ปัญหาการขาดแคลนน้ำแก้ได้ ตัวอย่างจากอิสราเอล

กว่ายี่สิบจังหวัดทั่วประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์แล้งน้ำ นับเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างความเสียหายและเป็นที่น่ากังวลอย่างยิ่ง แม้ว่าการขาดแคลนน้ำจะไม่ใช่คำสาปที่แก้ไม่ได้ แต่ก็นับเป็นปัญหาใหญ่

ปัญหาหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงแนวทางการบริหารจัดการน้ำหลายๆ วิธีที่อิสราเอลนำมาใช้ จะเห็นได้ว่าทางออกของปัญหามีได้หลายแนวทางด้วยกัน

นับตั้งแต่การสถาปนาประเทศอิสราเอลเมื่อ 71 ปีก่อน

ปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรงเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง ประเทศอิสราเอลตั้งอยู่ในภูมิภาคที่แห้งแล้งแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนของปริมาณน้ำฝน

Advertisement

ภาวะภัยแล้งที่เกิดขึ้นเป็นประจำหลายปี รวมถึงการขาดแคลนแหล่งน้ำจืด ข้อจำกัดทางธรรมชาติอย่างรุนแรงผลักดันให้ประเทศเล็กๆ และมีทรัพยากรที่จำกัดอย่างอิสราเอล ต้องแสวงหาวิทยาการที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาให้ประชาชนใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบาย

จากสถานการณ์ข้างต้น อิสราเอลจำเป็นต้องหาแนวทางที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน เพื่อช่วยให้ประชาชน เกษตรกรและภาคอุตสาหกรรมสามารถคาดการณ์สภาวะการขาดแคลนน้ำได้อย่างแม่นยำ ช่วงแรกของการสถาปนาประเทศนับตั้งแต่สมัยของนายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอล นายเดวิด เบน-กูเรียน เป็นต้นมา อิสราเอลพัฒนาแนวคิดต่างๆ ของเกษตรกรและชุมชนในท้องถิ่นภายในประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป นำไปสู่การพัฒนาด้านวิทยาการทั้งในมหาวิทยาลัยและบริษัทเอกชน โดยภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมมาโดยตลอด น้ำได้กลายเป็นวาระแห่งชาติ โดยที่ผ่านมาอิสราเอลได้พัฒนานโยบายน้ำแห่งชาติมาตลอด ซึ่งนำมาสู่การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ปัจจุบันอิสราเอลเป็นที่ยอมรับในฐานะผู้นำโลกในด้านน้ำและมีระบบน้ำที่มีประสิทธิภาพและก้าวหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ปริมาณน้ำดื่มกว่าร้อยละ 80 ในอิสราเอลมาจากกระบวนการแยกเกลือออกจากน้ำ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นหนึ่งในโครงการขนาดใหญ่ระดับประเทศ ซึ่งต้องอาศัยการลงทุนจากภาครัฐ และในปัจจุบันอิสราเอล

Advertisement

ได้ดำเนินการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลเป็นปริมาณมากที่สุดของโลกอีกด้วย

สำหรับภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมได้ใช้น้ำจากแหล่งต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะผ่านกระบวนการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งอิสราเอลเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีสัดส่วนการนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่มากที่สุดในโลก โดยใช้ในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมประมาณร้อยละ 75 เห็นได้ชัดจากภูมิภาคเนเกฟทางตอนใต้ของอิสราเอล ซึ่งเป็นพื้นที่ทะเลทราย ปริมาณน้ำเกือบทั้งหมดที่นำมาใช้จึงเป็นน้ำจากการบำบัดน้ำเสีย แม้ว่าต้องเผชิญกับสภาวะที่

แห้งแล้ง แต่เกษตรกรในภูมิภาคก็สามารถผลิตพืชผล

ชั้นเยี่ยมเพื่อการส่งออกได้

อีกหนึ่งกระบวนการที่สำคัญคือการเกษตรแม่นยำ นวัตกรรมอย่างแรกคือระบบชลประทานน้ำหยด ซึ่งเป็นระบบที่กำหนดให้ใช้น้ำจำนวนน้อยนิด หยดลงบนราก

ของพืช นอกจากจะใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว

ยังช่วยเพิ่มพูนผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่มีการนำระบบชลประทานน้ำหยดไปใช้กันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก นอกจากนี้ นวัตกรรมรุ่นต่อมาของการเกษตรแม่นยำที่ใช้ในอิสราเอลมีอีกหลายรูปแบบ

อย่างเช่น การนำปุ๋ยมาใส่ในระบบชลประทานน้ำหยด หรือการควบคุมแปลงเกษตรผ่านระบบคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจจับและส่งสัญญาณแจ้งให้เกษตรกรทราบถึงปริมาณความชื้น ศัตรูพืชและอื่นๆ ได้อย่างแม่นยำ นวัตกรรมทั้งหมดนี้นำมาสู่การเกษตรแม่นยำ ซึ่งทำให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรที่จำกัดได้อย่างเต็มที่และเพิ่มพูนผลผลิตทางการเกษตรอย่างชัดเจน

วิทยาการขั้นต่อไปที่อยู่ระหว่างการพัฒนาคือ

เครื่องมือผลิตน้ำจากอากาศ นั่นคือการนำอากาศมาผลิตน้ำดื่ม นับได้ว่าเป็นการผลิตน้ำจากสิ่งที่ ?จับต้องไม่ได้? เป็นที่คาดการณ์ว่าเครื่องผลิตน้ำดังกล่าวจะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างเหลือเชื่อต่อชีวิตในพื้นที่ใดๆ ก็ตามบนโลกที่อยู่ในสภาวะแล้งน้ำ

ทุกๆ สองปีอิสราเอลเป็นเจ้าภาพจัด งานสัมมนาและนิทรรศการด้านเทคโนโลยีน้ำและการควบคุมสภาพแวดล้อม (WATEC) ซึ่งเป็นเวทีนานาชาติด้านน้ำที่นำสมัยที่สุดของโลก เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้

แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ และมีการแสดงผลงานด้านวิทยาการการบริหารจัดการน้ำที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ในงานนี้จะมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากประเทศต่างๆ และบริษัทชั้นนำทั่วโลกมาร่วมหารือและระดมสมองเกี่ยวกับวิทยาการด้านน้ำ

เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนยิ่งขึ้นในอนาคต

ประเทศไทยและอิสราเอลมีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างใกล้ชิดมาตลอด 65 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเกษตรและการบริหารจัดการน้ำ ในช่วง 60 ปี

ที่ผ่านมา อิสราเอลได้จัดโครงการฝึกอบรมให้ผู้เชี่ยวชาญชาวไทยในหลายสาขากว่าพันคน ซึ่งหลายท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์ด้านการเกษตรและ

ด้านน้ำ ที่เห็นได้ชัดเจนคืออิสราเอลได้ร่วมแรงร่วมใจ

แบ่งปันความรู้ เทคโนโลยีด้านการชลประทานให้เกษตรกรท้องถิ่นในโครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ที่มีการจัดการในรูปแบบสหกรณ์ นอกจากนั้น

ยังมีแรงงานไทยที่อยู่ในภาคการเกษตรของอิสราเอลประมาณ 25,000 คน ซึ่งหลายคนได้ใช้วิทยาการดังกล่าวจากการทำงานในแต่ละวัน และเก็บเกี่ยวความรู้อันมีค่าที่สามารถนำมาใช้ได้เมื่อกลับสู่แผ่นดินไทย ยิ่งไปกว่านั้นแต่ละปียังมีนักเรียนไทยประมาณหนึ่งร้อยคนเดินทางไปอิสราเอลเพื่อเข้าโครงการพิเศษที่จัดให้มีการทำงานในภาคการเกษตรขนาดใหญ่ พร้อมกับเข้าเรียนในหลักสูตรการเกษตรและการบริหารธุรกิจ

บุคคลชั้นนำของประเทศไทยได้รับเชิญให้เข้าร่วมงาน WATEC 2019 ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ที่นครเทลอาวีฟ เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า งานนี้จะเป็นโอกาสพิเศษและเป็นเวทีให้ผู้เชี่ยวชาญได้พบปะ สนทนา แลกเปลี่ยนความคิดด้านน้ำและการจัดการน้ำ อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาเรื่องน้ำและนำมาซึ่งผลประโยชน์ร่วมกัน

อิสราเอลหวังว่าประเทศไทยจะสามารถนำประสบการณ์และความรู้ของอิสราเอลมาปรับใช้เพื่อเอาชนะปัญหาภัยแล้งรุนแรงที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่

รวมถึงเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรท้องถิ่นและประชากรในรุ่นต่อๆ ไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image