จากแก้รัฐธรรมนูญ ถึงท่าทีย้อนแย้ง จากนายกรัฐมนตรี

จากแก้รัฐธรรมนูญ ถึงท่าทีย้อนแย้ง จากนายกรัฐมนตรี

จากแก้รัฐธรรมนูญ ถึงท่าทีย้อนแย้ง จากนายกรัฐมนตรี

ใครว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไม่เห็นการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญของ 7 พรรคร่วมฝ่ายค้านอยู่ในสายตา

ในทางตรงข้าม การแสดงออกของคนรอบข้างและนายกรัฐมนตรีเองล้วนสะท้อน “ความหวั่นไหว”

และจุดยืนเหนียวแน่นที่จะ “ไม่แก้ไข” รัฐธรรมนูญฉบับที่ “ออกแบบมาเพื่อพวกเรา” อย่างเหนียวแน่น

Advertisement

ลองดูได้จากการแสดงจุดยืนครั้งล่าสุด

10.20 น. วันที่ 2 ตุลาคม พล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ว่า

เรามีกฎหมายไว้ให้ทำหรือไม่ให้เกิดปัญหา ถ้าไม่เคารพกฎหมายมันก็เลิกหมด

Advertisement

ทุกประเทศที่เขาเจริญ เขาเคารพกฎหมายทุกตัว

แต่ชวนกันเลิกกฎหมายหรือชวนแก้กฎหมายให้มากที่สุด ตนไม่รู้มันย้อนทางกันอย่างไรยังไม่รู้เลย

การแก้ปัญหาอะไรก็ตาม ต้องใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหา เพราะปัญหาไม่ใช่แก้ง่ายๆ หรือแก้เร็วๆ แล้วจบ

แล้วปัญหาจะเกิดอีกหรือไม่ ในวันหน้าก็เกิดขึ้นอีกนั่นแหละ เราต้องแก้วิธีการคิดใหม่ใช้สติปัญญาแก้ทุกเรื่อง

กฎหมายทุกตัวต้องใช้ได้ ทุกอย่างจะมีการพัฒนา เศรษฐกิจก็เดินหน้าไปเรื่อยๆ

“เพราะฉะนั้น ขอความกรุณาช่วยกันเถอะ ผมรับผิดชอบอยู่แล้ว โยนไปให้ใครไม่ได้ นายกฯ ต้องรับผิดชอบ แต่ช่วยผมหน่อยเท่านั้นเอง ผมขอแค่นั้นแหละ

กรุณาฟังสิ่งที่ผมพูดบ้าง เจตนาของผมไม่มีอะไรกับใครทั้งสิ้น แต่จะให้ผมพูดคำหวานอย่างเดียวก็คงไม่ใช่

ทุกคนชอบคำหวาน เสร็จแล้วนั่นก็คือยาพิษสำหรับท่าน การช่วยคนถ้าช่วยในทางที่ไม่ถูกต้อง นั่นคือการให้ยาพิษ

วันหน้าท่านก็ตายอยู่ดี ผมไม่ใช่คนแบบนั้น”

จุดยืนไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ

และคำประกาศให้เคารพกฎหมายทุกฉบับ

ไม่เพียงแต่ย้อนแย้งกับพฤติกรรมยึดอำนาจล้มล้างรัฐธรรมนูญ และออกกฎหมายโดยที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมกว่า 500 ฉบับ

แต่ยังตรงข้ามกับ “แนวทางปฏิรูป” ของรัฐบาล ตั้งแต่ชุดที่แล้วถึงชุดปัจจุบันเอง

ที่จะลดหรือแก้ไขกฎหมายเก่าแก่ ล้าสมัย และระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศนับพันฉบับ

ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมการปฏิรูปและขับเคลื่อนกฎหมายเร่งด่วน และประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย ให้สัมภาษณ์ว่า

มีความจำเป็นที่จะต้อง “รื้อ” กฎหมายที่โบราณล้าสมัยทิ้งไป

เริ่มตั้งแต่กฎหมายก่อนปี 2500 หรือกฎหมายที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

ภายใต้การปฏิรูปเรื่องใหญ่ 3 ด้าน คือ

1.การทำกฎหมายให้ดี ได้แก่ การเลิกกฎหมายที่ไม่จำเป็น-ล้าสมัย สร้างภาระให้กับประชาชน

2.ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมในสังคม

3.ทำให้ประเทศแข่งขันในโลกได้ เช่น การแก้กฎหมายเพื่อลดการใช้โลจิสติกส์ที่ปัจจุบันสูงถึง 10 เปอร์เซ็นต์

กฎหมายภาษีอากร-ดึงคนมาให้เสียภาษีในระบบเพิ่มมากขึ้น

ขอบข่ายกฎหมายที่จะถูกรื้อ เป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จำนวน 1,300 ฉบับ

และกฎหมายลูก อาทิ พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กฎกระทรวง จำนวนหลายแสนฉบับ และระเบียบ-หนังสือเวียนนับล้านฉบับ

“กฎหมายล้าสมัย เช่น กฎหมายเครื่องขยายเสียง พ.ศ.2497 ถ้าปัดฝุ่นมาใช้ก็ผิดกันทั้งประเทศ เพราะห้ามใช้เครื่องกระจายเสียงพูดภาษาต่างประเทศ และห้ามหน่วยงานอื่นใช้นอกจากข้าราชการ

กฎหมายเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2457 ใช้มาตั้งแต่สมัยปลายรัชกาลที่ 5 ขึ้นรัชกาลที่ 6 ก็ยังใช้อยู่”

โดยระบุว่าความยากของการปฏิรูปกฎหมาย คือระบบราชการ

“หลายประเด็นที่ขอแก้ไขไปไม่คืบหน้า เช่น การทบทวนใบอนุญาตจาก 5,000 ใบอนุญาต เหลือ 1,000 ใบอนุญาต

เนื่องจากใบอนุญาตหมายถึงอำนาจของเขา

หรือเรื่องที่ซี 7 ชงขึ้นมา รัฐมนตรีก็เชื่อ ซี 7 ก็ยื้ออยู่

มันไม่ง่าย”

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อมาโยงเข้ากับท่าทีที่พลิกหน้ามือเป็นหลังมือได้ตามชอบใจของนายกรัฐมนตรี

จึงดูย้อนแย้งพิสดารด้วยประการฉะนี้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image