมืองอยุธยา (ภาพจากเว็บไซต์สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา http://asi.aru.ac.th)
ภาพนี้มีผู้ส่งให้ดูบริเวณคลองท่อ อยู่ท้ายพระราชวังโบราณ เชื่อมแม่น้ำลพบุรี (ด้านเหนือ) กับแม่น้ำเจ้าพระยา (ด้านใต้) เป็นแกนของเกาะเมืองมาแต่แรก ในเอกสารโบราณยุคอยุธยาว่าเป็นที่ติดตลาดน้ำมีเรือแขกค้าผ้าแพรพรรณกับเครื่องประดับชาววัง ควรทำให้ดีได้ แต่ไม่ได้ทำ
กองขยะริมถนนเลียบคลองท่อ หน้าวัดส้ม กลางเกาะเมืองอยุธยา (ภาพจากเว็บไซต์สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา http://asi.aru.ac.th)

ทั้งนี้ โดยสังเกตจากระหว่างบรรทัดในข้อกังวลและข้อห่วงใย ตรงที่ว่า

“ให้ทำแผนแม่บทการจัดการบริหารอนุรักษ์ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น เพราะแผนเดิมที่ทำอยู่เคยทำมาเมื่อ 20 ปีก่อน ไม่ทันสมัย จะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากนานาชาติเข้าร่วม”

Advertisement

“ให้ประเทศไทยเชิญผู้เชี่ยวชาญมาจัดการบริหารโบราณสถาน จ. พระนครศรีอยุธยา”

แต่ไทยจะปลอบใจตัวเองว่า “โอกาสที่มรดกโลกอยุธยาจะถูกขึ้นบัญชีภาวะอันตรายมีน้อยมาก เพราะไทยทำตามข้อแนะนำของคณะกรรมการมรดกโลก” ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะรอด

แม้ไทยทำตามข้อแนะนำก็จริง แต่ทำแบบผักชีโรยหน้าแบบไทยๆ ที่ใครๆ ทั้งโลกก็รู้ๆ เห็นๆ โดยไม่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ

Advertisement

ฉะนั้นยูเนสโกกับกรรมการมรดกโลกยิ่งรู้ซาบซึ้งตรึงใจ จึงให้ใบเหลืองส่งสัญญาณ

ทางแก้ไข คือต้องเลิกแบบไทยๆ

อยุธยา มีโอกาสอยู่ในบัญชีภาวะอันตราย มีผู้ชำนาญการอยุธยาบอกว่าเพราะกระทรวงวัฒนธรรมทำงานโบราณคดีแบบไทยๆ

ประชาธิปไตยเป็นสากล จึงได้รับการยอมรับเกือบหมดโลก ส่วนประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่แท้คือต่อต้านประชาธิปไตย หรือไม่ประชาธิปไตย

ดังนั้น โบราณคดีแบบไทยๆ ย่อมไปทางเดียวกัน คือไม่โบราณคดี และไม่เหมาะที่จะใช้อนุรักษ์อยุธยามรดกโลก

ประวัติศาสตร์อยุธยาแบบไทยๆ ที่ใช้งานทุกวันนี้ จึงไม่ประวัติศาสตร์อยุธยา แต่เป็นอย่างอื่นที่เหมือนนิยาย ซึ่งทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดไม่จริงตามนั้น

ทางแก้ไขให้อยุธยาเป็นมรดกโลกอย่างมีคุณค่าแท้จริง คือต้องเลิกแบบไทยๆ เพราะพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าใช้การไม่ได้

จากนั้นมุ่งสู่ความเป็นสากลให้จงได้ ซึ่งไม่ยาก หากมีความเพียร

อยุธยาปกหนังสือ

หนังสืออยุธยาอย่างง่ายๆ

หกโมงเช้าวันศุกร์ 25 พฤศจิกายน ต้องไปรอพบหมอตามนัดที่โรงพยาบาลศิริราช

ผมเดินแวะไปเข้าร้านนายอินทร์อยู่ในโรงพยาบาลศิริราช           จะหาหนังสืออ่านก็พบโดยบังเอิญ เลยซื้อทันที 1 เล่ม อยุธยา จากสังคมเมืองท่านานาชาติ สู่มรดกโลก โดย กำพล จำปาพันธ์ สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2559 ราคา 365 บาท

เปิดอ่านนั่งรอหมอก็พบว่ามีหลายอย่างที่ผมตื่นเต้นเพราะไม่เคยรู้มาก่อน ถ้าจังหวะเหมาะเมื่ออ่านแล้วอย่างละเอียด จะยกมาบอกเล่าให้รู้กันมากๆ จะได้ขายดีๆ แล้วรู้เท่าทันประวัติศาสตร์อยุธยาแบบไทยๆ

เนื้อหาท้ายสุดเป็นเรื่อง อยุธยามรดกโลก จะคัดมาโดยจัดย่อหน้าใหม่ แล้วเน้นตัวให้ชัดๆ ดังนี้

“อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็น ‘มรดกโลกทางวัฒนธรรม’ (Cultural world heritage) จากองค์การยูเนสโกแห่งสหประชาชาติ เมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534”

“อย่างไรก็ตาม องค์กรยูเนสโก มีข้อกำหนดว่าหากแหล่งประวัติศาสตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกนั้น ไม่สามารถรักษามาตรฐานไว้ได้จนทำให้แหล่งมรดกโลกนั้นๆ สูญเสียคุณลักษณะไปโดยฝีมือมนุษย์โดยไม่มีมาตรการแก้ไขที่จำเป็น องค์การยูเนสโกก็สามารถถอดถอนแหล่งมรดกโลกออกจากบัญชีได้

“ซึ่งตลอดช่วงที่ผ่านมา อยุธยามีทั้งด้านที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลวในการจัดการแหล่งมรดกโลกแห่งนี้”

(จบข้อความที่คัดจากหนังสือ)

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image