เปิดห้องเรียน “จุฬา” ตั้งแต่ยุคก่อน 2500 #100ปีจุฬา 26 มีนาคม (ภาพชุด)

บรรยากาศในห้องเรียน ในช่วงก่อน พ.ศ. 2500

26 มีนาคมนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดงานจุฬาฯ 100 ปี ศตวรรษแห่งความภูมิใจ

นับเป็นงานใหญ่ในประวัติศาสตร์การก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของสยามประเทศ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น ณ ตึกยาวข้างประตูพิมานชัยศรีในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ.2442 และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อ พ.ศ. 2445 เพื่อผลิตบุคลากรให้รับราชการ ซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลจากพระบรมราโชบายปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน

จุฬา

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กเป็นสถาบันอุดมศึกษา พระราชทานนามว่า “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” แล้วพระราชทานเงินทุนที่เหลือจากการที่ราษฎรได้เรี่ยไรเพื่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า กว่า 900,000 บาทให้สร้างอาคารเรียนและตึกบัญชาการบนที่ดินพระคลังข้างที่จำนวน 1,309 ไร่ ในอำเภอปทุมวัน โดยเสด็จพระราชดำเนินวางศิลาพระฤกษ์ในการสร้างอาคารดังกล่าวเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2458

Advertisement

จุฬา

จากนั้น ทรงมีพระราชดำริที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น กล่าวคือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่จะรับผู้ซึ่งประสงค์จะศึกษาขั้นสูงให้เข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459

ในช่วงแรกมีการเรียนการสอน 4 คณะ ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ แล้วขยายการศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาต่างๆสืบมาจนปัจจุบัน

Advertisement

มาร่วมย้อนอดีตอันงดงามของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาอันเปี่ยมด้วยความทรงจำแสนอบอุ่นผ่านภาพถ่ายที่บันทึกเรื่องราวมากมายใน 1 ศตวรรษแห่งเกียรติภูมิจุฬา ฯ 

แผนที่จุฬา ฯ พ.ศ. 2460 หลังสถาปนา 1 ปี ยังเต็มไปด้วยพื้นที่ว่างเปล่า
แผนที่จุฬา ฯ พ.ศ. 2460 หลังสถาปนา 1 ปี ยังเต็มไปด้วยพื้นที่ว่างเปล่า
จุฬา ฯ ราว พ.ศ. 2480 ซึ่งยังไม่มีการก่อสร้างอาคารเทวาลัยฝั่งซ้าย
จุฬา ฯ ราว พ.ศ. 2480 ซึ่งยังไม่มีการก่อสร้างอาคารเทวาลัยฝั่งซ้าย
จุฬา ฯ ช่วงน้ำท่วม คาดว่าเป็นเหตุการณ์ใน พ.ศ. 2485 หรือ พ.ศ. 2489
จุฬา ฯ ช่วงน้ำท่วม คาดว่าเป็นเหตุการณ์ใน พ.ศ. 2485 หรือ พ.ศ. 2489
บรรยากาศในห้องเรียน ในช่วงก่อน พ.ศ. 2500
บรรยากาศในห้องเรียน ในช่วงก่อน พ.ศ. 2500
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬา ฯ พ.ศ. 2509
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬา ฯ พ.ศ. 2509
กลุ่มอาคารเดิมคณะครุศาสตร์ จุฬา ฯ 3 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2501 และ 2506
กลุ่มอาคารเดิมคณะครุศาสตร์ จุฬา ฯ 3 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2501 และ 2506
"ตึกขาว" พ.ศ. 2508
“ตึกขาว” และภาพมุมกว้าง ในพ.ศ. 2508
นิสิตจุฬา ฯ ไม่ทราบพ.ศ.
นิสิตจุฬา ฯ ไม่ทราบ พ.ศ.
รับ "มาลัยจามจุรี" กิจกรรมรับน้องหอพัก "ซีมะโด่ง"
รับ “มาลัยจามจุรี” กิจกรรมรับน้องหอพัก “ซีมะโด่ง” ไม่ทราบ พ.ศ.
บรรยากาศบริเวณถนนพญาไทช่วงระหว่างคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และสำนักอธิการบดี
บรรยากาศบริเวณถนนพญาไทช่วงระหว่างคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และสำนักอธิการบดี

ห้อง "นิติสัมพันธ์"

รักบี้จุฬา ฯ
รักบี้จุฬา ฯ
อาคารเทวาลัยฝั่งคณะวิศวกรรมศาสตร์
อาคารเทวาลัยฝั่งคณะวิศวกรรมศาสตร์

จุฬา 99 ปี

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจากเวปไซต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.chula.ac.th และเฟซบุ๊ก ‘อภินิหารตำนานจุฬา’ https://www.facebook.com/TheChroniclesofChula/?fref=ts

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image