ชม’สยาม’เมื่อ 150 ปีที่แล้ว ผ่านมุมกล้อง’จอห์น ทอมสัน’

Credit: Wellcome Library, London. Wellcome Images

เรียกว่าเป็นโอกาสสุดท้ายของคนไทย ที่จะได้รับชมภาพถ่ายโบราณและศิลปวัตถุร่วมสมัย ในนิทรรศการ “สยาม ผ่านมุมกล้องจอห์น ทอมสัน พ.ศ.2408-2409” ซึ่ง ม.ร.ว.นริศรา จักรพงษ์ ประธานคณะกรรมการจัดนิทรรศการและภัณฑารักษ์ได้นำภาพอันล้ำค่ากว่า 60 ภาพภายใต้การสนับสนุนจากสถาบันเวลคัมแห่งกรุงลอนดอนมาให้ได้ชม ผ่านการบรรยายของ ไพศาลย์ เปี่ยมเมตตาวัฒน์ ภัณฑารักษ์ ร่วมด้วย เอกรินทร์ เปรี่ยนไทย นักสะสม เจ้าของศิลปวัตถุที่นำจัดแสดง เล่าถึงรายละเอียดของศิลปวัตถุโบราณ สมัยรัชกาลที่ 4-5 ที่ปรากฏในภาพถ่าย ณ ห้องอาร์ซีบี แกลเลอเรีย ชั้น 2 ศูนย์การค้าริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก

25 สยาม ผ่านมุมกล้องจอห์น ทอมสัน ๒๔๐๘–๐๙

ม.ร.ว.นริศรา จักรพงษ์ ประธานคณะกรรมการจัดนิทรรศการและภัณฑารักษ์ของงาน และ CEO ของสำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์ เล่าว่า ภาพถ่ายในนิทรรศการครั้งนี้บันทึกโดย จอห์น ทอมสัน (John Thomson) ช่างภาพชาวสกอตแลนด์ ที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยในช่วง พ.ศ.2408-2409 โดยจอห์น ทอมสัน เป็นช่างภาพชาวต่างชาติที่ฉายพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งภาพมีขนาดจะนำไปตีพิมพ์ต่อได้ งานแสดงภาพสยามโบราณรวม 60 ภาพครั้งนี้ ประกอบด้วยภาพถ่ายที่เกี่ยวกับประเทศไทย 43 ภาพ, ภาพนครวัด ประเทศกัมพูชา 6 ภาพ และภาพเมืองชายฝั่งประเทศจีนและฮ่องกง 11 ภาพ หลังงานแสดงครั้งนี้ ภาพถ่ายทั้งหมดจะถูกส่งคืนเจ้าของลิขสิทธิ์ สถาบันเวลคัม กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ทันที

22 สยาม ผ่านมุมกล้องจอห์น ทอมสัน ๒๔๐๘–๐๙

Advertisement

“การจัดงานครั้งนี้มีความน่าสนใจอีกข้อคือที่ “ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก” นี้อยู่ตรงข้ามกับบ้านที่นายจอห์น ทอมสัน พำนักอยู่เมื่อครั้งมาที่สยาม หรือสำนักงานเขตคลองสานในปัจจุบัน เปรียบได้กับจอห์น ทอมสัน และผลงานของเขาได้กลับมาอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับสถานที่ที่เขาพำนักอีกครั้ง ถึงแม้ว่าจอห์น ทอมสัน จะไม่ใช่ช่างภาพคนแรกที่ได้เข้าไปถ่ายในพระราชสำนัก แต่ภาพของเขาสามารถนำมาตีพิมพ์ซ้ำได้ และเขายังเป็นคนที่โฆษณาตัวเองได้เก่งมากด้วย เพราะหลังจากที่เขากลับไปอังกฤษแล้ว เขาได้นำเรื่องราวของเมืองสยามไปตีพิมพ์ลงนิตยสารและหนังสือพิมพ์มากมาย เพราะฉะนั้นความโด่งดังของไทยสมัยนั้น พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 4 ที่ถูกส่งต่อไปถึงมือกษัตริย์ของอังกฤษและประธานาธิบดีในสมัยนั้น ก็มาจากฝีมือจอห์น ทอมสัน เขาจึงเป็นสื่อกลางที่สร้างความเข้าใจในเมืองสยามว่าเป็นเมืองศิวิไลซ์ ดังจะเห็นจากภาพที่จัดแสดงในนิทรรศการนี้” ม.ร.ว.นริศรากล่าว

ทางด้าน ไพศาลย์ เปี่ยมเมตตาวัฒน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท สำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์ จำกัด ในฐานะภัณฑารักษ์ร่วม ผู้ทำหน้าที่ “อ่าน” ผลงานภาพถ่ายชุดนี้กล่าวว่า ภาพที่สำคัญที่สุดและหาชมได้ยากยิ่งในนิทรรศการนี้ คือ พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 4 หลายภาพที่ยังมีความคมชัดมาก แม้จะผ่านกาลเวลามาแล้วกว่า 150 ปี นับเป็นภาพที่สำคัญมาก เพราะพระองค์โปรดให้จอห์น ทอมสัน เข้าเฝ้าฯ เพื่อฉายภาพของพระองค์โดยเฉพาะในพระบรมมหาราชวัง อีกภาพหนึ่งคือ พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ และยังไม่ได้เข้าสู่พระราชพิธีโสกันต์ (โกนจุก) นอกจากนี้ ยังมีภาพพาโนรามาของสยาม ที่ถ่ายจากปรางค์วัดอรุณฯ ให้เห็นทิวทัศน์ของแม่น้ำเจ้าพระยา ก็เป็นภาพสำคัญที่สุดของจอห์น ทอมสัน ที่ต้องใช้ภาพถ่ายถึง 3 ภาพมาต่อกัน”

24 สยาม ผ่านมุมกล้องจอห์น ทอมสัน ๒๔๐๘–๐๙

Advertisement

นอกจากนี้ ยังมีภาพของในหลวงรัชกาลที่ 4 ทรงฉลองพระองค์ชุดครุยทองคำตามโบราณราชประเพณี ชุดโจงกระเบนคาดเข็มขัดทองคำ ประทับบนพระที่นั่ง ตั้งเครื่องประกอบพระอิสริยยศ เป็นภาพที่เคยจัดแสดงในงานเอ็กซ์โป ณ กรุงปารีส เมื่อกว่า 100 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งภาพพระอัจฉริยภาพของรัชกาลที่ 4 ในยุคที่ชาติตะวันตกมีการล่าอาณานิคม พระองค์ทรงหาแนวทางแสดงให้ชาติตะวันตกเห็นถึงความศิวิไลซ์ในการฉลองพระองค์ฉายพระรูปในชุดจอมพลฝรั่ง ภาพของรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งทรงพระเยาว์จำนวน 2 ภาพ ภาพสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา ต้นราชสกุลมาลากุล ภาพเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ เจ้านายน้อย และนางกำนัลทาสหญิง ที่ทำให้เห็นถึงชนชั้นวรรณะ ระบบเจ้าขุนมูลนาย และระบบทาสในสมัยนั้น ภาพวิวทิวทัศน์วัดวาอาราม บ้านเมืองริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งพระนครและธนบุรี ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นทั้งขนบธรรมเนียมในวัง รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในยุคนั้น และยังมีภาพสถานที่ต่างๆ ของกัมพูชาและเมืองชายฝั่งของประเทศจีนจากฝีมือของจอห์น ทอมสัน อีกด้วย

36 สยาม ผ่านมุมกล้องจอห์น ทอมสัน ๒๔๐๘–๐๙

เอกรินทร์ เปรี่ยนไทย นักสะสม เจ้าของศิลปวัตถุที่นำจัดแสดง กล่าวว่า เนื่องจากสมัยก่อนจะไม่มีเครื่องราชอิสริยยศ เพิ่งจะมีในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้เพื่อประกอบยศ ฐานะ และตำแหน่ง เช่น ชั้นเจ้านาย ใช้เครื่องอุปโภคที่ทำมาจากทองคำ ทองคำลงยา ทำโดยฝีมือช่างสิบหมู่จะมีความวิจิตรสวยงาม, ชั้นเจ้าพระยา ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ใช้เครื่องอุปโภคเครื่องเงินถมทอง และชั้นที่ลดหลั่นลงมาจะเป็นเครื่องเงิน ในสมัยนั้นของบางชิ้น เช่น เครื่องกระเบื้องกังไส จะสั่งทำในเมืองจีนเพราะเป็นประเทศที่มีผลิตเครื่องกระเบื้องดีที่สุดในโลก ของพวกนี้จึงมีราคา คนที่จะใช้ได้จะต้องมีฐานะ สมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นคนที่จะใช้เครื่องกระเบื้องจากจีนจะมีแต่ในราชสำนักเท่านั้น และในช่วงต้นรัชกาลที่ 4 ถึงปลายรัชกาลที่ 5 ก็เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น ไทยเราเองจึงมีการสั่งเครื่องกระเบื้องเหล่านี้มาใช้ในหมู่คหบดี เจ้าสัวที่มีฐานะ ลักษณะของเครื่องอุปโภคโบราณจึงเป็นสิ่งที่บ่งบอกสถานะทางสังคม รสนิยม และฐานะของผู้ครอบครองของคนไทยในสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับสมัยนี้ที่คนนิยมใช้ของแบรนด์เนมเพื่อบอกสถานะของตน”

นิทรรศการภาพถ่ายโบราณและศิลปวัตถุร่วมสมัย “สยาม ผ่านมุมกล้องจอห์น ทอมสัน พ.ศ.2408-2409 “ ระหว่างวันนี้ ถึง 15 มกราคม 2560 ณ ห้องอาร์ซีบี แกลเลอเรีย ชั้น 2 ศูนย์การค้าริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ค่าเข้าชม 50 บาท สามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมต่างๆ ได้ทางเฟซบุ๊กเพจ River City Bangkok หรือ www.rivercitybangkok.com

15 ภาพมุมกว้างเกาะรัตนโกสินทร์และแม่น้ำเจ้าพระยา

16 สยาม ผ่านมุมกล้องจอห์น ทอมสัน ๒๔๐๘–๐๙

18 สยาม ผ่านมุมกล้องจอห์น ทอมสัน ๒๔๐๘–๐๙

20 สยาม ผ่านมุมกล้องจอห์น ทอมสัน ๒๔๐๘–๐๙

21 สยาม ผ่านมุมกล้องจอห์น ทอมสัน ๒๔๐๘–๐๙

35 ภาพมุมกว้างเกาะรัตนโกสินทร์และแม่น้ำเจ้าพระยา

37 ภาพเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

41 ชุดถ้วยมีฝาปิดกระเบื้องคลือบลายสีลายผักกาด พร้อมถาดไม้ประดับมุก
ชุดถ้วยมีฝาปิดกระเบื้องคลือบลายสีลายผักกาด พร้อมถาดไม้ประดับมุก

45 แสดงภาพพระราชพิธ๊

47 ห้องแสดงภาพนครวัดและกัมพูชา
ห้องแสดงภาพนครวัดและกัมพูชา
50 ตุ๊กตากระเบื้องเคลือบลายสี เหลียงซานป๋อ กับจู้อิงไถ
ตุ๊กตากระเบื้องเคลือบลายสี เหลียงซานป๋อ กับจู้อิงไถ
51 ถ้ำชากระเบื้องเคลือบลายสีลายผู้หญิงและเด็กในสวน
ถ้ำชากระเบื้องเคลือบลายสีลายผู้หญิงและเด็กในสวน
52 ห้องแสดงภาพเมืองชายฝั่งประเทศจีน
ห้องแสดงภาพเมืองชายฝั่งประเทศจีน
53 ห้องแสดงภาพเมืองชายฝั่งประเทศจีน
ห้องแสดงภาพเมืองชายฝั่งประเทศจีน

54 ห้องแสดงภาพเมืองชายฝั่งประเทศจีน

55 พัดเขียนลายสีบนกระดาษสา เขียนลายทองลายขุนนางและเถา ศิลปะจีน
พัดเขียนลายสีบนกระดาษสา เขียนลายทองลายขุนนางและเถา ศิลปะจีน
Credit: Wellcome Library, London. Wellcome Images
Credit: Wellcome Library, London. Wellcome Images
Credit: Wellcome Library, London. Wellcome Images
Credit: Wellcome Library, London. Wellcome Images
Credit: Wellcome Library, London. Wellcome Images
Credit: Wellcome Library, London. Wellcome Images
Credit: Wellcome Library, London. Wellcome Images
Credit: Wellcome Library, London. Wellcome Images
Credit: Wellcome Library, London. Wellcome Images
Credit: Wellcome Library, London. Wellcome Images
Credit: Wellcome Library, London. Wellcome Images
Credit: Wellcome Library, London. Wellcome Images
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image