คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12 : “POST”วาจา”ไม่ออก”

คําประกาศไม่ลาออกของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม้ประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ มีชัย ฤชุพันธุ์ จะผ่านหรือไม่ผ่านก็ตามนั้น ถือเป็นสัญญาณทางการเมืองที่ชัดเจน

ชัดเจนว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะไม่ยอมให้การครองอำนาจสะดุดหรือขาดตอนอย่างแน่นอน

การสืบทอดŽ ยังต้องดำเนินต่อไป

จะ เล่นเองŽ หรือ ซ่อนรูปŽ ค่อยว่ากัน และไม่น่าเป็นปัญหา

Advertisement

เพราะประโยคที่ตามมาของ การไม่ออกŽ คือ ผมคือผู้กำหนดกติกาŽ

ซึ่งหากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ ก็อาจยุ่งยากหน่อย เพราะ คสช.คงต้องไปคิดว่าจะทำอย่างไร ตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกนาน

หรือแก้รัฐธรรมนูญ ใช้ทางลัดให้อำนาจ คสช.ปรับปรุงรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งฉบับใดมาใช้เลย ซึ่งก็อาจทำให้มีการเลือกตั้งตามโรดแมปที่วางไว้

Advertisement

แต่ถ้าหากรัฐธรรมนูญผ่าน ทุกอย่างก็เดินไปตามโรดแมป

ซึ่งไม่ว่าจะทางไกล กรณีประชามติไม่ผ่าน หรือทางใกล้ กรณีประชามติผ่าน

สิ่งที่เหมือนกันคือ ยังอยู่ภายใต้อำนาจของ คสช.อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

และ คสช.นี่เอง จะต้องเขียน กติกาŽ เพิ่มเติมขึ้นมาอีกชุด ซึ่งถือเป็นกติกา

ที่สำคัญ เพราะเป็นกติกาเพื่อ การปฏิบัติŽ

จะสืบทอดอำนาจเพื่อ ประโยชน์แห่งชาติŽ อย่างไรก็อยู่ที่กติกานี้

โดยหากรัฐธรรมนูญผ่าน ก็คงต้องเดินไปตามทางที่วางไว้นั่นคือ ให้คณะกรรมการ

ร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) นำโดย มีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นผู้จัดทำพระราชบัญญัติประกอบ

รัฐธรรมนูญขึ้นมาอีกอย่างน้อยเก้าฉบับ คือ

(1) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(2) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

(3) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(4) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

(5) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

(6) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง

(7) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน

(8) พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

(9) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

และอาจแถม (10) กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ ที่มาทำหน้าที่กำกับการใช้เงินของรัฐให้ใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

โดยในบทเฉพาะกาล มาตรา 259 กำหนดด้วยว่า ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจัดทํา พ.ร.บ.ประกอบฯ ทั้งเก้าฉบับ และกฎหมายวินัยการเงินการคลัง ให้เสร็จภายในระยะเวลา

แปดเดือนนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญถูกประกาศใช้

และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งก็คงเป็นช่วงกลางหรือปลายปี 2560

โปรแกรมนี้อาจจะเปลี่ยนแปลงในกรณีที่รัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ แต่หาก คสช.ยังยึดโรดแมปเดิม ก็คงเดินไม่ต่างจากเส้นทางนี้

ซึ่งนักการเมืองคงลุ้นระทึกในขั้นตอนนี้

ที่ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ออกมาตีปลาหน้าไซ กรณีจะมีการเซตซีโร่ล้างพรรคการเมืองเดิม และเปิดจดพรรคการเมืองใหม่ ก็อยู่ในขั้นตอนนี้แหละ

นั่นคือ ต้องดูว่า พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง จะเขียนออกมาอย่างไร

ซึ่งก็เป็นไปได้ ที่จะเป็นไปอย่างที่คาดหมายไว้

นั่นคือ หากมีใครคิดสืบทอดอำนาจ ก็คงต้องใช้จังหวะนี้แหละเขียนกติกาเพื่อ เอื้อŽต่อแนวคิดดังกล่าว

ที่ผ่านมา ก็เริ่มมีผู้โยนหินออกมาแล้วไม่ใช่หรือ

โดยเฉพาะที่บอกว่า ก็ไปคิดกันมาว่าทำอย่างไร ให้ผมอยู่ (เพื่อบ้านเมือง) ต่อŽ

ชัดแจ๋วขนาดนั้น เหล่าเนติบริกรที่แสนว่องไวมีหรือจะไม่สนอง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image