เลอค่า ! สำนักศิลปากรเชียงใหม่เผยภาพชุด “สร้างอุโมงค์ขุนตาล” กว่า 100 ปีก่อน

จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ฉาย ณ ปากอุโมงค์ขุนดาลด้านทิศเหนือ ในเขตจังหวัดลำพูน เมื่อครั้งเสด็จฯ พ.ศ.2459

เมื่อวันที่ 8 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก “กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่” เผยแพร่ข้อมูลและภาพชุดการก่อสร้างอุโมงค์ขุนตาล ซึ่งเป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านยาวที่สุดในประเทศไทย เริ่มดำเนินสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2450 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2461 ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 11 ปี ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งสิ้นจำนวน 1,362,050 บาท โดยมีนายช่างชาวเยอรมัน มร. อี. ไฮเซนโฮเฟอร์ เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงาน อุโมงค์มีขนาดกว้าง 5.20 เมตร สูง 5.40 เมตร และยาว 1,350.10 เมตร เป็นอุโมงคอนกรีตเสริมเหล็กตลอดแนว อุโมงค์แห่งนี้ถือเป็นความก้าวหน้าด้านวิศวกรรมก่อสร้างทางรถไฟครั้งสำคัญของไทย

ขุนตาล01
นายพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ ขณะดูการทำงานที่โรงเครื่องจักรอัดลมขุดเจาะอุโมงค์ และโรงทำเกวียนขนดิน ที่ปากทางด้านทิศใต้ของอุโมงค์ขุนตาล
ปากอุโมงค์ขุนตานด้านทิศเหนือ เจ้าพระยาวงศานุพันธ์ (มรว.สะท้าน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ตําแหน่ง เสนาบดี กระทรวงคมนาคม พร้อมคณะตรวจการขุดอุโมงค์ เมื่อ พ.ศ. 2454
ปากอุโมงค์ขุนตานด้านทิศเหนือ เจ้าพระยาวงศานุพันธ์ (มรว.สะท้าน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ตําแหน่ง เสนาบดี
กระทรวงคมนาคม พร้อมคณะตรวจการขุดอุโมงค์ เมื่อ พ.ศ. 2454

ขุนตาล04

ขุนตาล05

จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ฉาย ณ ปากอุโมงค์ขุนดาลด้านทิศเหนือ ในเขตจังหวัดลำพูน เมื่อครั้งเสด็จฯ พ.ศ.2459
จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ฉาย ณ ปากอุโมงค์ขุนดาลด้านทิศเหนือ ในเขตจังหวัดลำพูน เมื่อครั้งเสด็จฯ พ.ศ.2459
โรงงานทำพาหนะสำหรับบรรทุกดินในงานขุดเจาะอุโมงค์ขุนตาล
โรงงานทำพาหนะสำหรับบรรทุกดินในงานขุดเจาะอุโมงค์ขุนตาล
ปากอุโมงค์ขุนตาลทางด้านทิศใต้ ปี พ.ศ.2459
ปากอุโมงค์ขุนตาลทางด้านทิศใต้ ปี พ.ศ.2459

ขุนตาล09

Advertisement

ติดตามเฟซบุ๊กกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ คลิกที่นี่

 

 

Advertisement

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image