14 ประติมากรรม ประดับตกแต่งพระเมรุมาศ ‘ร.9’

หมายเหตุ – รูปปั้นประติมากรรมที่ตีพิมพ์ในครั้งนี้ เป็นรูปปั้นสเกตช์ หรือกำลังอยู่ในช่วงออกแบบ ยังไม่ใช่ประติมากรรมของจริงแต่อย่างใด

ในการดำเนินการออกแบบพระเมรุมาศและอาคารประกอบในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้ยึดแนวคิดในการออกแบบคือ

1.ออกแบบและจัดสร้างพระเมรุมาศอย่างสมพระเกียรติ เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

2.ศึกษาและออกแบบตามโบราณราชประเพณีการสร้างพระเมรุมาศของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

Advertisement

3.ศึกษาและออกแบบโดยใช้แนวคิดคติไตรภูมิตามคัมภีร์พุทธศาสนา และคติความเชื่อเรื่องพระมหากษัตริย์ในสถานะเสมือนสมมุติเทพ ตามระบอบเทวนิยม

โดยมี “พระเมรุมาศ” เป็นประธานในพื้นที่ ซึ่งเปรียบได้กับ “เขาพระสุเมรุ” อันเป็นศูนย์กลางของจักรวาล การออกแบบภูมิทัศน์มีการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวเนื่องกับพระราชกรณียกิจและโครงการในพระราชดำริต่างๆ นำมาเป็นข้อมูลในการออกแบบสร้างสรรค์ในแต่ละส่วนพื้นที่รอบมณฑลพิธี

ซึ่งหนึ่งในส่วนประกอบที่ทำให้พระเมรุมาศมีความสมบูรณ์ คือ งานจัดสร้างประติมากรรมปั้นลวดลายและหล่อส่วนประกอบประดับตกแต่งพระเมรุมาศ

นายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร นายช่างศิลปกรรมอาวุโส กลุ่มงานศิลปประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กล่าวถึงความสำคัญของการจัดสร้างประติมากรรมปั้นลวดลายและหล่อส่วนประกอบประดับตกแต่งพระเมรุมาศว่า ประติมากรรมเหล่านี้เป็นส่วนประกอบซึ่งแสดงความเป็นทิพยสถานที่เป็นสิ่งที่ไปยากลำบากยิ่ง เพราะเป็นสวรรค์ ซึ่งได้ออกแบบโดยใช้แนวคิดตามคติความเชื่อเรื่องพระมหากษัตริย์เปรียบเสมือนสมมุติเทพอวตารลงมาจากสวรรค์เพื่อมาปราบยุคเข็ญ

“เราเปรียบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เป็นพระนารายณ์อวตารมาปราบยุคเข็ญ มาปราบความยากจน ทำให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข เมื่อพระองค์สวรรคต ก็ทรงกลับคืนสู่ทิพยสถานของพระองค์เช่นเดิม การส่งเสด็จกลับสู่สวรรคาลัยต้องทำให้สมพระเกียรติ คือ เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเทพเจ้าที่ได้แบ่งภาคลงมา อวตารลงมา สิ่งต่างๆ ในพระเมรุมาศจึงต้องจัดทำให้สมพระเกียรติ แสดงให้เห็นถึงความเป็นสวรรค์ จักรวาล มีเขาสัตบริภัณฑ์ รวมทั้งมีสัตว์ป่าหิมพานต์ มหาเทพ และเทพยดาต่างๆ” นายสมชายกล่าว
งานจัดสร้างประติมากรรมปั้นลวดลายและหล่อส่วนประกอบประดับตกแต่งพระเมรุมาศ ประกอบด้วย

1.ประติมากรรมนูนต่ำพระโพธิสัตว์

2.เทพพนม ประดับรอบท้องไม้พระเมรุมาศองค์ประธาน

3.ครุฑยุดนาค ประดับรอบท้องไม้พระเมรุมาศองค์ประธาน

4.เทวดายืนรอบพระเมรุมาศ โดยเป็นเทวดาถือพุ่มโลหะและเทวดาเชิญฉัตร

5.เทวดานั่งรอบพระเมรุ โดยเป็นเทวดาเชิญฉัตรและบังแทรก

6.เทพชุมนุมรอบฐานท้องไม้พระเมรุมาศชั้นล่าง

7.มหาเทพ ประกอบด้วยพระศิวะ พระนารายณ์ พระอินทร์ พระพรหม

8.ครุฑยืนรอบพระเมรุมาศ

9.ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ประกอบด้วยท้าวกุเวร ท้าวธตรฐ ท้าววิรูปักษ์ และท้าววิรุฬหก

10.ราวบันไดนาค 1 เศียร (ชั้นที่ 1) นาค 3 เศียร (ชั้นที่ 2) และนาค 3 เศียร (ชั้นที่ 3 และ 4)

11.คชสีห์-ราชสีห์ ประทับบันได (ชั้นที่ 2)

12.สัตว์มงคลประจำทิศ ประกอบด้วยช้าง ม้า วัว สิงห์ ประดับทางขึ้นบันได (ชั้นที่ 1)

13.สัตว์หิมพานต์ ช้าง 10 ตระกูล สิงห์ 4 ตระกูล ม้า และวัว

14.ครุฑประดับหัวเสา

ประติมากรรมพระเมรุ
ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

IMG_7858

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ

ประติมากรรมพระเมรุ
นายสมชายอธิบายเพิ่มเติมว่า ประติมากรรมเหล่านี้สร้างตามคติความเชื่อโลกและจักรวาล มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยเขาสัตบริภัณฑ์ โดยสัตว์ป่าหิมพานต์อยู่ชั้นแรกของพระเมรุมาศ ขณะที่ทางขึ้นบันไดพระเมรุมาศจะมีสัตว์มงคลประจำทิศ ได้แก่ ช้าง ม้า วัว สิงห์ ทิศละ 1 คู่ รวมทั้งหมด 4 ทิศ นอกจากนี้จะมีสระอโนดาต ส่วนราวบันไดนาคมีทั้งหมด 4 ชั้น โดยชั้นที่ 1 นาคมีหนึ่งเศียร, ชั้นที่ 2 นาคมีสามเศียร, พอขึ้นมาชั้นที่ 3 นาคมีเศียรทรงเครื่องสวมยอดมงกุฎ และชั้นที่ 4 นาคมีสามเศียร แต่เป็นนาคจำแลงเป็นมนุษย์ มีใบหน้าเหมือนคน แต่ตัวเป็นนาค

“มหาเทพทั้ง 4 จะประดับข้างบันไดนาค และเมื่อได้ยึดพระบรมศพเป็นพระนารายณ์ ซึ่งมีอีกพระนามว่า พระวิษณุ ที่มีพาหนะเป็น พญาครุฑ ตามหัวเสาต่างๆ รอบพระเมรุมาศจึงเปลี่ยนจากเสาหงส์เป็นเสาครุฑ”

ลักษณะของประติมากรรมในงานพระเมรุมาศครั้งนี้มีความพิเศษหลายอย่าง โดยเฉพาะเทวดาหรือเหล่าทวยเทพต่างๆ จะมีการปั้นในลักษณะที่เหมือน “คน”

“เดิมเราจะปั้นเทวดาแบบไทย ทรงเครื่อง มีหน้าตาแบบหัวโขน แต่เมื่อมาผนวกเข้ากับฉากบังเพลิง ที่จะเขียนเรื่องราวโครงการพระราชดำริ ซึ่งจะมีรูปคนที่เป็นแบบเหมือนจริง จึงสรุปกันว่า รูปแบบศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นเทวดาหรืออะไรก็ตาม ก็จะเป็นแบบค่อนข้างเหมือนจริง โดยนำแนวคิดของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ หรือ ‘สมเด็จครู’ นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม มาใช้ในการออกแบบดีไซน์เทวดา มหาเทพ ท้าวจตุโลกบาล ให้มีลักษณะเหมือนคน มีกล้ามเนื้อ ต่างจากงานออกพระเมรุของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่มีรูปแบบค่อนข้างโบราณ”

นับได้ว่า ศิลปะงานพระเมรุมาศครั้งนี้เป็นการรังสรรค์ศิลปะสมัย รัชกาลที่ 9

“ครั้งนี้ เราได้แนวคิดจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้สร้างพระเมรุมาศให้เป็นแบบศิลปะสมัยรัชกาลที่ 9 เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์เป็นลักษณะเฉพาะ”

นายสมชายกล่าว และว่า สำหรับการลงสีจะทำเป็นสีกลางๆ ให้เหมือนรูปปั้น จะไม่ระบายโฉ่งฉ่างให้เหมือนครั้งที่แล้วๆ มา แต่จะใช้สีของโลหะ เน้นสีเรียบง่าย สีทอง เงิน นาค โดยอาจมีชมพู เขียว น้ำเงิน แซม เพื่อให้เข้ากับพระองค์ที่ทรงเรียบง่าย

“โทนสีของพระเมรุมาศครั้งนี้โดยรวมเป็นสีทอง”

อีกหนึ่งความพิเศษ นายสมชายบอกว่า จะมีประติมากรรมรูป “คุณทองแดง” สุนัขทรงเลี้ยงประจำรัชกาลตั้งอยู่บริเวณฐานพระจิตกาธาน หรือแท่นที่เผาพระบรมศพ ทั้ง 4 มุมด้วย

“การสร้างพระเมรุมาศครั้งนี้ โดยรวมเป็นศิลปะยุคสมัยรัชกาลที่ 9 เพียงแต่รูปแบบการจัดสร้างเป็นการนำเอารูปแบบโบราณมาจัดสร้าง ยึดตามแนวความคิดเดิม แต่วิธีการทำใช้วิธีสมัยใหม่ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับสั่งว่า ทำอะไรก็ได้ที่สมัยนี้มีเทคโนโลยี เราสมัยนี้แล้วก็ควรจะทำอะไรให้เหมาะสมกับยุคสมัย” นายสมชายกล่าว

การจัดสร้างประติมากรรมจัดทำโดยกลุ่มประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทอง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง

สมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร
สมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร

นายภราดร เชิดชู ประติมากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่ หนึ่งในผู้ที่ร่วมรังสรรค์งานครั้งนี้ เผยว่า การทำงานครั้งนี้ได้ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านมาเป็นที่ปรึกษา อาทิ อ.อนันต์ สวัสดิสวนีย์ อดีต ผอ.ช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร นอกจากนี้ ยังได้ช่างฝีมือที่หลายคนมีประสบการณ์การปั้นเมื่อครั้งงานสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 7, สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี มาร่วมงานด้วย

“ประติมากรทุกคนมีความตั้งใจทำงานนี้อย่างมาก ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยจะทำให้ดีที่สุด” นายภราดรกล่าว

ภราดร เชิดชู
ภราดร เชิดชู
ภราดร เชิดชู
ภราดร เชิดชู
ภราดร เชิดชู
ภราดร เชิดชู
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image