บิ๊กตู่ ชี้ คนไทยเหลื่อมล้ำสูง รวยก็รวยมาก จนก็จนสุด เร่งพัฒนา ศก. ดันไทยแลนด์ 4.0

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (แฟ้มภาพ)

นายกรัฐมนตรีมอบนโยบายในการประชุมชี้แจงแนวทางการสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศระบุขอให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันปฏิรูปเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทยให้เข้มแข็ง

วันนี้ (30 พ.ย.59) เวลา 14.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมและมอบนโยบายในการประชุมชี้แจงแนวทางการสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ (Local Economy) ที่จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน ตลอดจนผู้แทนสถาบันองค์กรชุมชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวม 900 คน

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบาย สรุปสาระสำคัญว่า สถานการณ์โลกเกือบทุกภูมิภาคมีความอ่อนไหว ผันผวน ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ ราคาผลผลิตเกษตรตกต่ำ อุตสาหกรรมต่าง ๆ มีรายได้ลดลง ระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศ ทุกประชาคม ต่างก็ได้รับผลกระทบเพราะเป็นห่วงโซ่เศรษฐกิจเดียวกันที่เชื่อมโยงในทุกภาคการผลิต อีกทั้งความขัดแย้ง การสู้รบในหลายพื้นที่ก็ทำให้เกิดผลกระทบขึ้นในโลก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เศรษฐกิจประเทศไทยได้รับผลกระทบด้วย เราจึงต้องเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์จากภายนอกให้ได้โดยเร็ว และวันนี้สภาวการณ์ของประเทศไทยอยู่ในช่วงแห่งความโศกเศร้าอาลัย จึงอยากให้ทุกคนได้ใช้พลังแห่งความโศกเศร้ามาเป็นโอกาสให้ประเทศไทยเคลื่อนไหวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือระหว่างกันในโลก ซึ่งศตวรรษใหม่ข้างหน้า อนาคตของประชาคมโลก และอนาคตของประเทศไทยในประชาคมอาเซียน ต้องเดินสู่อนาคตร่วมกัน จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในประเทศและมิตรประเทศต้องช่วยเหลือปกป้องผลประโยชน์ซึ่งกันและกันในระหว่างประเทศคู่ค้าคู่เจรจา ซึ่งรัฐบาลก็ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2557 ถึงปัจจุบัน เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มขีดความสามารถ โดยขณะนี้ถึงเวลาที่จะต้องทบทวนถึงงานที่ผ่านมาและต้องคิดถึงงานที่จะทำกันต่อไป เพราะทั้งหมดเชื่อมโยงกัน ซึ่งรัฐบาลจะใช้จ่ายงบประมาณในปี 2560 และจัดสรรงบประมาณปี 2561 ต่อไป โดยจะรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ในระยะแรกมาร้อยเรียงเข้าด้วยกันเพื่อนำไปขับเคลื่อนในทุกมิติ โดยขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในการปฏิรูประยะที่ 1 ในช่วงปีที่ 1 ของ 5 ปีแรก ซึ่งในปีแรกนี้จะมุ่งเน้นการใช้จ่ายงบประมาณโดยในการดำเนินงานปฏิรูปนี้ก็ต้องการกำลังใจจากทั้งภายในและภายนอก ไม่ใช่ความขัดแย้ง ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากภายในคือทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ประชาชน เพราะทุกคนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งต้องอาศัยความร่วมมือจากภายนอกคือประเทศที่มีความสัมพันธ์กันอย่างยาวนาน ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลพยายามวางตัวในจุดที่เหมาะสมให้เกิดความสมดุลกับทุกเวทีโลก

นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ภาคเอกชนไทยมีความต้องการประกอบกิจการใหม่ หรือขยายกิจการเดิมที่มีอยู่ รวมทั้งภาคเอกชนจากต่างประเทศก็มีความต้องการขยายกิจการในประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลก็มีความต้องการทั้งสองอย่างในเวลานี้ เพราะรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับภาคเอกชนเป็นลำดับแรก อย่างไรก็ตาม อยากให้ทุกคนได้มุ่งเน้นภารกิจสำคัญที่มีต่อประเทศชาติในช่วงเวลานี้ คือการทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้นอย่างยั่งยืนและถาวร โดยรัฐบาลจะดูแลการประกอบการ การลงทุนของภาคธุรกิจ เท่าที่จะสามารถทำได้ แต่ต้องขอร้องภาคธุรกิจว่าในเวลานี้ไม่สมควรที่จะมุ่งไปที่ผลกำไรมากที่สุด แต่ไม่ใช่ว่าจะต้องถึงกับขาดทุนต้องขอให้ภาคธุรกิจช่วยรัฐบาลด้วย ถ้าในอนาคตมีการลงทุนเพิ่มทุกอย่างจะดีขึ้น ผลประโยชน์ตอบแทนก็จะกลับมามากขึ้น รวมทั้งกติกาที่เคยล็อคเอาไว้หลายอย่างก็จะปลดปล่อยได้มากขึ้น ทั้งนี้ ในส่วนของผู้ประกอบการจากต่างประเทศขณะนี้อยากมีที่ตั้งธุรกิจในประเทศไทย เกิน 70% ที่อยากขยายกิจการ อยากเคลื่อนย้ายฐานการผลิตมาอยู่ประเทศไทย โดยขอให้เรามีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลจึงพยายามหาหนทางสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับมิตรประเทศ ลดความหวาดระแวง สร้างผลประโยชน์ที่เป็นธรรมด้วยกันทั้งสองฝ่าย สร้างกลไกกติกา ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม เพราะประเทศไทยอยู่แต่เพียงลำพังไม่ได้ในโลกนี้

Advertisement

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ดังนั้นสิ่งที่จะต้องมุ่งเน้นในขณะนี้คือ 1. การค้นหาศักยภาพของตัวเอง จังหวัด กลุ่มจังหวัด ภูมิภาค รวมทั้งต้องหาศักยภาพระหว่างกันให้เจอ ทั้งระหว่างรัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ หาแนวทางร่วมมือกันต้องสร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันให้ได้โดยเร็ว ทั้งทวิภาคีและพหุภาคี 2. การลดอุปสรรคทางการค้า อำนวยความสะดวกให้ได้มากที่สุด เกิดความเป็นสากลให้ได้มากที่สุด 3. การสร้างห่วงโซ่ อุปสงค์ อุปทาน ให้ได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยการสร้างเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศให้เข้มแข็งเพื่อเชื่อมต่อห่วงโซ่การผลิตในการแปรรูป เพิ่มมูลค่าไปสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ CLMV ประชาคมอื่น ๆ ให้ได้โดยเร็ว 4. การพัฒนาเทคโนโลยี เพิ่มการวิจัยพัฒนาให้ได้โดยเร็ว นำสู่การผลิตทั้งด้วยฝีมือคนไทยและความร่วมมือจากต่างประเทศในด้านบุคลากร ทั้งการวิจัยและพัฒนา ร่วมมือกันด้วยกลไกประชารัฐ 5. การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจด้วยดิจิทัล เพื่อให้เข้าถึงทรัพยากร ลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนในการประกอบการ ให้มีผลกำไรมากขึ้น ที่จะต้องสนับสนุนทั้งภาคประชาชนและภาคเกษตรกรในเศรษฐกิจฐานราก 6. จะต้องปฏิรูปเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทยให้เข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถทั้งในส่วนของเศรษฐกิจฐานราก เศรษฐกิจขนาดกลาง ขนาดใหญ่ เอสเอ็มอี Start Up ซึ่งเป็นสารัตถะในการประชุมเวทีโลกทุกเวที จึงจำเป็นต้องทำให้คืบหน้าเพื่อตัวเราเองและเพื่อประชาคมโลก รวมทั้งจะต้องสร้างห่วงโซ่ใหม่เพื่อนำพาประเทศไทยไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยเร็วโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ต้องคิดร่วมกันผนึกกำลังกันไปให้ได้ ซึ่งการจะเกิดไทยแลนด์ 4.0 ได้ จะต้องมีการเจริญเติบโตภายในและสร้างการเจริญเติบโตจากภายนอกให้เข้ามาในประเทศไทย ทำให้ทั้งสองด้านสมดุลกัน

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความแตกต่างทางรายได้มากเป็นอันดับ 3 ของโลก คนรวยก็รวยมหาศาล คนจนก็จนมาก เรายังดึงประเทศให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องเสริมสร้างจากเศรษฐกิจภายในให้ได้ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการระเบิดจากข้างใน ไว้ให้กับคนไทยแล้ว โดยคนไทยทุกคนต้องเดินหน้าไปด้วยกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน พร้อมกับต้องเพิ่มความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันทั้งในและต่างประเทศซึ่งประชาชนต้อง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image