เปิดภาพ! “ฟริเกตพิฆาต”เขี้ยวเล็บใหม่ ทร.ไทย ตัวเรือแบบ“สเตลท์” มูลค่า1.46หมื่นล้าน

บริษัท DSME ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเตรียมพิธีปล่อยเรือฟริเกตสมรรถนะสูงของกองทัพเรือไทยลงน้ำ

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ เปิดเผยว่า บริษัท DSME ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเตรียมพิธีปล่อยเรือฟริเกตสมรรถนะสูง หรือเรือหลวงท่าจีนลำใหม่ของกองทัพเรือไทยลงน้ำ โดยกำลังเคลื่อนย้ายเพื่อเตรียมนำมาประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2560 เวลา 15.39 น.โดยมี พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีฯ พร้อมด้วยนางปรานี อารีนิจ ภริยาเป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ

สำหรับเรือฟริเกตสมรรถนะสูงดังกล่าว ต่อโดยบริษัท DSME.(DAEWOO Shipbuilding & Marine Engineering CO., LTD.) ประเทศ สาธารณรัฐเกาหลี โดยการสร้างเรือดำเนินการ ณ อู่ต่อเรือของบริษัท DSME สาธารณรัฐเกาหลี ในระหว่างปี 2556 – 2561 ซึ่งเป็นแบบที่พัฒนามาจากเรือพิฆาตชั้น Kwanggaeto Class Destroyer (KDX-I) ซึ่งเรือฟริเกตที่กองทัพเรือจัดหา มีการออกแบบและสร้างเรือ โดยใช้มาตรฐานทางทหารของสหรัฐฯ และกองทัพเรือเกาหลี อีกทั้งได้รับการรับรองเป็นแบบที่ได้รับรองจากสถาบันจัดชั้นเรือซึ่งเป็นสมาชิกของ IACS (International Association of Classifications Society) โดยแบบเรือดังกล่าว มีระวางขับน้ำสูงสุด 3,700 ตัน ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง 30 นอต ระยะปฏิบัติการประมาณ 4,000 ไมล์ทะเล กำลังพล 136 นาย ลักษณะของเรือออกแบบโดยใช้ Stealth Technology และลดการแพร่คลื่นแม่เหล็กตัวเรือ รวมทั้งลดการแพร่เสียงใต้น้ำ ติดตั้งระบบอำนวยการรบและระบบอาวุธจากยุโรปและอเมริกา ซึ่งสามารถปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติ

19

Advertisement

ในการต่อเรือชุดนี้กองทัพเรือได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการต่อเรือ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของการต่อเรือภายในประเทศ โดยกองทัพเรือจะทำการต่อเรือฟริเกตสมรรถณะสูงเองอีก 1 ลำ และที่ผ่านมาบริษัท DSME. จำกัด และ บริษัท ไฮเทค เอเจ โฮลดิ้ง จำกัด (บริษัทผู้แทนในระเทศไทยของบริษัท DSME จำกัด) ได้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) กับกองทัพเรือ และบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด บริษัท ในด้านความร่วมมือการพัฒนาขีดความสามารถในการซ่อม สร้าง และดัดแปลงเรือ ของกรมอู่ทหารเรือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อ 30 กันยายน 2559 ณ รองรับรองกองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม

โดยเรือฟริเกต มี มูลค่า 14,600 ล้านบาท ปฏิบัติการรบได้ 3 มิติ เรียงลำดับความสำคัญจากการปฏิบัติการสงครามใต้น้ำ ปฏิบัติการต่อต้านภัยทางอากาศ การปฏิบัติการสงครามผิวน้ำ มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบร่วมกับอากาศยานของกองทัพอากาศได้อย่างสมบูรณ์ และสอดคล้องกับความต้องการของกองทัพเรือ

ส่วนของ platform system มีดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ (Flight Deck) และโรงเก็บอากาศยาน สามารถใช้งานกับเฮลิคอปเตอร์ขนาด 10 ตัน ได้ เช่น S 70B Sea Hawk, MH -60S Knight Hawk มีอุปกรณ์ช่วยการลงจอด (landing aids แบบ harpoon grid) มีระบบและอุปกรณ์การลงจอด ยึดตรึง เคลื่อนย้าย เฮลิคอปเตอร์ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกระดับ level 2 class A ตามมาตรฐาน US Navy Standard NATO

Advertisement

20

สำหรับ ระบบอำนวยการรบ (combat system) และระบบย่อยของระบบการควบคุมบังคับบัญชาและตรวจการณ์ (command and surveillance) และระบบอาวุธ (armament) ส่วนอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ ทั้ง Evolved Sea Sparrow Missile-ESSM มีระบบตอร์ปีโด ปราบเรือดำน้ำ ที่สามารถปรับปรุงให้ใช้งานกับ อาวุธปล่อยนำวิถี พื้นสู่ อากาศ SM2 รวมทั้งมีระบบอาวุธปล่อยนำวิถี พื้นสู่พื้น (Advanced Harpoon Weapon Control System- AHWCS) และอาวุธป้องกันตนเองระยะประชิด Raytheon

“สำหรับ ระบบอำนวยการรบ (combat system) ประกอบด้วยมีระบบการควบคุมบังคับบัญชาและตรวจการณ์(command and surveillance) และระบบอาวุธ (armament)มีระบบปืนซึ่งประกอบด้วย อาวุธปืนหลัก ปืน 76/62 มม. Oto-Melara พร้อม Stealth Shield และ อาวุธปืนรอง ปืนกล 30 มม. และปืนกล 50 นิ้ว ระบบเป้าลวง (decoy system) โดยมีแท่น TERMA หรือ รุ่นที่ดีกว่า พร้อมระบบและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และทำการลวง (Break Lock) เรดาร์ควบคุมการยิงของเรือ, อากาศยาน และอาวุธปล่อยนำวิถีได้ รวมทั้งสามารถรองรับการใช้งานเป้าลวงตอร์ปีโด (torpedo decoy)”

ระบบตรวจการณ์ เรดาร์ตรวจการณ์อากาศระยะไกล แบบ 3 มิติ ของ SABB อุปกรณ์หมายรู้และพิสูจน์ฝ่าย IFF ระบบโซนาร์ รวมทั้งมีระบบโทรศัพท์เสียงใต้น้ำ ระบบเดินเรือที่เชื่อมต่อกับระบบเดินเรือและระบบอำนวยการรบได้

21

22

23

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image