รู้จักแบคทีเรียในกระเพาะมากขึ้น หลังศึกษา ‘มัมมี่มนุษย์น้ำแข็ง’

ผลจากการผ่าร่างของมัมมี่ที่มีอายุ 5,300 ปี ซึ่งรู้จักกันในชื่อมนุษย์น้ำแข็ง หรือเอิตซี ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถค้นพบเรื่องราวใหม่เกี่ยวกับเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะของมนุษย์ โดยนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันมัมมี่และมนุษย์น้ำแข็งแห่งสถาบันโบลซาโน ยูโรเปียน (ยูแรค) ที่ถูกพบที่เมืองโบลซาโน ตอนเหนือของประเทศอิตาลี ได้ทำการนำเอาเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (เอชไพโลไร) ออกจากกระเพาะอาหารเพื่อทำการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ ซึ่งหลังจากการวิเคราะห์ ผลที่ได้คือมนุษย์น้ำแข็งนี้มีแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ไม่พบในมนุษย์ยุคใหม่

อัลเบิร์ต ซิงค์ ผู้อำนวยการของยูแรค เปิดเผยว่า แบคทีเรียที่พบในร่างมัมมี่นี้เป็นสายพันธุ์แท้ ไม่ใช่พันธุ์ผสม ซึ่งทำให้สามารถบอกได้ว่ายีนของเฮลิโคแบคเตอร์ในยุโรปในอดีตนั้นแตกต่างไปจากที่เคยคาดคิดไว้ก่อนหน้านี้

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะทำการศึกษาร่างมัมมี่นี้เพิ่มเติมอีกเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมและที่มาของแบคทีเรียเหล่านี้ต่อไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image