Cloud Lovers : รุ้งต่ำ รุ้งสูง & รุ้งเต็มวง โดย บัญชา ธนบุญสมบัติ

ใครๆ ก็ชื่นชอบสายรุ้งแสนสวย รุ้งที่เราเห็นบ่อยๆ มี 2 เส้น เส้นที่ชัดกว่าคือ รุ้งปฐมภูมิ (a primary rainbow) มีสีแดงอยู่ด้านบน ส่วนเส้นที่จางกว่าคือ รุ้งทุติยภูมิ (a secondary rainbow) มีสีแดงอยู่ด้านล่าง ลำดับสีจำง่ายๆ ว่า “รุ้งสองตัวหันสีแดงเข้าหากัน” ทั้งนี้ ฝรั่งมองรุ้งปฐมภูมิและรุ้งทุติยภูมิเป็นรุ้งชุดเดียว เรียกว่า a double rainbow แปลว่า รุ้งคู่ ดูภาพที่ 1 สิครับ

ภาพที่ 1 รุ้งคู่
ภาพ : วิกรม สมพงษ์

รุ้งคู่เกิดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เสมอ โดยดวงอาทิตย์ต้องอยู่สูงพอเหมาะ คำถามก็คือ ที่ว่า “สูงพอเหมาะ” นี่แค่ไหนกัน?

ก่อนตอบคำถามนี้ ต้องรู้ก่อนว่าจริงๆ แล้วทั้งรุ้งปฐมภูมิและรุ้งทุติยภูมิต่างก็เป็นวงกลม มีจุดศูนย์กลางอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์ (เรียกว่าจุด antisolar point) โดยรุ้งปฐมภูมิและรุ้งทุติยภูมิมีขนาดรัศมี 42 และ 51 องศา ตามลำดับ

ดังนั้น อาจจำง่ายๆ ว่า  ตรงข้ามกันเสมอ

Advertisement

ระบุตัวเลขเป๊ะๆ คือ หากเราอยู่ที่พื้น ถ้าดวงอาทิตย์อยู่สูงกว่า 42 องศา เราจะมองไม่เห็นรุ้งปฐมภูมิ (ภาพที่ 2(a) บนสุด) แต่เมื่อดวงอาทิตย์ต่ำลงเรื่อยๆ เราก็จะเห็นรุ้งปฐมภูมิสูงจากขอบฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ (ภาพที่ 2(b) และ 2(c)) จนเมื่อดวงอาทิตย์อยู่ที่ขอบฟ้า เราจะเห็นรุ้งปฐมภูมิแบบครึ่งวง (ภาพที่ 2(d) ล่างสุด)
รุ้งที่อยู่ใกล้พื้น เรียกว่า รุ้งต่ำ (low bow) เช่น ภาพที่ 3 ส่วนรุ้งที่อยู่สูงจากพื้น เรียกว่า รุ้งสูง (high bow) เช่นภาพที่ 1

ภาพที่ 2 ความสูงของรุ้งขึ้นกับมุมเงยของดวงอาทิตย์
ภาพที่ 3 รุ้งต่ำ
ภาพ : นิคม กอนแก้ว

อาจจำง่ายๆ ว่า การที่เราเห็นรุ้งไม่เต็มวงเป็นเพราะขอบฟ้าบังส่วนล่างของรุ้งเอาไว้ (เป็นแค่เทคนิคการจำเท่านั้น เพราะไม่ถูกเป๊ะตามหลักทางทัศนศาสตร์) ดังนั้น ถ้าอยากเห็นรุ้งเต็มวง (a full-circle rainbow) จึงต้องขึ้นที่สูงครับ อย่างภาพที่ 4 นี่ ช่างภาพใช้โดรนถ่ายจากแถวๆ น้ำตกวิกตอเรีย

ภาพที่ 4 รุ้งเต็มวง
ภาพ : Sergey Shandin และ Stas Sedov
http://metro.co.uk/2016/02/03/drone-captures-full-circular-rainbow-inside-worlds-biggest-waterfall-5660419/
ภาพที่ 6 : รุ้งแนวระดับ
ภาพ : ยงยุทธ ใจมีธรรม

ผมเคยเห็นรุ้งเต็มวงครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2557 เย็นวันนั้นบินออกจากสนามบินภูเก็ตราว 18:30 น. แน่นอนว่านั่งติดหน้าต่างตามประสาคนรักเมฆ แต่ตอนแรกยังนึกเสียดายว่าไม่ได้นั่งฝั่งทิศตะวันตก จะได้ลุ้นเห็นตะวันลับฟ้างามๆ

แต่พอบินขึ้นไปได้แค่ 5-6 นาที ก็เริ่มเห็นสายฝน แล้วรุ้งเต็มวงก็โผล่มาต่อหน้าต่อตา ตื่นเต้นมาก แต่โชคดีได้เก็บภาพและคลิปด้วยกล้องคอมแพ็กต์เอาไว้ เลยนำคลิปมาฝาก สแกน QR Code ในภาพที่ 5 ดูได้เลยครับ รุ้งเต็มวงในคลิปนี้ยังเป็น รุ้งแดง (red rainbow) อีกด้วย

ภาพที่ 5 : คลิปรุ้งเต็มวง
https://www.youtube.com/watch?v=jQHeBTp2xXk
ภาพ : บัญชา ธนบุญสมบัติ

สุดท้าย สมมุติว่าคุณผู้อ่านอยู่บนเครื่องบินช่วงเที่ยงๆ คือ ดวงอาทิตย์อยู่สูง แต่ต่ำกว่าตัวเครื่องบินลงไป ฝนเพิ่งหยุดตกได้ไม่นาน นั่นคือ ยังมีหยดน้ำฝนมากมายลอยอยู่ในอากาศ จะเกิดอะไรขึ้น?

แบบนี้ก็เป็นได้ว่าคุณมีลุ้นเห็น รุ้งแนวระดับ (horizontal rainbow) เป็นวงลอยอยู่ใต้เครื่องบิน ตามหลักที่ว่ารุ้งปฐมภูมิจะอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์เสมอ ดูภาพที่ 6 ครับ

คราวหน้าจะชวนไปรู้จักรุ้งพิสดารแบบอื่นๆ โปรดติดตามด้วยใจระทึก!

ขุมทรัพย์ทางปัญญา
สนใจรุ้งแบบต่างๆ ขอแนะนำ http://www.atoptics.co.uk/bows.htm
ขออภัย : คำว่า smartphone ในชื่อบทความคราวก่อนต้องสะกดเป็นคำเดียว (เขียนติดกัน)

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image