สมเกียรติโวยเว็บข่าวไร้จรรยาบรรณ มีแต่โฆษณาโป๊ ชาวเน็ตรุมอธิบาย ที่แท้มาจากประวัติการใช้งานเจ้าตัว !

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ในสังคมออนไลน์เผยแพร่ข้อความจากทวิตเตอร์ของนายสมเกียรติ อ่อนวิมล สื่อสารมวลชนชื่อดัง โดยระบุว่า “อ่านหนังสือพิมพ์สมัยนี้เหมือนอ่านหนังสือโป๊รายวัน วงการหนังสือพิมพ์ตกต่ำสุดขีดเพราะเงินโฆษณาแท้ๆ ที่ทำให้หนังสือพิมพ์เมินศีลธรรมในสังคม”

พร้อมลงภาพเว็บไซต์ข่าว ที่ด้านข้างมีโฆษณารูปชุดชั้นในมาประกอบข้อความ

ส่งผลให้ชาวเน็ตต่างทักท้วงว่าสิ่งที่เห็นในโฆษณานั้นเป็นโฆษณาของกูเกิล ที่จะเก็บข้อมูลเวลาผู้ใช้เข้าดูเว็บไซต์ต่างๆ นำมาเสนอใหม่ หรือที่เรียกว่า Retargeting นั่นเอง

สมเกียรติ01

Advertisement

ทั้งนี้ Retargeting หรือ Remarketing เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการตลาดในการกระตุ้นให้ลูกค้ากลับเข้ามาเลือกซื้อสินค้าหรือใช้บริการบนเว็บไซต์อีก โดยมีกระบวนการตามภาพข้างต้น ซึ่งก็คือเมื่อมีลูกค้าเข้ามาสู่เว็บไซต์ของเราแล้วก็จะมีการเก็บข้อมูลของลูกค้าคนนั้นๆ เอาไว้

จากนั้นเมื่อลูกค้าไปใช้บริการเว็บอื่นๆ (ที่ต้องลงโฆษณาของทาง Google เอาไว้ ซึ่งในปัจจุบันก็มีหลายเว็บไซต์ที่ติดตั้ง) ลูกค้าก็จะเห็น Advertise หรือ Banner ที่โฆษณาสินค้าใหม่ๆ หรือโปรโมชั่นต่างๆ ของเว็บไซต์เรา เพื่อให้ลูกค้าเกิดความสนใจและกลับเข้ามาใช้บริการบนเว็บไซต์ของเราอยู่เสมอๆ

อย่างไรก็ตาม อ.สมเกียรติเองตอบโต้กลับผู้ให้ข้อมูลโดยระบุว่า “ผมพูดเรื่องจรรยาบรรณ ไม่ได้พูดเรื่องเทคโนโลยี และพูดเรื่องความผิดทางจรรยาบรรณในการรับ content เสื่อมศีลธรรม ส่วนคุณโทษเทคโนโลยี”

Advertisement

“ผมไม่ต้องการความรู้และไม่ต้องการคำอธิบายซ้ำว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แต่ต้องการความคิดว่า ทำอย่างไรจะไม่ให้มันเป็นเช่นนั้น หากใครคิดได้จะดีมาก”

และ “บางท่านกลับมาแนะนำผมอีกว่าจะหลีกเลี่ยงโฆษณาโป๊อย่างไร ไม่ตรงประเด็น ผมดูได้ ไม่ต้องหลีก ประเด็นผมคือการตำหนิหนังสือพิมพ์ว่าบกพร่องจริยธรรม”

สมเกียรติ02

ขณะที่ อ.เจษฎา เด่นดวงบริพัทธ์ อาจารย์จุฬาฯ โพสต์ว่า “โฆษณาตามเพจต่างๆ มักจะขึ้นกับผู้ใช้คอมพ์เครื่องนั้นๆ” ครับ

เห็นนักข่าวอาวุโสท่านนึง ทวีตด่าว่าเว็บของหนังสือพิมพ์ว่าทำวงการหนังสือพิมพ์ตกต่ำ เพราะมีโฆษณาที่เมินศีลธรรมในสังคม อ่านแล้วยังกับอ่านหนังสือโป๊รายวัน (พร้อมภาพโฆษณาด้านข้าง ที่เป็นรูปขายสินค้า ผู้หญิงใส่ชุดชั้นใน)

เพื่อความเป็นธรรม กับสื่ออื่นๆ บนออนไลน์ เลยต้องอธิบายว่า โฆษณาพวกนี้ทางตัวเว็บเองไม่ได้เป็นผู้เลือกหรอกว่าจะให้ขึ้นมาเป็นรูปอะไร … แต่มันขึ้นกับระบบของบริษัทผู้ให้บริการโฆษณาอีกที

อย่างเช่น ถ้าช่องโฆษณานั้น เป็น Google AdSense ทางกูเกิลก็จะเลือกแสดงโฆษณาเหมาะสมกับผู้อ่านเป็นรายๆ ไป โดยอิงกับคำค้นหา (keywords) ที่ผู้อ่านเคยใช้บ่อยๆ ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น

ยิ่งถ้าโฆษณานั้นเป็นของ Lazada นะ มันจะยิ่งจำเพาะคนไม่แพ้กันเลย ผมเคยคุยกับน้อง ดร. คนที่ทำงานในตำแหน่งนักวิเคราะห์สถิติ มีหน้าที่วิเคราะห์พฤติกรรมผู้ซื้อของลาซาด้าเลยทีเดียวนะ เคยซื้ออะไรกับเค้าไว้ มันจะกลับมาโฆษณาอีกเรื่อยๆ
อย่างผมลองเปิดเว็บขึ้นมา ก็ได้เป็นโฆษณาคอนโดฯติดทะเล (อย่างกับรู้ใจเลยว่าผมอยากได้ แต่ไม่มีตังค์) ครับ

(เพิ่มเติม เรื่อง Google Ads ครับ)

ปกติ Google จะจับเนื้อหา 4 อย่าง แล้วมาคำนวณว่าโฆษณาไหนจะขึ้น ประกอบด้วย

(1) ตัวหลัก – ลักษณะเนื้อหาของต้นฉบับ รวมถึงลักษณะทางกายภาพต่างๆ ของเว็บต้นฉบับ

(2) การเลือกของคนลงโฆษณา – โดยเลือกว่าอยากให้คนกลุ่ม “ประมาณ” ไหนเห็นอะไรบ้าง โดยทางต้นทางเป็นคนควบคุมทั้งหมด

(3) ความชอบส่วนตัวของคนใช้งาน (ตามที่อาจารย์กล่าว) โดยส่วนนี้จะวิเคราะห์จากพฤติกรรมผู้ใช้ที่ล็อกอินใต้ชื่อเดิม ไม่ว่าบนคอมพ์หรือมือถือ แต่ถ้าคอมพ์เครื่องเดิม ใช้แยกบัญชี ถือว่าแยกไป

(4) ภาษาของคนอ่าน กับ ภาษาคนโฆษณา ว่าตรงและใกล้กันแค่ไหนครับ

 

(ภาพประกอบจาก สมเกียรติ อ่อนวิมล | Somkiat Onwimon)

ที่มาข่าว : ข่าวสดออนไลน์

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image