เปิดพระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ดูเครื่องดนตรีของ ‘ในหลวง ร.9’ ในงานคีตรัตน์บรมราชานุสรณ์

น้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในพระอัจฉริยภาพและพระราชจริยวัตรด้านดนตรี มูลนิธิคีตรัตน์ จึงร่วมกับศูนย์การค้าดิเอ็มควอเทียร์ จัดงาน “คีตรัตน์บรมราชานุสรณ์ ธ สถิตกลางใจราษฎร์นิรันดร์” ซึ่งมี เรืออากาศตรี ศ. (พิเศษ) ดร.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ศิลปินแห่งชาติ, รศ.ดร.ภาธร ศรีกรานนท์ ซึ่งทั้งคู่เป็นหนึ่งในสมาชิกวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ ที่มาเข้าร่วม ณ ควอเทียร์แกลเลอรี่ ชั้นเอ็ม ศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์

ภายในงานได้เปิดเวทีให้ รศ.ภาธร ศรีกรานนท์ ซึ่งเป็นบุตรของเรืออากาศตรี ศ. (พิเศษ) ดร.แมนรัตน์ เล่าถึงเหตุการณ์และความประทับใจครั้งที่ได้ถวายงานด้านดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่อายุ 14 ปี หรือเป็นเวลา 29 ปีแล้ว

รศ.ดร.ภาธรเล่าว่า พระองค์ทรงโปรดที่จะทำให้บทเพลงพระราชนิพนธ์มีความถูกต้อง เพื่อให้นักดนตรีสามารถนำไปเล่นได้อย่างถูกต้องตามหลักดนตรี ทำให้ตนนอกจากเป็นนักดนตรีในสมาชิกในวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์แล้ว ยังเป็นผู้ที่ทรงไว้วางพระทัยให้ช่วยปรับแก้ไขโน้ตและคอร์ดบทเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งหมด ตามที่มีพระราชปรารภจะสังคายนาบทเพลงพระราชนิพนธ์

“พระองค์ทรงถ่อมพระองค์มาก รับสั่งกับผมว่าที่ให้ทุนการศึกษาไปเรียนทางดนตรี ก็เพื่อจะได้รู้ทฤษฎี เพราะทรงไม่ได้เรียนด้านนี้มา ทำให้ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้ผมดูบทเพลงพระราชนิพนธ์ว่า โน้ตและคอร์ดถูกตามหลักดนตรีไหม ซึ่งเท่าที่ดูทุกบทเพลงพระราชนิพนธ์ แม้โน้ตและคอร์ดอาจไม่ได้ถูกทั้งหมด แต่ภาพรวมก็เข้ากันดี”

Advertisement

กว่าจะมาเป็นบทเพลงพระราชนิพนธ์หนึ่งบทเพลงนั้น

รศ.ดร.ภาธรเล่าว่า บทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระองค์จะมีโลกเป็นของตัวเอง มีความซับซ้อน อย่างเวลาจะพระราชนิพนธ์หนึ่งบทเพลง จะทรงนึกถึงว่าจะพระราชนิพนธ์เพื่อใคร ใช้สำเนียงแบบไหน ส่วนดนตรีก็จะทรงจินตนาการขึ้นมาก่อน เมื่อพระราชนิพนธ์แล้ว ก็จะทรงทดลองและเก็บไว้ก่อน อย่างเพลงแสงเทียน ซึ่งเป็นบทเพลงพระราชนิพนธ์แรกของพระองค์ ตั้งแต่ยังดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เพลงนี้ใช้คอร์ดซับซ้อน ทำให้ทรงทดลองและเก็บไว้ ระหว่างนั้นได้พระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์อื่นออกมาก่อน ได้แก่ ยามเย็น สายฝน จนเมื่อเผยแพร่เพลงแสงเทียนแล้ว ก็ทรงปรับแก้คอร์ดมาตลอดถึง 4 ครั้งในรอบ 30 ปี อย่างในรอบสุดท้ายทรงให้การบ้านผมกับคุณพ่อ ไปแยกกันคิดปรับแก้คอร์ดและให้พระองค์ทอดพระเนตรเปรียบเทียบแก้ไข แต่ก็ไม่ยังเสร็จดีเพราะต้องเข้ารับถวายการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชก่อน

ภายในงาน รศ.ดร.ภาธรยังได้นำสำเนาสมุดโน้ตเพลงพระราชนิพนธ์ ที่ทรงมีพระราชวินิจฉัย ในช่วงที่ทรงสังคายนาเพลงพระราชนิพนธ์ พ.ศ.2547-2552 มาจัดแสดง โดย รศ.ดร.ภาธรอธิบายว่า สมุดนี้ได้บันทึกรับสั่งโดยตรงของพระองค์ว่าทรงต้องการอะไร ภายหลังนำคอร์ดที่มีพระวินิจฉัยให้ปรับแก้ไขก่อนหน้านี้ มาทดลองเล่นในวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ ซึ่งตนจดรับสั่งไว้ครบทุกเพลง และได้รวมเล่มเป็นสมุดโน้ตบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่ถูกต้อง เพื่อเก็บไว้เป็นสมบัติของชาติต่อไป

Advertisement

นอกจากนี้ ยังได้จัดแสดงนิทรรศการเครื่องดนตรีพระราชทาน จำนวน 8 ชิ้น ซึ่งมีเรื่องราวน่าสนใจ เช่น เปียโน ซึ่งเป็นเปียโนที่อยู่ในห้องวิทยุ อ.ส.วันศุกร์ ที่พระองค์ทรงเสมอ จนครั้งที่เรืออากาศตรี ศ. (พิเศษ) ดร.แมนรัตน์ ครบรอบวันเกิดปีที่ 72 พระองค์พระราชทานให้, ทรัมเป็ต ซึ่งเป็นทรัมเป็ตที่พระองค์พระราชทานให้ รศ.ดร.ภาธร โดยมีรับสั่งว่า “Benny Carter” ซึ่งเป็นศิลปินไม่กี่คนในโลกที่เล่นได้ทั้งแซกโซโฟนและทรัมเป็ต ส่วนตัวเข้าใจทรงหมายความว่าทรงต้องการให้ตนเล่นได้ทั้งแซกโซโฟนและทรัมเป็ต เหมือนที่พระองค์ก็ทรงเล่นได้เช่นกัน, แซกโซโฟนพลาสติก เป็นแซกโซโฟนประเภทโพลิคาร์บอเนตหนึ่งเดียวในโลก มีน้ำหนักเบาเพียง 300 กรัม จากแซกโซโฟนทั่วไปหนัก 2 กิโลกรัม ทำทูลเกล้าฯถวายในการทรงดนตรีช่วงประทับรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช

 

Jazzophone Trumpet หจก.รีแพร์โมดิฟายด์ฯ ผลิตทรัมเป็ตชิ้นพิเศษให้ ทรงได้โดยไม่ต้องยกพระกรขึ้น ขณะที่ประทับรพ.ศิริราช
Jazzophone Trumpet หจก.รีแพร์โมดิฟายด์ฯ ผลิตทรัมเป็ตชิ้นพิเศษให้ ทรงได้โดยไม่ต้องยกพระกรขึ้น ขณะที่ประทับ รพ.ศิริราช
Vibratosax Limited edition #009 บริษัท ไวเบรโตฯผลิตแซกโซโฟนพลาสติกน้ำหนักเบา เพื่อทรงดนตรีในช่วงประทับรพ.ศิริราช 1
Vibratosax Limited edition #009 บริษัท ไวเบรโตฯผลิตแซกโซโฟนพลาสติกน้ำหนักเบา เพื่อทรงดนตรีในช่วงประทับ รพ.ศิริราช 1
King Alto Saxophone แซฏโซโฟนพระราชทาน อ.แมนรัตน์ เพื่อถวายการสอนพระราชโอรส ในปี1955
King Alto Saxophone แซกโซโฟนพระราชทาน อ.แมนรัตน์ เพื่อถวายการสอนพระราชโอรส ในปี 1955
Piano Uprigth Steinway เป้ยโนพระราชทานในโอกาสครบรอบวันเกิด 72 ปี อ.แมนรัฐ
Piano Uprigth Steinway เปียโนพระราชทานในโอกาสครบรอบวันเกิด 72 ปี อ.แมนรัฐ
Selmer Mark VI Alto Saxophone เครื่องดนตรีพระราชทานแก่รศ.ดร.ภาธร ในปี 1989 เพื่อใช้ในการศึกษาที่สหรัฐ 1
Selmer Mark VI Alto Saxophone เครื่องดนตรีพระราชทานแก่ รศ.ดร.ภาธร ในปี 1989 เพื่อใช้ในการศึกษาที่สหรัฐ
Stainer Baritone Saxophone วงดนตรีอ.ส.วันศุกร์สั่งผลิตพิเศษให้ทรงแซกโซโฟนแบบประทับนั่งได้
Stainer Baritone Saxophone วงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ สั่งผลิตพิเศษให้ทรงแซกโซโฟนแบบประทับนั่งได้
Yamaha Trumpet
Yamaha Trumpet ซึ่งเป็นทรัมเป็ตที่พระองค์พระราชทานให้ รศ.ดร.ภาธร โดยมีรับสั่งว่า “Benny Carter” ซึ่งเป็นศิลปินไม่กี่คนในโลกที่เล่นได้ทั้งแซกโซโฟนและทรัมเป็ต ส่วนตัวเข้าใจทรงหมายความว่าทรงต้องการให้ตนเล่นได้ทั้งแซกโซโฟนและทรัมเป็ต เหมือนที่พระองค์ก็ทรงเล่นได้เช่นกัน

IMG_3701

สำเนาสมุดโน้ตบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่ถูกต้อง
สำเนาสมุดโน้ตบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่ถูกต้อง ในหน้าเพลงมาร์ชราชวัลลภ
รศ.ดร.ภาธร ศรีกรานนท์
รศ.ดร.ภาธร ศรีกรานนท์
เรืออากาศตรี ศ. (พิเศษ) ดร.แมนรัตน์ (นั่งรถเข็น)- รศ.ดร.ภาธร ศรีกรานนท์(ขวา)
เรืออากาศตรี ศ. (พิเศษ) ดร.แมนรัตน์ (นั่งรถเข็น) – รศ.ดร.ภาธร ศรีกรานนท์ (ขวา)

 

สามารถชมเครื่องดนตรีพระราชทาน สำเนาสมุดโน้ตบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่ถูกต้อง และเรื่องราวพระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ในนิทรรศการ “คีตรัตน์บรมราชานุสรณ์ ธ สถิตกลางใจราษฎร์นิรันดร์” จัดแสดงแล้ววันนี้ถึง 11 ธันวาคม 2559 ณ ควอเทียร์แกลเลอรี่ ชั้นเอ็ม ศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image