วิสัยทัศน์การลงทุนที่นำไปสู่ “ไทยแลนด์ 4.0”

   หากย้อนอดีตไปเมื่อ 3 ทศวรรษที่แล้ว คงจำกันได้ว่า โทรศัพท์บ้านซึ่งเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารเดียวยังคงมีไม่มาก หลายคนต้องไปยืนเข้าคิวรอใช้บริการตามตู้โทรศัพท์สาธารณะซึ่งมีติดตั้งไม่มากนัก แถมเมื่อใดที่อุปกรณ์หรือโครงข่ายมีปัญหา กว่าจะตามช่างมาซ่อมได้ก็ต้องใช้เวลานาน

    ประเทศไทยภายใต้การบริหารของพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น รับรู้เป็นอย่างดีถึงข้อจำกัดในการให้หน่วยงานรัฐลงทุนสร้างโครงข่ายโทรศัพท์ที่เป็นไปด้วยความล่าช้าไม่ตรงกับความต้องการ เป็นที่มาของการเปิดสัมปทานให้หน่วยงานภายนอกเข้ามาร่วมลงทุนสร้างโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน 3 ล้านเลขหมาย ซึ่งรัฐบาลก็ได้มองเห็นถึงศักยภาพของกลุ่มธุรกิจเอกชนในเครือซีพีว่าสามารถลงทุนในโครงการที่มีความสำคัญในระดับประเทศนี้ได้ จึงได้เชิญมาเจรจาพูดคุยถึงเงื่อนไขการลงทุน

image02

    ในครั้งนั้น คุณ “ธนินทร์ เจียรวนนท์” ได้พิจารณาโครงการสร้างโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน 3 ล้านเลขหมายแล้วเห็นว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในระยะยาว และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนหรือธุรกิจแบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้นตามมา จึงได้ตัดสินใจใช้เงินลงทุนถึง 150,000 ล้านบาทเพื่อสร้างโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน 3 ล้านเลขหมาย จนกลายเป็นปรากฏการณ์ที่ต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ของประเทศไทย

Advertisement

    ที่สำคัญ การตัดสินใจในครั้งนั้น ถือเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์อันยาวไกลของเจ้าสัวซีพี เพราะนับจากนั้นมาประเทศไทยได้มีโครงข่ายโทรศัพท์ครอบคลุมไปทั่วประเทศ ที่ทำให้กลายเป็นพื้นฐานรองรับการใช้อินเตอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์ในเวลาต่อมา จนเกิดการต่อยอดการลงทุนในด้านการพัฒนาการสื่อสารแบบออนไลน์ และธุรกิจอี-คอมเมิร์ซขึ้นมากมาย นำมาซึ่งการก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลเหมือนกับอารยประเทศ

    จนถึงล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เจ้าของนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” ได้เชิญเจ้าพ่ออี-คอมเมิร์ซระดับโลกอย่าง “แจ๊ค หม่า” มาร่วมปรึกษาหารือเพื่อนำร่องตลาดอิเล็กทรอนิคส์กับเอสเอ็มอีและสินค้าภาคการเกษตรของไทย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ เจ้าพ่ออาลีบาบาเคยถูกรับเชิญไปเป็นที่ปรึกษาด้านอีคอมเมิร์ซให้กับรัฐบาลประเทศอื่นๆ มาแล้ว

แต่แท้จริง ประธานบริหารอาลีบาบา กรุ๊ป ก็เคยร่วมมือทางธุรกิจกับไทยผ่านภาคเอกชนมาก่อนหน้า เพราะเมื่อปลายปี 2016 แจ๊ค หม่า ในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัท แอนท์ไฟแนนเชียล ซึ่งเป็นธุรกิจบริการทางการเงินดิจิทัล ได้เข้ามาถือหุ้นร้อยละ 20 ในบริษัทแอสเซนด์ มันนี่ กลุ่มเทคโนโลยีทางการเงิน (ฟินเทค) ในเครือซีพี ภายใต้เป้าหมายการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงิน “อาลีเพย์” ให้ทั่วถึง โดยตั้งเป้าที่จะให้มีผู้ใช้ 2 พันล้านคนในอีก 10 ปีข้างหน้าผ่านเครือข่ายพันธมิตรทั่วโลก

Advertisement

image01

    การร่วมลงทุนครั้งนี้ จะช่วยกระตุ้นให้ธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่กำลังพัฒนาระบบเทคโนโลยีการเงินในไทยให้ตื่นตัวยิ่งขึ้น ในอนาคต เราก็อาจจะได้เห็นกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพและกลุ่มเครือธนาคารขนาดใหญ่หันมาพัฒนาระบบดังกล่าวเพื่อเข้ามาแข่งขันในตลาดการทำธุรกิจการเงินทั้งออนไลน์และออฟไลน์มากขึ้นอีกด้วย

    ระบบอีเพย์เมนต์ยังว่าถือว่าเป็นของใหมที่ยังไม่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย แม้ว่าอาลีบาบาจะมีเครือข่ายระบบอาลีเพย์ที่มีลูกค้าเลือกใช้บริการมาก แต่เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรในเอเชียทั้งหมดที่ใช้งานระบบอีเพย์เมนต์ของอาลีบาบาแล้ว ถือว่ามีเพียง 10% เท่านั้น นั่นหมายถึงว่ายังมีประชากรอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไมได้ใช้ระบบนี้ จึงเป็นตลาดที่มีโอกาสขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงเป็นการกระตุ้นให้บรรดาธุรกิจสตาร์ทอัพ กลุ่มธนาคาร บัตรเครดิต และสถาบันการเงินต่างๆ เกิดความตื่นตัวในการที่จะริเริ่มสร้างเครือข่ายอีเพย์เมนต์และระบบฟินเทคมาให้บริการลูกค้ามากขึ้น ซึ่งระบบเครือข่ายอีเพย์เมนต์ และระบบฟินเทค ก็ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลด้วย

    การที่ภาคเอกชนอย่างเครือซีพีนำร่องไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ก่อนแล้ว ถือเป็นการได้เปรียบในการที่ประเทศไทยจะสร้างศักยภาพด้านตลาดอี-คอมเมิร์ซในภูมิภาคนี้ แม้แต่การขยายเครือข่ายอาลีเพย์ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในจีน ในอีกมุมมองก็คือการขยายโอกาสให้กับคนไทยได้เข้าถึงนวัตกรรมทางการเงินที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอีกด้วย

    นอกจากนี้ การพัฒนาระบบพื้นฐานอินเทอร์เน็ตของไทยที่ได้อานิสงฆ์จากการปลดล็อกการผูกขาดด้านโทรคมนาคมจากภาครัฐ มาเป็นภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนในยุค พล.อ.ชาติชาย ก็ยังกลายมาเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของซีพี จากธุรกิจดั้งเดิมไปสู่กิจการโทรคมนาคม การขยายโทรศัพท์พื้นฐาน 3 ล้านเลขหมายเพื่อเตรียมการเข้าสู่ยุคดิจิทัลในปัจจุบันบนผลประโยชน์ของประชาชน ล้วนแล้วเกิดจากวิสัยทัศน์และความกล้าในการตัดสินใจที่จะลงทุนในวันนั้นของ “ธนินทร์ เจียรวนนท์” จนนำมาเป็นพื้นฐานที่นำไปพัฒนาสู่ “ไทยแลนด์ 4.0” ในวันนี้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image