9.00 INDEX บทบาท ความหมาย ของ”เพื่อไทย” ภายใน กระบวนการ “ปรองดอง”

ท่าทีของพรรคเพื่อไทย ท่าทีของนปช. ต่อการปรองดองสมานฉันท์อันมาจากคสช.อันมาจากรัฐบาล
น่าศึกษา
เหมือนกับว่า พรรคเพื่อไทย นปช.จะยอมรับต่อแนวทางแต่ก็มิได้ดำเนินไปอย่างที่สำนวนไทยเรียกว่า
“หมอบราบคาบแก้ว”
ตรงกันข้าม ดำเนินไปในลักษณะอันอาจสรุปได้ว่า มีทั้งด้านที่ “ร่วม” และด้านที่ “ต่อสู้”
ท่าทีล่าสุดจากพรรคเพื่อไทยจึงมีความหมาย
เป็นท่าทีที่มี พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรคนั่งอยู่ด้วยในการแถลง
คือ การเสนอ”คณะกรรมการอิสระ”

ถามว่าการที่พรรคเพื่อไทยเสนอ “คณะกรรมการอิสระ”ขึ้นมาเท่ากับปฏิเสธแนวทางปรองดอง สมานฉันท์ กระนั้นหรือ
ฟังจาก นายชัยเกษม นิติสิริ ก็รู้ว่า “ไม่ใช่”
เพราะว่าพรรคเพื่อไทยก็ส่ง “ตัวแทน” เข้าไปเสนอความเห็น ตามที่คณะกรรมการเขาเรียกร้อง
ทำเหมือนกับ”พรรคการเมือง”อื่นๆ
“เพียงแต่เห็นว่าเมื่อจบขั้นตอนของกระบวนการรับฟังความ คิดเห็นควรจะมีคณะกรรมการอิสระเข้ามาทำหน้าที่”
นั่นก็คือ ไม่ใช่กลุ่มบุคคลที่ “เป็นกลาง”
ข้อเสนอนี้ของพรรคเพื่อไทยแม้จะได้รับการปฏิเสธอย่างทันควันจากคสช.จากรัฐบาล
แต่ก็ทรง “ความหมาย”

ความหมายมิได้อยู่ที่ว่าคสช.และรัฐบาลจะยอมรับ หรือว่าไม่ยอมรับในทางเป็นจริง หากอยู่ที่เท่ากับเป็นการแสดง”ท่าที”
นั่นก็คือ ไม่ว่าพรรคเพื่อไทย ไม่ว่านปช.มิได้เข้าร่วมในกระบวนการของการปรองดองสมานฉันท์อย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่มีการต่อสู้และต่อรอง
การปรองดอง สมานฉันท์ เป็นเรื่องดีอย่างแน่นอน แต่คำถามก็คือ “วิธีการ”เป็นอย่างไร
เท่ากับยืนยันว่าพรรคเพื่อไทย นปช.มิได้เป็น”เป้านิ่ง”
เท่ากับยืนยันว่า”เม็ดใน”ของการปรองดองมี “ปัญหา”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image