สัมภาษณ์พิเศษ : รศ.ปณิธาน วัฒนายากร วิเคราะห์สัมพันธ์สหรัฐ-ไทย

หมายเหตุ – รศ.ปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ให้สัมภาษณ์พิเศษ “มติชน” วิเคราะห์การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่อาจส่งผลต่อภูมิภาคเอเชียและประเทศไทย

ผลคะแนนการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ออกมาเป็นแบบนั้น เพราะกลุ่มคนรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับความเป็นธรรม คนผิวขาว ชนชั้นกลางทำงานใช้แรงงานจำนวนมากที่อยู่ในรัฐกลางๆ ของประเทศ การเลือกตั้งในสหรัฐหลายครั้งเขารู้สึกว่าเสียงเขาไม่ได้รับการสะท้อน ปรากฏการณ์ของ “โดนัลด์ ทรัมป์” จึงเกิดจากการประท้วงของคนกลุ่มนี้
อย่างรุนแรง ชัดเจน ได้ปลดความรู้สึกที่เขาไม่ได้รับความยุติธรรม ทำให้คะแนนป๊อปปูลาร์โหวตจำนวน 59.7 ล้านคน ลงให้นางฮิลลารี คลินตัน ผู้สมัครชิงประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต และจำนวน 59.5 ล้านคน ลงคะแนนให้นายโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้สมัครชิงประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน แต่นับจำนวนผู้แทนรัฐที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะจำนวนรัฐและผู้แทนมากกว่า จึงเป็นปรากฏการณ์บอกถึงความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งที่ตัวเลขพื้นฐานดีขึ้นแต่ไม่ได้กระจายไปสู่คน 59.5 ล้านคน

เรื่องนี้หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยเคยผ่านมาก่อน รวมทั้งในวุฒิสภา พรรครีพับลิกันได้เสียงข้างมาก 51 ต่อ 46 ในสภาล่างได้ 239 ต่อ 193 ถือได้ว่าพลังนี้กวาดไปได้ทั้งหมด ทั้งประธานาธิบดี สภา รวมทั้งเรื่องย่อยๆ ที่มีการลงมติในท้องถิ่นหลายเรื่อง เช่น การทำแท้ง การครอบครองอาวุธปืน การประกันสุขภาพ โดยดูแล้ว

คนปฏิเสธแผนนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีที่จะขึ้นภาษี ขณะเดียวกันทวีปยุโรปก็เจอปัญหาเหล่านี้หากรัฐบาลไม่สามารถตอบสนองความรู้สึกคนกลุ่มใหญ่ไม่ได้รับความเป็นธรรม มีความอยุติธรรมแบบแผดเผา

Advertisement

ประชาชนจะรวมกลุ่มมาลงคะแนนแบบไม่เคยเป็นมาก่อนเช่นกัน โดยเฉพาะการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐในครั้งนี้มีการตั้งข้อสังเกตว่า คนผิวขาวที่ใช้แรงงานบางคนที่ไม่เคยมาลงคะแนนเลย ได้ออกมาใช้สิทธิครั้งแรกทั้งที่อายุมากแล้ว คนเหล่านี้อยู่นอกการสำรวจของโพล และอยู่นอกการวิเคราะห์ของสื่อกระแสหลัก คนเหล่านี้ปฏิเสธจะให้ความเห็นเวลาทำโพล เพราะเห็นว่าสื่อกระแสหลักไม่เป็นธรรมกับความต้องการของตนเอง กรณีของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ใช้ประเด็นนี้หาเสียงกับคนจำนวนนี้จนประสบความสำเร็จ ทำให้การทำนายของสื่อกระแสหลักคลาดเคลื่อน และสื่อกระแสหลักกว่า 90% สนับสนุนนางฮิลลารี คลินตัน มีการประกาศชัดเจนไม่สนับสนุนนายโดนัลด์ ทรัมป์

“แต่มีคนที่ทำนายถูก เราเองก็ตามคนที่ทำนายถูกมาตั้งแต่แรก ผมได้รายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในรัฐบาลและไปพูดที่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยล่วงหน้าเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา ว่าโอกาสที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ จะชนะมีสูง และต้องระวังเพราะมีศาสตราจารย์คนหนึ่งที่ทำนายการเลือกตั้งสหรัฐมา 30 ปี ทั้งหมด 8 ครั้ง ไม่เคยผิด อยู่ที่มหาวิทยาลัยอเมริกันยูนิเวอร์ซิตี้ ใช้รูปแบบโมเดลตัวแปร 13 ตัว เรียกว่า the fix ซึ่งตัวแปรดังกล่าวไม่เกี่ยวกับทัศนคติของคน เช่น นายโดนัลด์ ทรัมป์ ไม่สนใจโพล แต่สนใจเรตติ้งว่าคนสนใจเขา คนพูดถึงเขา คนติดใจประเด็นเขา และคนเกลียดเขาแค่ไหน

อาทิ 1.คนสหรัฐ หากประธานาธิบดีจากพรรคใดพรรคหนึ่งเป็นมาแล้ว 8 ปี 2 สมัย ไม่สามารถเป็นต่อได้ คนส่วนใหญ่จะเลือกอีกพรรคหนึ่งแทน มีแค่สมัยของโรนัลด์ เรแกน ที่เป็นมาแล้ว 8 ปี เมื่อมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกครั้ง โดยพื้นฐานเมื่อครบ 8 ปี คนสหรัฐจะเลือกสลับไปอีกพรรค 2.ถ้าพรรคนั้นอยู่ 8 ปีแล้วไม่มีผลงานทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นโอกาสจะอยู่ต่อนั้นยากมาก 3.การเมืองระหว่างประเทศไม่ประสบความสำเร็จ สหรัฐถดถอยดูย่ำแย่ ต่อรองมหาอำนาจอื่นอย่างรัสเซียและจีนไม่ได้ คนก็ไม่เลือก 4.การทหารล้มเหลว เช่น กรณีการต่อสู้ไอเอส

คนก็ไม่เลือก 5.บารมีนายโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างกระแสได้มากกว่านโยบายแคมเปญหาเสียงง่าย ฯลฯ

– วิเคราะห์นโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์

ตอนที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะเลือกตั้ง นโยบายยังไม่ตกผลึกทั้งหมด เพราะการหาเสียงอยู่บนพื้นฐานของอารมณ์ความรู้สึก สหรัฐจะต้องกลับมายิ่งใหญ่ที่จะจัดการพันธมิตรที่เอาเปรียบสหรัฐ ที่ให้สหรัฐไปดูแลความมั่นคงมากเกินไป จัดการข้อตกลงที่ทำให้การค้าสหรัฐเสียเปรียบ จัดการบริษัทใหญ่ๆ ที่เอาเงินไปลงทุนต่างประเทศ เอางานกลับเข้ามา จัดการคนต่างด้าวที่เข้ามาแย่งคนสหรัฐทำงานในประเทศ และจะลดขนาดกองทัพโดยเฉพาะในเอเชีย ขณะนี้ทั้งหมดยังไม่ชัดเจน โดยตอนนี้หากมองรายชื่อคณะรัฐมนตรีของนายโดนัลด์ ทรัมป์ จะใช้คนที่มาจากภาคเอกชน

นักธุiกิจที่คุ้นเคย ซึ่งแตกต่างจากนายบารัค โอบามา ที่จะเลือกข้าราชการ โดยเฉพาะนายโดนัลด์ ทรัมป์ ใช้นโยบายคนละขั้วกับพรรคเดโมแครต และดึงรัสเซียเข้ามาเป็นมิตร

แต่ไทยเองก็ไม่ลำบากอะไรเท่าหลายประเทศที่เลือกข้างไปอยู่กับจีนหรือสหรัฐ เพราะไทยไม่ได้เลือกข้าง ไทยมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดทั้งสองประเทศ รัฐบาลปัจจุบันได้ปรับบทบาทให้เหมาะสมขึ้นในยุคที่สหรัฐมีอิทธิพลเสื่อมคลายลง แต่ไม่ถึงขั้นตัดความสัมพันธ์ แต่ไทยก็สนิทกับสหรัฐเพิ่มมากขึ้นในเรื่องการปราบปรามการค้ามนุษย์ การปราบปรามการก่อการร้าย ไทยเป็นพื้นที่ที่สหรัฐใช้ในการปฏิบัติการหลายอย่างในการดูแลภูมิภาค

นอกจากนี้ สุนทรพจน์ของนางซาแมนธา พาวเวอร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่พูดถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่สหประชาชาติ (ยูเอ็น) เป็นหนึ่งในผลงานคณะทำงานทั้งไทยและสหรัฐที่ได้ให้ข้อมูล เตรียมข้อมูล สะท้อนความรู้สึกของคนไทย

ไปให้ทูตสหรัฐที่ยูเอ็น ทำให้เรามีพื้นที่ทำงานคู่กับสหรัฐกับจีน ไม่ลำบากเหมือนอีกหลายประเทศ วันนี้หลายประเทศพยายามปรับตัวแบบไทย เช่น มาเลเซีย เวียดนาม เห็นได้ชัดเจน โดยสรุปเชื่อว่าไทยไม่น่าจะมีปัญหาอะไร และพร้อมเดินหน้าทำงานในช่วงมีการเปลี่ยนผ่านในการเมืองไทยในปีนี้ ปีหน้าอีกหลายอย่าง รวมถึงโรดแมป พระราชพิธี เศรษฐกิจ เรื่องการเมืองการเลือกตั้งจะควบคู่กันไป

– นายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐ มีข้อดีข้อเสียอย่างไรต่อไทย

ประเด็นที่ 1.ผลดีคือการเปิดโอกาสใหม่ๆ ในการทำงานร่วมกัน จากพรรคเดโมแครตที่อยู่มา 8 ปีแล้วเปลี่ยนเป็นพรรครีพับลิกัน ในอดีตไทยมีหลายรัฐบาลที่ทำงานร่วมกับพรรครีพับลิกัน 2.โอกาสใหม่ๆ ที่เกิดจากการลดเงื่อนไขสิทธิมนุษยชน การลดบทบาทลงทำให้เกิดช่องว่าง สามาถไปเติมช่องว่างตรงนั้นได้ ถ้าไทยวางตัววางยุทธศาสตร์ได้ถูก แต่ความท้าทายหรือข้อควรระวังในด้านเศรษฐกิจ 3.1 หากมีการกดดันให้บริษัทต่างชาติกลับไปลงทุนในสหรัฐ 3.2 มีการทำเรื่องกำแพงภาษี ควบคุมราคาสินค้าราคาถูก ไทยจะเกิดปัญหาบ้าง 3.3 ภาพรวมใหญ่ หากสหรัฐลดบทบาทกำลังรบในภูมิภาคเอเชียในทะเลจีนใต้ไม่ดี อาจทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลหรือไม่ การขยายบทบาทของจีนทำให้เกิดข้อขัดแย้งกับประเทศอื่น หลายประเทศในอาเซียนจะเกิดปัญหาถึงแม้ไทยจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ในภาพรวมก็กระทบอยู่ดี เรื่องเหล่านี้เป็นข้อจำกัดที่ท้าทาย มีความเสี่ยง

แต่ในภาพรวมเอเชียอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าหลายภูมิภาค ในตะวันออกกลางยังหาคำตอบไม่ได้ นายโดนัลด์ ทรัมป์ หรือนายบารัค โอบามา ยังมีปัญหาอยู่เยอะกับกลุ่มไอเอส ในยุโรปมีวิกฤตแล้วสหรัฐต้องเข้าไปจัดการซึ่งยังดูไม่ออกว่าจะทำอย่างไร ในเรื่องการออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (เบร็กซิท) ในแอฟริกายังวิกฤตเหมือนเดิมละตินอเมริกายังห่างเหินกับสหรัฐ ยิ่งมีนโยบายกีดกันคนเชื้อสายละตินอเมริกา เชื้อสายเม็กซิโก ความสัมพันธ์คงจะลุ่มๆ ดอนๆ พอสมควร หากเปรียบเทียบแล้ว ผมว่ากับเอเชียมีความได้เปรียบ

– ในแง่ความสัมพันธ์ทางทหารกับสหรัฐ เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลจะส่งผลอย่างไรหรือไม่ เนื่องจากในช่วงหลังไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีนเป็นพิเศษ

ไม่น่ามีผลอะไร เพราะไทยไม่ได้ไปสุดตัว พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์หลังประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ว่า 1.ต้องรอให้คณะรัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐเข้ารับตำแหน่ง ประกาศนโยบายอย่างเป็นทางการอีกครั้ง เพราะการหาเสียงของสหรัฐเป็นเรื่องภายในประเทศที่เขาหาเสียงกับประชาชนของเขา เพื่อจะเอาชนะกันทางการเมือง ส่วนนโยบายจริงๆ คงต้องรอ ขณะนี้เริ่มเห็นตัวบุคคลบ้างแล้วว่าใครจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 2.พล.อ.ประวิตรเชื่อว่าไทยจะไม่ได้รับผลกระทบเพราะเราสามารถทำงานร่วมกันได้ นี่คือสองข้อที่เป็นความเห็นจากฝ่ายบริหารของไทย

แต่ในแง่วิชาการ มีการตั้งข้อสังเกตว่าไทยขยับไปใกล้ชิดประเทศนั้นประเทศนี้ แต่คงไม่ใช่ เพราะนโยบายของไทยคือรักษาสมดุล รักษาระยะห่างให้พอดี ดำเนินทางสายกลาง แต่ในอดีตที่ผ่านมาไทยไปใกล้ชิดกับสหรัฐมาก พึ่งพาทางการทหาร การค้า ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งในอดีต ตอนหลังเมื่อจีนขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่ง ไทยต้องปรับไปสู่จีนบ้าง เพื่อปรับโครงสร้างให้เหมาะสมเท่านั้น แต่ในด้านความมั่นคงทางทหาร การซ้อมรบร่วมสหรัฐรหัสคอบร้าโกลด์ยังเป็นเรื่องที่ใหญ่ที่สุด และน่าจะมีความร่วมมือทางทหารเรื่องอื่นเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นเชื่อว่าหากเป็นมืออาชีพจริงๆ ที่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงก็ไม่น่ามีปัญหา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image