“เพื่อนแม่น้ำ” จัดเต็ม 11 ข้อ ปมทางเลียบเจ้าพระยา ถามกทม.ละเมิดกม.-สิทธิพลเมืองหรือไม่ หลังเตรียมประมูลเฟสแรกเม.ย.นี้

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม หลังมีข่าวความคืบหน้าโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะมีการเปิดประมูลในเดือนเมษายนนี้  สัญญา 8.4 พันล้านบาท โดยกทม.ระบุว่ามีการเคลียร์พื้นที่ 10 ชุมชนลงตัวแล้ว เตรียมตอกเสาเข็มในเดือนกรกฎาคม โดยปรับแบบใหม่ลดขนาดความกว้างสะพานเหลือ 7-10 ม. เป็นทางคนเดิน จักรยาน พร้อมจุดชมวิวแลนด์มาร์กใหม่

ล่าสุด เมื่อเวลาประมาณ 23.00 น. กลุ่ม Friends of the River ได้เผยแพร่ข้อความ โดยตั้งคำถามว่า กรุงเทพมหานครกำลังละเมิดกฏหมายและสิทธิพลเมืองหรือไม่ ตามด้วยข้อมูลอีก 11 ข้อในรายละเอียด เนื้อหามัดังต่อไปนี้

กทม กำลังละเมิดกฏหมายและสิทธิพลเมืองหรือเปล่า?

1 ไม่มีสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทั้งด้านผังเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรม และวิศวกรรมได้เห็นและให้ความเห็นเรื่องแบบ

Advertisement

2 ไม่มีการปรับแบบตามข้อเรียกร้องของฝ่ายต่างๆ การลดขนาดจาก19.5 เมตรเป็น10 เมตรนั้น ทำมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2559 ประเด็นที่รัฐบาลไม่เคยถอยคือ ยังเดินหน้าทำทางคร่อมในแม่นำ้กว้าง 10 เมตร ยาวต่อเนื่องข้างละ 7 กม รวม 14 กม และคาดว่าโครงการจะเดินหน้าเชื่อมให้ครบ57 กม ในเขตพื้นที่ กทม

3 ไม่มีแผนพัฒนา (master plan)ที่รอบด้านเพื่อประเมินนโยบายที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดจุดการพัฒนาและโครงการที่สอดคล้องเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ตลอดความยาว57 กมในเขต กทม รัฐกลับรวบรัดเดินหน้าก่อสร้างทางเลียบแม่นำ้ในเฟสแรก14 กม โดยไม่สามารถตอบได้ว่าทำไปทำไม สอดคล้องกับการพัฒนาและเป้าหมายใด

4 ไม่มีการศึกษาผลกระทบทางเศรฐกิจ และความคุ้มทุนของโครงการ

5 การศึกษาทางชลศาสตร์ทำอย่างรวบรัดไม่เก็บข้อมูลการไหลของนำ้ตลอดทั้งปี ผลการศึกษาจึงไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ

6 ไม่ผ่านการพิจารณาของหลายหน่วยงาน ทั้งคณะกรรมการเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ไม่ผ่านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ไม่ผ่านความเห็นชอบของกรมศิลปากร

7 ละเมิดกฏหมายการสร้างสิ่งปลูกสร้างในลำนำ้ ที่กรมเจ้าท่าดูแลเสียเอง ทั้งๆที่ไปไล่รื้อชุมชนริมนำ้ที่ผิดกฏหมายฉบับเดียวกัน

ผิดกฏหมายผังเมืองที่ไม่ได้กำหนดพื้นที่แม่นำ้ให้สามารถทำกิจกรรมอื่นใดนอกจากเป็นพื้นที่ทางไหลของนำ้ตามธรรมชาติ

8 การทำกระบวนการในพื้นที่รวบรัด ไม่ครอบคลุม ไม่รอบด้าน. ริดรอนสิทธิของทั้งประชาชนในพื้นที่และประชาชนคนไทยที่เป็นเจ้าของแม่นำ้เจ้าพระยาร่วมกันที่ต้องมีส่วนในกระบวนการพัฒนานี้ และสังคมควรมีทางเลือกของการพัฒนาไม่ใช่ถูกมัดมือชกด้วยโครงการที่รัฐตัดสินใจไปแล้ว รัฐอ้างว่าเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยแล้วซึ่งเป็นการบิดเบือนความจริง

9ในกระบวนการจัดจ้างที่ปรึกษาโครงการด้วยเม็ดเงิน120 ล้านบาท ขาดความโปร่งใส ทั้งคุณสมบัติของผู้รับจ้าง และความครบถ้วนถูกต้องของผลการศึกษาตามที่กำหนดไว้ใน TOR

10 เงินงบประมาณไม่ว่าจะ14,000. ล้านหรือ8000 ล้านมันควรค่าแก่การทำโครงการนี้หรือควรนำไปพัฒนาเมืองหรือแม่นำ้ด้านอื่นที่สำคัญจำเป็นกว่าการสร้าง”ทางคร่อมแม่นำ้”หรือไม่

11 จะมีบริษัทไหนกล้าเข้ามาประมูลกับโครงการที่สุ่มเสี่ยงละเมิดกฏหมายและไม่มีความชอบธรรมทางสังคม ที่อาจส่งผลต่อการยุติโครงการในอนาคต

ผู้ว่า และรัฐบาลเอาความชอบธรรมใดในการสั่งเดินหน้าโครงการ? จะเอา”อำนาจ”ที่ตนมี รีบร้อน ดึงดันทำลายแม่นำ้และหัวใจประชาชนไปเพื่ออะไรครับ

ถ้ารัฐบาลจริงใจ ขอให้เปิดเวทีสาธารณะเอาแบบและข้อมูลให้ผู้เชี่ยวชาญและประชาชนได้ถกแถลงเถอะครับ ถ้าแบบดีจริง ประชาชนย่อมเห็นชอบครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image