นศ.โบราณคดีเผยสุดหดหู่ “วัดเสาธง” ขุดเสมาสมัยอยุธยา เตรียมสร้างซุ้มใหม่รอบโบสถ์

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ นายวรรณพงศ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา นักศึกษาภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร เปิดเผยว่า ตนได้เดินทางไปสำรวจที่วัดเสาธง อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเมื่อราว 2 สัปดาห์ที่แล้ว ได้พบใบเสมาหินทรายเเดง ใบเดียวอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระอุโบสถ ต่อมา ได้เดินทางไปที่วัดดังกล่าวอีกครั้งในวันนี้ พบว่าทางวัดขุดใบเสมาขึ้นจากพื้นดิน เพื่อเตรียมทำซุ้มใบเสมาชุดใหม่รอบพระอุโบสถแทนของเก่า ซึ่งทำให้ตนรู้สึกหดหู่อย่างมาก เนื่องจากเสมาเดิม เป็นหลักฐานที่ชี้ชัดว่าวัดเสาธงเก่าแก่ย้อนไปถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ตาม การที่ใบเสมาถูกขุดขึ้นมา ได้เผยให้เห็นลวดลายด้านล่างที่งดงามประณีตซึ่งก่อนหน้านี้ถูกฝังไว้ใต้ดิน

“เสมานี้ คือหลักฐานที่ย้อนไปถึงอยุธยา รูปแบบศิลปะบริเวณท้องเสมาใช้กรอบบังคับลายรูปสามเหลี่ยมจอมแห โดยมีเส้นประกอบมุมยอด 3 เส้น เส้นนอกเป็นเเถบหนา ส่วนเส้นในเป็นเส้นนูนเล็กๆ ประธานเเละตัวออกลายคือคือดอกจอกครึ่งดอก วางไว้เหนือเส้นของฐาน ส่งยอดไปเป็นลายทรงพุ่ม โดยมีดอกไม้กลีบเเหลมเป็นตัวออกลายอีกชั้นหนึ่ง ขนาบด้วยเลขหนึ่งไทย มีตัวเกาะหลัง จบลายด้วยกระจังลายเทศ พบรูปแบบเดียวกันที่ ใบเสมาทิศตะวันออก วัดกลาง ใกล้ๆกัน คุณพเยาว์ เข็มนาค เคยกำหนดไว้ในเอกสารโครงการจัดทำองค์ความรู้ด้านการสำรวจศึกษาลวดลายใบเสมาอยุธยา เมื่อ ปี 2554 ว่าอยู่ในสมัยอยุธยาตอนกลาง” นายวรรณพงศ์กล่าว

นายวรรณพงศ์ ยังกล่าวอีกว่า ภายในวัดแห่งนี้ ยังมีใบเสมารูปแบบเดียวกันเก็บรักษาไว้ ดังภาพต่อไปนี้

 

Advertisement

เสมา03

 

เสมา04

Advertisement

 

 

 

 

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image