สพฐ.กำชับ225 เขตพื้นที่ฯเข้มระบบกรอกข้อมูลเด็กยากจนพิเศษ

เมื่อวันที่19  พฤศจิกายน ว่าที่รต.ธนุวงษ์จินดาผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเปิดเผยภายหลังหารือชี้แจงการดำเนินงานจัดทำข้อมูลระบบการคัดกรองนักเรียนยากจนและนักเรียนยากจนพิเศษประจำภาคเรียนที่2/2562 ให้แก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) ทั้ง255 เขตทั่วประเทศผ่านระบบTele Conferenc ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) ว่าปีการศึกษา2562 มีนักเรียนยากจนพิเศษระดับชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้นผ่านการรับรองจากคณะกรรมการสถานศึกษาจำนวนทั้งหมด723,604 คนได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไขหรือทุนเสมอภาคจากกสศ. จำนวนทั้งสิ้น699,737 คนใน27,512 สถานศึกษาสังกัดสพฐ. ทั่วประเทศหรือร้อยละ98.5 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามร่วมมือจากสถานศึกษาและเขตพื้นที่ที่ช่วยกันกรอกข้อมูลเข้ามาได้ทันเวลาเกือบ100% อย่างไรก็ตามพบว่าในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2562 ที่ผ่านมายังมีสถานศึกษาที่บันทึกข้อมูลเลขบัญชีธนาคารไม่ถูกต้องจำนวน309 สถานศึกษาส่งผลให้นักเรียนที่อยู่ในเกณฑ์นักเรียนยากจนพิเศษเสียโอกาสได้รับเงินอุดหนุนสร้างโอกาสทางการศึกษานี้ไปดังนั้นในภาคเรียนที่2 /2562 นี้จึงขอความร่วมมือให้สพท.ทั้ง225 เขตติดตามกำชับให้สถานศึกษาและคุณครูร่วมกันกรอกข้อมูลในขั้นตอนต่างๆให้ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งนี้กสศ.ช่วยพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อเป็นเครื่องมือให้ทั้ง225 เขตพื้นที่การศึกษาซึ่งเป็นหน่วยกำกับติดตามสามารถติดตามการคัดกรองการจัดสรรเงินทุนเสมอภาคของทุกโรงเรียนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์แบบเรียลไทม์

ว่าที่รต.ธนุ กล่าวต่อว่า  สิ่งที่สพฐ.ให้ความสำคัญอีกเรื่องคือนักเรียนที่มีความด้อยโอกาสหลายประเภทล่าสุดได้ประสานให้ทางกสศ. ปรับระบบการคัดกรองความยากจนCCT ในภาคเรียนที่2/2562 ให้ครูสามารถเลือกความด้อยโอกาสได้หลายประเภทเพื่อช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาความเดือดร้อนซ้ำซ้อนได้นอกจากนี้จากรายงานผลลัพธ์โดยระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาพบว่า98% ของนักเรียนทุนเสมอภาคมาเข้าเรียนสม่ำเสมอตามเกณฑ์มาตรฐานคือไม่น้อยกว่า80% ข้อมูลนี้ช่วยยืนยันว่าเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไขแม้เป็นจำนวนไม่มากแต่สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของนักเรียนและครอบครัวได้จริงเพราะการขาดเรียนบ่อยเป็นสัญญาณเตือนของการหลุดออกจากระบบการศึกษาอย่างไรก็ตามยังมีนักเรียนอีก2% ที่ตัวเลขการมาเรียนไม่ถึง80 % ตามเงื่อนไขของเงินอุดหนุนทางสพฐ.และกสศ.ไม่นิ่งเฉยต่อปัญหานี้โดยร่วมกันวางระบบส่งต่อข้อมูลเร่งติดตามเพื่อนำเด็กกลุ่มนี้เข้าสู่ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียนสพฐ. รวมถึงบูรณาการความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆเพื่อแก้ปัญหาเป็นรายคนป้องกันไม่ให้มีนักเรียนคนใดหลุดออกจากระบบการศึกษา

ด้านนายไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกสศกล่าวว่า เงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไขเป็นนวัตกรรมปฏิรูปมาตรการลดความเหลื่อมล้ำที่เป็นแนวทางเดียวกับงานวิจัยที่ได้รับรางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์ปีนี้ซึ่งหลายประเทศประสบความสำเร็จในการใช้มาตรการดังกล่าวลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอย่างมีประสิทธิผลกสศ. จึงได้วิจัยพัฒนามาตรการดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทยเป็นที่แรกร่วมกับสพฐ. เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่ยากจนที่สุดได้ตรงความต้องการที่แท้จริง

คุณครูสามารถคัดกรองและบันทึกข้อมูลนักเรียนกลุ่มเข้าใหม่และนักเรียนที่ประสงค์ขอรับทุนเสมอภาคเพิ่มเติมได้ระหว่างวันที่1-20 ธันวาคม2562 นี้นอกจากนี้ในปีการศึกษา2563 กสศ.ยังได้เตรียมขยายฐานการช่วยเหลือไปถึงเด็กอนุบาลยากจนพิเศษราวประมาณ1.5 แสนคนโดยมีมติขยายผลการดำเนินการช่วยเหลือนักเรียนยากจนพิเศษสู่ระดับอนุบาลในปีงบประมาณ2563 นี้อย่างไรก็ตามงบประมาณที่แน่นอนจะต้องรอร่าง... งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ2563 ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาคาดว่าจะทราบผลในเดือน.. 62-.. 63 นี้นายไกรยสกล่าว

Advertisement

นายไกรยส กล่าวต่อว่า กสศ.ร่วมกับซุปเปอร์โพลล์สำรวจความคิดเห็นของคุณครูกลุ่มตัวอย่าง500 คนทั่วประเทศครอบคลุมทุกภูมิภาคที่มีต่อโครงการเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษอย่างมีเงื่อนไขพบว่าร้อยละ96 เห็นว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์แก่นักเรียนมากถึงมากที่สุดร้อยละ96.71 พร้อมสนับสนุนโครงการระดับมากถึงมากที่สุดและร้อยละ89.8 เห็นว่าการที่ครูได้ลงเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อทำการคัดกรองตลอดจนกระบวนการทั้งหมดมีประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนในระดับมากถึงมากที่สุด

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image