สุจิตต์ วงษ์เทศ : อักษรไทย ไม่มีใครประดิษฐ์? ถ้าถกเถียงกันได้ จะส่ง PISA ดีขึ้น

สุจิตต์ วงษ์เทศ

สื่อไทยในอนาคต ต่อให้เหลือแค่สื่อกระจก ในโลกออนไลน์ (ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นอย่างนั้นจริง) ถึงยังไงก็หนีไม่พ้นอักษรไทยและอักขรวิธีไทย

จึงไม่ควรปิดกั้นแล้วกล่าวหาลอยๆ เหมือนหลายปีมาแล้ว เกี่ยวกับการทักท้วงถกเถียงเรื่องประวัติความเป็นมาของทั้งสองอย่างนั้น ใครไม่เชื่อตามกระแสหลัก จะถูกสื่อโจมตีไม่รักชาติ แล้วอาจลากไปถึง ม.112

“อักษรไทย คืออักษรเขมรหรือมอญที่ถูกทำให้ง่ายขึ้น (Simplified) เท่านั้น

แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นก็คืออักขรวิธี นับเป็นอักขรวิธีที่ง่ายที่สุดในบรรดาตัวอักษรที่ใช้กันอยู่ในอุษาคเนย์ภาคพื้นทวีปทั้งในช่วงนั้นและสืบมาจนทุกวันนี้

Advertisement

และตรงอักขรวิธีนี่แหละที่ทำให้ผมไม่เชื่อว่ามีบุคคลคนใดคนหนึ่ง ‘ประดิษฐ์’ ขึ้นได้ ต้องอาศัยความคุ้นชินของคนอื่นที่อ่านหนังสือออกเป็นฐาน”

นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนบอกเรื่องอักษรไทยและอักขรวิธีไทยในหนังสือ ความไม่ไทยของคนไทย (สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก 2559)

การศึกษาไทยไม่อนุญาตให้นักเรียนและครูใช้ระบบคิดด้วยเหตุและผล ทักท้วงถกเถียงเรื่องความเป็นมาของอักษรไทยและอักขรวิธีไทย เพราะคำตอบมีทางเดียวเท่านั้นของทางการ สื่อไทยก็ถูกหล่อหลอมกล่อมเกลามาอย่างเดียวกัน

Advertisement

ใครไม่ตอบตามนั้นก็สอบไม่ผ่าน ถ้าใครไม่เชื่อตามนั้นจะถูกสื่อรุมประณามว่าไม่รักชาติ และอาจเข้าข่าย ม.112

ประวัติศาสตร์ คืออนาคต ถ้าเปิดกว้างให้นักเรียนและครูตลอดจนคนทั่วไปใช้ระบบคิดด้วยเหตุผล ทักท้วงถกเถียงประวัติศาสตร์ไทย ไม่ว่าเกี่ยวข้องกับสงคราม หรือสังคม โอกาสก็มีมากที่คะแนน PISA จะสูงขึ้น แล้วดีขึ้นกว่าเดิม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image