“ขรรค์ชัย บุนปาน-สุจิตต์ วงษ์เทศ ทัวร์ทอดน่องท่องเที่ยว” เล่าเรื่องพระจักรพรรดิราช วัดนางนอง (ตอน2)

วัดนางนอง วัดเก่าแก่ริมคลองด่าน ปัจจุบันอยู่ในเขตจอมทอง เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับการบูรณะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ นักวิชาการ ระบุว่า ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดของวัดคือบริเวณวิหาร ซึ่งก่อนบูรณะขึ้นใหม่มีร่องรอยซุ้มวงโค้งในสมัยอยุธยาปรากฎให้เห็น ภายในมีพระพุทธรูปเดิมที่ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อผุด”

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่บริเวณกลางวัด โดยพบบันทึกหลักฐานระบุว่ามีการฝังลูกนิมิต ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2387 ตรงกับช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า แสดงว่าตัวพระอุโบสถต้องมีการก่อสร้างก่อนหน้านั้นไม่นานนัก และหลังสร้างพระอุโบสถเป็นประธานวัด จึงได้บูรณะวิหารเดิม โดยการสร้างทับใหม่ทั้งหมด และและสร้างวิหารอีกหลังไว้อีกด้านของพระอุโบสถเพื่อให้สมมาตรกัน

Advertisement

สิ่งที่น่าสนใจของวัดนางนอง คือภายในพระอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่นี้ มีพระพุทธรูปประธานซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง หรือเรียกตามที่ปรากฎหลักฐานในเอกสารสมัยรัชกาลที่ 3 ว่า “พระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช” ลักษณะเป็นพระพุทธรูป ที่ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ที่เป็นจักรพรรดิราช ตามคติในศาสนาพุทธ หมายถึงราชาเหนือราชาทั้งมวล ดังนั้นพระพุทธรูปนี้ นอกจากจะเป็นภาพแทนของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังหมายถึงผู้เป็นใหญ่ที่สุดในทางโลก ตามอุดมคติของศาสนาพุทธด้วย

นอกจากนี้ ภาพจิตกรรมฝาผนังภายในอุโบสถทั้งหมด ยังเล่าเรื่องที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของจักรพรรดิราช โดยฝาผนังเหนือกรอบหน้าต่าง ทั้ง 4 ด้าน เล่าเรื่องมหาชมพูบดีสูตร ซึ่งพระพุทธเจ้าเนรมิตรพระองค์เป็นจักรพรรดิราช เพื่อปราบท้าวมหาชมพู ส่วนด้านล่างเป็นลายกำมะลอ คือลักษณะลวดลายแบบจีน คล้ายกับที่พบเห็นในศาลเจ้าจีน เล่าเรื่องสามก๊ก ตอนเล่าปี่ได้เมืองเกงจิ๋ว ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องราวของกษัตริย์ที่ดี ตามแบบฉบับของจีน

วัดนางนอง วัดเก่าแก่ริมคลองด่าน ปัจจุบันอยู่ในเขตจอมทอง เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับการบูรณะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

Advertisement

ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ นักวิชาการ ระบุว่า ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดของวัดคือบริเวณวิหาร ซึ่งก่อนบูรณะขึ้นใหม่มีร่องรอยซุ้มวงโค้งในสมัยอยุธยาปรากฎให้เห็น ภายในมีพระพุทธรูปเดิมที่ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อผุด”

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่บริเวณกลางวัด โดยพบบันทึกหลักฐานระบุว่ามีการฝังลูกนิมิต ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2387 ตรงกับช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า แสดงว่าตัวพระอุโบสถต้องมีการก่อสร้างก่อนหน้านั้นไม่นานนัก และหลังสร้างพระอุโบสถเป็นประธานวัด จึงได้บูรณะวิหารเดิม โดยการสร้างทับใหม่ทั้งหมด และและสร้างวิหารอีกหลังไว้อีกด้านของพระอุโบสถเพื่อให้สมมาตรกัน

สิ่งที่น่าสนใจของวัดนางนอง คือภายในพระอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่นี้ มีพระพุทธรูปประธานซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง หรือเรียกตามที่ปรากฎหลักฐานในเอกสารสมัยรัชกาลที่ 3 ว่า “พระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช” ลักษณะเป็นพระพุทธรูป ที่ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ที่เป็นจักรพรรดิราช ตามคติในศาสนาพุทธ หมายถึงราชาเหนือราชาทั้งมวล ดังนั้นพระพุทธรูปนี้ นอกจากจะเป็นภาพแทนของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังหมายถึงผู้เป็นใหญ่ที่สุดในทางโลก ตามอุดมคติของศาสนาพุทธด้วย

นอกจากนี้ ภาพจิตกรรมฝาผนังภายในอุโบสถทั้งหมด ยังเล่าเรื่องที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของจักรพรรดิราช โดยฝาผนังเหนือกรอบหน้าต่าง ทั้ง 4 ด้าน เล่าเรื่องมหาชมพูบดีสูตร ซึ่งพระพุทธเจ้าเนรมิตรพระองค์เป็นจักรพรรดิราช เพื่อปราบท้าวมหาชมพู ส่วนด้านล่างเป็นลายกำมะลอ คือลักษณะลวดลายแบบจีน คล้ายกับที่พบเห็นในศาลเจ้าจีน เล่าเรื่องสามก๊ก ตอนเล่าปี่ได้เมืองเกงจิ๋ว ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องราวของกษัตริย์ที่ดี ตามแบบฉบับของจีน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image