นิด้าโพลเผย 72.44% แนะแต่งกาย ‘มิดชิด-ไม่สั้น-โป๊’ ป้องกันถูกลวนลามทางเพศช่วงสงกรานต์

เมื่อวันที่ 9 เมษายน นางณัฐฐา วินิจนัยภาค ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “เทศกาลสงกรานต์ : การถูกลวนลาม-คุกคามทางเพศ” ระหว่างวันที่ 5-6 เมษายน ทั่วประเทศ จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 55.20% เป็นพฤติกรรมไม่เหมาะสม รองลงมา 43.28% เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ความคึกคะนอง หรือมึนเมา ขาดสติ 31.28% เป็นพฤติกรรมที่นำมาสู่การก่ออาชญากรรมอื่นๆ เช่น ข่มขืนกระทำชำเราอนาจาร ทะเลาะวิวาท 8.64% หากเป็นแบบเล็กๆ น้อยๆ ไม่ควรถือโทษ เพราะเป็นช่วงเทศกาลรื่นเริง 8.24% บางครั้งไม่ตั้งใจหรือเจตนา เผลอแบบโดยบังเอิญ, การรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับการลวนลามทางเพศในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำอนาจารในที่สาธารณะ พบว่า 79.52% ทราบ ขณะที่ 20.48% ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ,

สำหรับการรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับบทลงโทษทางกฎหมายเกี่ยวกับการลวนลามทางเพศ พบว่า 66.24% ไม่ทราบ/ ไม่แน่ใจเกี่ยวกับบทลงโทษ รองลงมา 19.47% ทราบว่ามีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และ 14.29% ทราบว่ามีโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี, ด้านพฤติกรรมการเคยถูกลวนลามทางเพศของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์แบบเจตนา 89.76% ไม่เคยถูกลวนลาม รองลงมา 9.60% เคย และ 0.64% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจว่าเป็นการเจตนาหรือไม่อย่างไร, เมื่อพิจารณาการถูกลวนลามทางเพศ จำแนกตามเพศ พบว่า เพศชาย 91.01% ไม่เคย รองลงมา 8.04% เคย และ 0.95% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ส่วนเพศหญิง 88.46% ไม่เคย รองลงมา 11.22% เคย และ 0.33% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ขณะที่เพศทางเลือก 100% ไม่เคยถูกลวนลามทางเพศ,

เคยถูกลวนลามทางเพศของประชาชนจากเพศต่างๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์แบบเจตนา พบว่า 73.33% เคยถูกลวนลามจากเพศตรงข้าม รองลงมา 22.50% เคยถูกลวนลามจากเพศเดียวกัน และจากเพศทางเลือกในสัดส่วนที่เท่ากัน, เมื่อพิจารณาการถูกลวนลามทางเพศ จำแนกตามเพศ พบว่า เพศชาย 43.28% เคยถูกลวนลามจากเพศตรงข้าม 22.39% เคยถูกลวนลามจากเพศเดียวกัน และ 34.33% เคยถูกลวนลามจากเพศทางเลือก, ส่วนเพศหญิง 78.67% เคยถูกลวนลามจากเพศตรงข้าม 16% เคยถูกลวนลามจากเพศเดียวกัน และ 5.33% เคยถูกลวนลามจากเพศทางเลือก, ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิ่งที่จะดำเนินการหากถูกลวนลามทางเพศช่วงเทศกาลสงกรานต์แบบเจตนา พบว่า 34.56% จะแจ้งความและเอาผิดอย่างถึงที่สุด รองลงมา 30.64% มีการปัดป้อง ปกป้อง ป้องกันตัวเอง ออกมาให้ห่างจากพื้นที่เสี่ยง หรืออยู่กับเพื่อน หรือคนที่ไว้ใจ 9.28% จะบอกเพื่อน คนรอบข้าง 9.12% จะเจรจา ไกล่เกลี่ย ยอมความ 5.20% ไม่ทำอะไร ไม่เอาผิด ไม่แจ้งความ,

ข้อเสนอแนะของประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันการถูกลวนลามทางเพศทั้งผู้หญิงและผู้ชาย พบว่า 72.44% ควรระมัดระวัง และป้องกันตัวเอง เช่น แต่งกายมิดชิด ไม่ล่อแหลม ไม่ใส่เสื้อผ้าที่โชว์สรีระ ไม่สั้นหรือโป๊ หรือผ้าสีขาวบาง และหลีกเลี่ยงในพื้นที่เสี่ยง รองลงมา 12.87% ควรมีมาตรการในการซื้อ-ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับเด็กและเยาวชน และควรหลีกเลี่ยงการดื่มของมึนเมา 7.40% รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และปลูกฝังค่านิยมให้เล่นสงกรานต์อย่างมีสติ รู้จักกาลเทศะ เล่นอย่างมีขอบเขต เน้นการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมไทย 6.18% ควรมีมาตรการ บทลงโทษ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด 3.24% ควรมีตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่คอยตรวจตรา ดูแลความเรียบร้อย และรับแจ้งเหตุ

Advertisement

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image