กรมบังคับคดี เผยแพร่แนวคิดการศึกษา ผลกระทบด้านการผลักดันทรัพย์สิน ต่อศก.ไทย

เมื่อเวลา 09.15 น. วันที่ 2 กุมภาพันธ์ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี เป็นประธานเปิดโครงการเผยแพร่แนวคิดการศึกษาผลกระทบด้านการผลักดันทรัพย์สินของกรมบังคับคดีต่อระบบเศรษฐกิจไทย ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลี่ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร มีผู้เข้าร่วมโครงการฯจำนวน 100 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารกรมบังคับคดี ผู้แทนจากสถาบันการเงิน สถาบันการศึกษา รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สื่อมวลชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป

นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี เปิดเผยว่า กรมบังคับคดีมีภารกิจด้านการบังคับคดีแพ่ง ยึด อายัด และจำหน่าย โดยแต่ละกระบวนการมีส่วนสำคัญในการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดี ประกอบกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้เห็นความสำเร็จของกรมบังคับคดี และมอบหมายให้ กรมบังคับคดีเป็นหน่วยหนึ่งที่มีบทบาทด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยการผลักดันทรัพย์สินของกรมบังคับคดีที่ผ่านมา สามารถผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดีได้ดังนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 จำนวน 98,892 ล้านบาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 จำนวน 99,793 ล้านบาท และปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 จำนวน 107,727 ล้านบาท โดยทรัพย์สินรอการขาย เป็นสินทรัพย์ในการลงทุน การเข้าร่วมประมูลซื้อทรัพย์เป็นช่องทางหนึ่งในการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยปัจจุบันมีกลุ่มคนรุ่นใหม่เข้ามาซื้อทรัพย์ถึง 15 % ซึ่งมีส่วนช่วย ในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศให้มีเม็ดเงินเข้าไปหมุนเวียนสร้างสภาพคล่องต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม

S__5390488

อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวต่อว่า การจัดโครงการฯในครั้งนี้ ถือเป็นการศึกษาวิเคราะห์ผลทวีคูณ (Multiplier Effect) ของกรมบังคับคดี (การผลักดันทรัพย์สิน) ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยทางตรงและทางอ้อม พร้อมทั้งสร้างเกณฑ์ดัชนีตัวชี้วัดการบังคับคดี (Enforcement Index) ที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยจากข้อมูลการดำเนินงานของกรมบังคับคดีที่ผ่านมา โดยทีมงานจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นการสร้างความรับรู้เกี่ยวกับผลกระทบด้านการผลักดันทรัพย์สินของกรมบังคับคดีต่อระบบเศรษฐกิจไทย เพื่อพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางการพัฒนาองค์ความรู้ด้านบังคับคดีในระดับอาเซียนต่อไป

Advertisement

นอกจากนี้ ภายในงานผู้เข้าร่วมโครงการฯยังได้รับความรู้จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในหัวข้อ เรื่อง “บทบาทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กับระบบเศรษฐกิจไทย” โดยนางสาวบัณฑรโฉม แก้วสะอาด ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลังจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง และการอภิปรายเกี่ยวกับกรอบแนวคิดและการจัดทำข้อมูลผลกระทบด้านการบังคับคดีต่อระบบเศรษฐกิจไทย โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ชโยดม สรรพศรี และคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image