เตือนพ่อแม่! อย่าตามใจลูกจ้อง’สารพัดจอ’ ก่อน’สายตาสั้นเทียม’จะมาเยือน

ปัจจุบัน เด็กไทยมีปัญหาด้าน “สายตา” ที่น่าเป็นห่วงมากขึ้น ห้างแว่นท็อปเจริญ ร่วมกับ มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย สานต่อ “โครงการแว่นตาเพื่อน้อง” ปี 4 สนองพระราชประสงค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประธานกรรมการอำนวยการมูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย ส่งต่อความช่วยเหลือให้แก่เยาวชนที่มีปัญหาด้านสายตาในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศ ให้มีสุขภาพตาที่ดีขึ้น สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติและได้รับการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์ กรรมการผู้จัดการห้างแว่นท็อปเจริญ กล่าวว่า นับตั้งแต่ริเริ่มโครงการในปี พ.ศ.2557 โครงการได้ออกหน่วยบริการตรวจสุขภาพดวงตา ตรวจวัดสายตาและประกอบแว่นใหม่ ด้วยอุปกรณ์และเครื่องมืออันทันสมัยโดยผู้เชี่ยวชาญและชำนาญการ เพื่อมอบแว่นสายตาให้แก่เยาวชนเป็นประจำ เดือนละ 1 ครั้ง โดยมีจำนวนเยาวชนที่เข้ารับบริการเฉลี่ยครั้งละ 500 คนขึ้นไป ซึ่งในขณะนี้ ได้ตรวจสุขภาพตาเด็กแล้ว 15,000 ราย โดยภายในปี พ.ศ.2566 ตั้งว่าเป้าว่าจะตรวจสุขภาพตาเด็ก เพิ่มเป็น 35,000 ราย

จากการลงพื้นที่ตรวจสุขภาพตาเด็ก ทำให้พบว่าเด็กไทยมีปัญหาสายตาอยู่ไม่น้อย และยิ่งน่าเป็นห่วงมากเข้าไปอีกกับสังคมโลกดิจิทัลที่มี “สารพัดจอ” ให้เด็กๆ ได้เปิดดู ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต

นพ.นพศักดิ์กล่าวว่า ปัญหาทางด้านสายตาที่พบมากที่สุดในเด็กไทยที่มีอายุระหว่าง 5-18 ปี คือ ปัญหาสายตาสั้นเทียม โรคตาขี้เกียจ และโรคตาเข/ตาเหล่

Advertisement

“ปัญหาสายตาสั้นเทียมมักพบบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ในยุคปัจจุบัน เนื่องจากในยุคนี้เราใช้การมองระยะใกล้กันมากขึ้น โดยเฉพาะอุปกรณ์มือถือ ทั้งจอเล็กและจ้องดูใกล้ ที่สำคัญเพ่งจ้องดูกันเป็นเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน ไม่ละสายตา รวมถึงจ้องดูในบริเวณที่มีแสงน้อยๆ ดังนั้น ดวงตาจึงต้องใช้กล้ามเนื้อเพ่ง ต้องทำงานเกร็งตลอดเวลา ทำให้ไม่คลายตัว”

อีกปัญหาเรื่องโรคตาขี้เกียจ!!

นพ.นพศักดิ์เผยว่า มักพบในเด็กเล็กช่วงวัยเตรียมเข้าโรงเรียน โดยคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้จากพฤติกรรมการจ้องมองสิ่งของรอบตัวของเด็ก อาจลองปิดตาเด็กที่ละข้างแล้วตรวจดูว่าการมองเห็นใกล้เคียงกันไหม ถ้าพบลักษณะผิดปกติดังกล่าวอาจต้องพาลูกไปพบจักษุแพทย์

Advertisement

“โรคตาขี้เกียจนี้มีผลทำให้ การพัฒนาซีกสมองส่วนการมองเห็นไม่สมบูรณ์ เนื่องจากมองเห็นภาพข้างนั้นไม่ชัดเจน นานวันสมองซีกนั้นจะหยุดการพัฒนาการมองเห็น และเป็นผลทำให้ความสามารถในการมองเห็นสิ้นสุดลงจนอาจเป็นตาเขในระยะยาว”

สุดท้าย คือ โรคตาเข/ตาเหล่

นพ.นพศักดิ์บอกว่า เป็นอาการของการรวมภาพของดวงตาทั้งสองข้างไม่ดี โดยมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ ปัญหาสายตา อุบัติเหตุที่ตาหรือโรคทางสมอง รวมทั้งพฤติกรรมของตัวเด็กเอง อาทิ การชอบนอนอ่านหนังสือ เป็นต้น ซึ่งเป็นผลทำให้เด็กกลุ่มนี้กะระยะได้ไม่ดี และเมื่อเติบโตขึ้นอาจมีปัญหาเรื่องการเข้าสังคม ไม่มั่นใจและมักขี้อาย

“ขอฝากถึงเยาวชนไทยทุกคนให้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้สายตาอย่างเหมาะสม ถึงแม้ว่าโลกในยุคปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไปมาก มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยให้การเรียนรู้เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น แต่การใช้สายตาจับจ้องมากเกินไปก็อาจจะเกิดโทษได้” นายแพทย์นพศักดิ์กล่าว

 

Top Charoen(Children Project)_31

นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์
นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image