คอลัมน์ ฟิสิกส์ธรรมดาสาระมันส์: ดาราศาสตร์ท้องฟ้าเบื้องต้น

ท้องฟ้ายามค่ำคืนที่แจ่มใสนั้นเต็มไปด้วยดวงดาว

นับตั้งแต่หลายพันปีก่อนจนถึงวันนี้ รูปแบบของดวงดาวบนท้องฟ้าแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลย กล่าวได้ว่าท้องฟ้ายามค่ำคืนนั้นเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อเรากับบรรพบุรุษของเราโดยตรง และเชื่อมต่อเรากับลูกหลานของเราในอนาคตเพราะพ่อค้าที่ต้องล่องเรือไปตามชายฝั่งของเปอร์เซียจนถึงระบบนำร่องของเครื่องบินสมัยใหม่ ล้วนต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับท้องฟ้าและดวงดาว

การศึกษาท้องฟ้าตอนกลางคืนจึงบอกให้เรารู้ถึงความคิดอ่านของคนสมัยก่อน รวมทั้งทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเราอีกหลายเรื่อง

(ภาพ 1)

Advertisement

1 (2)

ทุกคนบนโลกสังเกตเห็นท้องฟ้าปรากฏเป็นครึ่งทรงกลม อีกครึ่งถูกแผ่นดินของโลกบังไว้ แต่ถ้าเรานั่งยานอวกาศออกจากโลกไปไกลมากๆ เราจะเห็นทรงกลมของดวงดาวรอบด้านทุกทิศทาง

อย่างไรก็ตาม ดาวฤกษ์แต่ละดวงอยู่ห่างจากโลกของเราไม่เท่ากันอย่างที่ปรากฏบนท้องฟ้า ดาวฤกษ์ที่ใกล้เราที่สุดห่างจากโลกเรา 4.25 ปีแสง แต่ดวงอื่นๆ อาจอยู่ห่างกว่านั้นนับร้อยนับพันเท่า แต่สายตาของเราไม่สามารถแยกแยะระยะห่างได้เพราะดาวฤกษ์ทุกดวงล้วนห่างจากโลกมากจนปรากฏเล็กเป็นจุด นอกจากนี้เรายังไม่มีวัตถุไว้เทียบระยะห่างเหมือนบนโลกด้วย

Advertisement

คนโบราณสังเกตเห็นดาวฤกษ์บนท้องฟ้าเรียงเป็นรูปร่างต่างๆ กัน บางกลุ่มก็แตกต่างกันไปตามแต่ละวัฒนธรรม ปัจจุบัน สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU-International Astronomical Union) แบ่งพื้นที่บนท้องฟ้าออกเป็น 88 กลุ่มดาว ชื่อของกลุ่มดาวส่วนมากมีที่มาจากยุคกรีกและโรมัน รวมทั้งวัฒนธรรมโลกอิสลามในตะวันออกกลาง

(ภาพ 2) 2

หากเรามองไปยังท้องฟ้าตอนกลางคืน ผ่านไปแค่ 15 นาทีก็สามารถสังเกตเห็นกลุ่มดาวเหล่านี้มีการเคลื่อนที่แล้ว แต่กลุ่มดาวเหล่านี้จะรักษารูปแบบของมันไว้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย กล่าวคือเราจะสังเกตเห็นว่าในหนึ่งคืนกลุ่มดาวนายพรานจะเปลี่ยนตำแหน่งบนท้องฟ้าไปเรื่อยๆ แต่ไม่ว่าจะอยู่ตำแหน่งไหน มันก็ยังมีรูปแบบเป็นกลุ่มดาวนายพรานอยู่

แต่วัตถุในระบบสุริยะ ได้แก่ ดาวเคราะห์,ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ จะเคลื่อนที่เปลี่ยนตำแหน่งไปตามกลุ่มดาวเหล่านี้อีกที แต่เราต้องรอให้เวลาผ่านไปหลายๆ วันจึงจะสังเกตเห็นชัดเจน

3

นักดาราศาสตร์จึง มองว่าดาวฤกษ์ทุกดวง,ดาวเคราะห์,ดวงอาทิตย์,ดวงจันทร์ รวมทั้งวัตถุท้องฟ้าอื่นๆ ในตอนกลางคืนกระจายอยู่บนโดมทรงกลมขนาดใหญ่ที่เรียกว่า ทรงกลมท้องฟ้า (celestial sphere) โดยโลกอยู่ที่จุดศูนย์กลาง

ในแต่ละวัน เราจะเห็นว่าดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ล้วนขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก เหมือนกับว่าทรงกลมท้องฟ้าที่ครอบโลกเราไว้หมุนไปรอบๆ โลกของเรา

เหนือขั้วโลกเหนือขึ้นไปบนท้องฟ้าจะเป็นตำแหน่งที่เรียกว่า ขั้วฟ้าเหนือ (North Celestial poles) ซึ่งจะเป็นตำแหน่งของแกนหมุน ดังนั้นที่ตำแหน่งนี้จะไม่มีการหมุนเลย สังเกตที่อยู่ในซีกโลกเหนือเท่านั้นจึงจะสังเกตเห็นขั้วฟ้าเหนือได้ และผู้สังเกตที่อยู่ซีกโลกใต้ก็จะเห็นขั้วฟ้าใต้บนท้องฟ้า

ไว้มีโอกาสจะมาเล่าให้ฟังต่อนะครับ หากท่านใดสนใจอยากอ่านต่อหรือมีคำถามสามารถบอกกล่าวและถามผมได้ที่ facebook.com/ardwarong/นะครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image