11 กุมภาพันธ์ ดาวหาง 45P โคจรมาใกล้โลก ไม่เฉียด ไม่ชน อย่าตกใจ

ดาวหาง 45P/Honda–Mrkos–Pajdušáková (สีเขียวกลางภาพ) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 โดย Brian Ottum, New Mexico.
(เครดิตภาพ www.earthsky.org/space/comet-45phonda-mrkos-pajdusakova-new-years-

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ นายศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(สดร.) เปิดเผยว่า ดาวหาง 45P/Honda-Mrkos-Pajdu kov จะโคจรมาใกล้โลกที่สุดในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ระยะห่างประมาณ 12 ล้านกิโลเมตร มีค่าความสว่างปรากฏที่แมกนิจูด +7 (ความสว่างปรากฏที่ตามนุษย์สามารถมองเห็นได้มีค่าต่ำกว่าแมกนิจูด 6) จึงไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กช่วยในการสังเกต สังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณตี 3 จนถึงรุ่งเช้า ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส

ดาวหาง 45P/Honda-Mrkos-Pajdu??kov? เป็นดาวหางคาบสั้น ถูกค้นพบโดย Minoru Honda เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2491 โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรี ด้วยคาบการโคจร 5.25 ปี นิวเคลียสมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-1.6 กิโลเมตร ดาวหางดวงนี้โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2559 และเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา ดาวหางดังกล่าวมีค่าความสว่างปรากฏที่ระดับแมกนิจูด +7 มีขนาดความยาวของนิวเคลียสจนถึงปลายหางประมาณ 100,000 กิโลเมตร และกำลังจะโคจรมาใกล้โลกที่สุดในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ นี้ ที่ระยะห่างประมาณ 12 ล้านกิโลเมตร
ดร.ศรัณย์ กล่าวย้ำว่าดาวหางเป็นเพียงปรากฏการณ์ธรรมชาติบนท้องฟ้าที่น่าสนใจและหาชมได้ยากเท่านั้น จะไม่เกิดผลกระทบใดๆ ต่อโลกทั้งสิ้น

หาง2

Advertisement

ภาพจำลองแสดงตำแหน่งการเคลื่อนที่ของดาวหาง 45P/Honda–Mrkos–Pajdušáková ระหว่างวันที่ 9-11 กุมภาพันธ์ 2560
(เครดิตภาพ : www.skyandtelescope.com)

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image