‘ธำรงศักดิ์’ ชี้ประชาธิปไตยที่เฟื่องฟู คือเป้าของการรัฐประหาร เหตุ เป็นหนทางเปิดความลี้ลับในอดีต

‘ธำรงศักดิ์’ ชี้ ‘ประชาธิปไตย’ ที่เฟื่องฟู คือเป้าของการรัฐประหาร เหตุ เป็นหนทางเปิดความลี้ลับในอดีต

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) จัดเสวนาในหัวข้อ “หา(ย)” : อุดมการณ์- ความทรงจำ- รัฐธรรมนูญ

เวลา 09.50 น. ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า วันศุกร์ที่ผ่านมา การเคลื่อนไหวของกลุ่มนักเรียนที่เคลื่อนไปยังโรงเรียนต่างๆ ทำให้ผมหวนความทรงจำว่าในอดีต โรงเรียนของเราได้กระทำความรุนแรงต่อนักเรียนแค่ไหน พบว่าโดยพื้นฐานทำทุกคน ด้วยการให้ยืนเข้าแถวเคารพธงชาติเป็นชั่วโมงๆ นั่งพับเพียบ เพื่อบ่มเพาะระเบียบวินัย

ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์กล่าวว่า การเคลื่อนไหวนนี้ได้ปลุกความทรงจำของผมขึ้นมาว่า จริงหรือที่ครูและโรงเรียนถึงมีสิทธิทำร้ายเรา ทำไมไม่ทำให้เราใช้ชีวิตในโรงเรียนอย่างสร้างสรรค์ แต่เรากลับถูกกดดัน เยาะเย้ยจากครูหลายคน ‘ทำไมเธอเกิดมาโง่อย่างนี้นะ’ จึงตั้งคำถามถึงการทารุณกรรมในโรงเรียนว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรกับการแขวนที่ต้นมะขาม หรือรั้ว กระบวนการของโรงเรียนทำให้คนต้องหมอบ ราบ แทบสยบฝ่าเท้า การลงโทษกลายเป็นเครื่องมือของกลไกรัฐ โรงเรียนได้ลงโทษเบาแล้วนะ ถ้าเธอออกไปข้างนอก อาจเกิดได้เหมือน 6 ตุลา คือรากเหง้าที่ทำให้สังคมรับระบบรัฐแบบนี้ขึ้นมา

Advertisement

“การแขวนคอที่ประตูแดงในปีนั้น ผมเรียนอยู่ ร.ร.วัดไผ่ล้อม ป.7 อายุ 12-13 ปี ผมไม่รับทราบเรื่องราว แม้เหตุการณ์จะอยู่ห่างถัดไปจากบ้านไม่ไกลนัก จากนั้นมีคนถูกแขวนคอ และถูกตีด้วยเก้าอี้ที่ต้นมะขาม ผมก็ไม่ทราบเรื่องราว หลังจากนั้นย้ายไปเรียน ม.ศ.1 ที่ ร.ร.พระปฐมวิทยาลัย ซึ่งเรานิยมร้องเพลงหนักแผ่นดินกันมาก และเราชอบมาก เพราะทำนองเหมาะแก่การเต้นฉิ่งฉับทัวร์ คือกระบวนการที่ผมได้รับในโรงเรียน คือการเล่าเรื่องว่า นักศึกษาคือฝ่ายคอมมิวนิสต์

“จากนั้นมาเรียนกรุงเทพฯ ม.ศ.4 สอบเทียบ ม.ศ.5 ได้ที่รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ปี 2524 ตอนนั้น
เวลาเราไปเยือนจุฬาฯ จะรู้สึกถึงความเป็นระเบียบ น่าภาคภูมิใจ เมื่อเข้ามา ม.ธรรมศาสตร์ ความรู้สึกคือที่นี่เละเทะ เมื่อเดินเข้ามาในฐานะนักศึกษา ถึงหน้าประตูหอใหญ่ มีป้ายสีขาวเขียนว่า ‘ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน’ และหลังจากนั้น ในฐานะนักศึกษาปีหนึ่ง มีกลุ่มรุ่นพี่ดูแล เล่าเรื่องธรรมศาสตร์อย่างภาคภูมิเรื่องการเคลื่อนไหวของนักศึกษาในธรรมศาสตร์ 14  แต่เรื่องตุลาที่เล่าอย่างซุบซิบคือ การตายของนักศึกษา 6 ตุลา แม้คนเล่ายังเล่าได้อย่างกระปริบกระปรอย รู้เพียงต่อต้านสามเณรถนอมกลับเข้าประเทศ

“ช่วงนั้นป่าแตก มีวงดนตรีวงหนึ่งที่น่าชื่นชม แต่อนนี้อาจจะไม่แล้วคือวงคาราวาน และมีอีกวงคือคาราบาว มาเล่น ในมุมมองคือประหลาด ที่นี่มีอะไรประหลาดเต็มไปหมด มีนักศึกษาที่เรียนเข้าไปในป่าและออกมา จะเป็นกลุ่มมานั่งเล่ากับกลุ่มเพื่อนกิจกรรม ซึ่งผมก็ไปแอบฟัง

Advertisement

“คนหนึ่งก็ไปอยู่ฝรั่งเศสแล้ว อีกคนคือธงชัย วินิจจะกูล เล่าไปร้องไห้ไป ก็คิดว่ามันขนาดนั้นเชียวหรือ
อีกคนเล่าอย่างสะใจมาก คนนั้นคือเกษียร เตชะพีระ เล่าไปก็ต้องสู้ไป ตอนนั้นงงว่าสู้กับอะไร (หัวเราะ)
ถ้าย้ายไปมหาวิทยาลัยอื่นอาจไม่ได้รับฟังเรื่องเล่าเหล่านี้ ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าประเทศอะไรโหดขนาดนี้ ประเทศเรามีจิตใจงดงาม เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แต่เรื่องเล่าใหม่คือโหดว่ะ กลับตาลปัตร ทำให้ผมหนุ่มน้อยวัยสดใส กำลังเข้าสู่สังคมที่ไม่สบายใจ รู้สึกรันทด” ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์กล่าว

ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์กล่าวต่อว่า เมื่อเรียนหนังสือ และต่อจากนั้นทำงานสอนประวัติศาสตร์อย่างสนุก จนวันหนึ่ง อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ชวนมาทำหนังสือ “จาก 14-6 ตุลา” นักศึกษาในที่ประชุมถามอาจารย์เรียงเลขผิดหรือเปล่า อาจารย์บอกตั้งชื่อในคน งง เล่น เราเริ่มทำ ด้วยหวังว่าจะเป็นเครื่องมือสืบค้นความจริงว่าเกิดอะไรขึ้น ในฐานะครูบาอาจารย์ก็มีแต่หนังสือกับปากกที่จะบันทึกสิ่งต่างๆ ไว้ อ.ชาญวิทย์บอกอ่านปรู๊ฟทุกบทความให้ละเอียดลออ แต่งานที่อยากคืออ่านงานแปลของ อ.เบเนดิก แอนเดอสัน ในช่วง 40 ปีที่แล้ว บนพื้นฐานที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่อง 6 ตุลา ในใจอยากอ้วกกับชีวิตมาก


“อาจารย์เริ่มต้นด้วย ‘ประเทศนี้ลงแดงซ้ำซาก วิธีการคือฆ่าคนก็ประเทศตัวเอง ฉีดยาคอมมิวนิสต์เข้าไปทุกวัน’ วันหนึ่งไม่มีคอมมิวนิสต์ก็งง จึงตั้งขึ้นมาใหม่ แล้วฆ่าการเมือง หนังสือบอก รัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ต้องรับผิดชอบกับ 6 ตุลา ผมก็งง”

ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์กล่าวต่อว่า อ.ชาญวิทย์บอกให้ใส่ภาพ เพิ่มเนื้อหาว่าเกิดอะไรขึ้น จึงต้องอ่านหนังสือจำนวนมาก เพื่อทราบว่าเกิดอะไรขึ้น อ.ชาญวิทย์บอกให้เขียนคำบรรยายให้ยาวที่สุด เพราะคนไทยไม่ค่อยอ่านหนังสือ ดังนั้น ให้เขาดูรูปแล้วอ่านคำบรรยายใต้รูป นี่คือภารกิจของผม ทำให้เรื่องยากเข้าใจได้ง่าย ว่าเกิดอะไร อย่างไร จนพัฒนามาเป็นหนังสือ ชื่อ “ตุลา ตุลา” จาก 6 ตุลา 19 ที่ไม่เคยรับรู้ ก็ค่อยๆ เคลื่อนมา ความรับรู้มากขึ้นช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้พร่องแพร่งมาก กว่าจะได้มีอนุสาวรีย์ก็เพราะเรามีประชาธิปไตย

“กระบวนการประชาธิปไตยทำให้เราเปิดเผยเรื่องราวที่ลี้ลับ มืดมน ให้ปรากฏออกมา เมื่อประชาธิปไตยหายไป จะถูกปิด ให้มืด ประชาธิปไตยจึงสัมพันธ์กับกระบวนการรับรู้อดีต สืบค้นความจริง ในทางวิชาการเรามักเชื่อว่าเหตุการณ์ 6 ตุลาคือการปราบปรามนักศึกษาฝ่ายซ้าย ซึ่งในเอกสารรัฐประหารก็ระบุเลยว่านักศึกษาคือสาเหตุของการรัฐประหารครั้งนั้น อาจารย์ชาญวิทย์จึงให้จัดระเบียบการรัฐประหาร พบว่า เฉลี่ยเราอยู่ในช่วงการรัฐประหาร ทุกๆ 6 ปีครึ่ง ซึ่งรัฐบาลประยุทธ์เดินทางมาถึงแล้ว ตามสถิติจึงเป็นไปได้มาก และในรอบ 20 ปี จะเกิดพลังประชาชนหนึ่งครั้ง ช่วงนี้เลยมาแล้ว 1 รอบ เป็นไปได้ทั้งสองทางตามสถิติ

“และที่กำลังทำวิจัยอยู่คือเรื่องคณะรัฐมนตรี ช่วงฟื้นฟูประชาธิปไตยที่ยังตกอยู่ภายใต้พลังรัฐราชการ แต่ไม่ใช่ ปี 16-19 เราไม่ได้ตกอยู่ภายใต้พลังรัฐราชการ แต่ตกภายใต้พลังประชาธิปไตย จากการศึกษาคณะรัฐมนตรีของสัญญา ธรรมศักดิ์ มีนายกฯและรัฐมนตรีรวม 8 คน หลังพ้นตำแหน่งจะได้เป็น องคมนตรี หรือ 1 ใน 4 เมื่อเคลื่อนมาเป็นรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็มาจากการเมือง เป็นรัฐบาลแรกที่มีคณะรัฐมนตรี นักการเมืองจากการเลือกตั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ คือรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์” ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์กล่าว และว่า

มาตราเดียวที่ทำให้การเมืองไทยเปลี่ยน คือมาตราที่ว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. และคนที่สูญเสียประโยชน์คือคณะรัฐประหาร แต่ชนชั้นนำก็สูญเสียสถานภาพได้ จึงถูกอธิบายว่าการรัฐประหารเป็นการปราบปรามฝ่ายซ้าย โดยมีนักศึกษาเป็นเครื่องบูชายัญ แต่เป้าหมายที่แท้จริงคือยิงไปที่ประชาธิปไตยที่กำลังฟื้นฟู

“ม.ร.ว.คึกฤทธิ์บอกว่า ประชาธิปไตยเหมือนภูเขาไฟ จากรัฐบาลทหาร เมื่อเกิดปัญหาจึงรัฐประหาร ปิดทั้งหมด ซึ่งหมายความว่า ถ้ามีประชาธิปไตยต่อเนื่อง ปัญหาจะถูกแก้ไข ด้วยเหตุนี้ เป้าหมายแท้จริงของการทำรัฐประหารคือการทำลายประชาชน มาพร้อมการวางยุทธศาสตร์ 12 ปี ซึ่งคือพ่อของยุทธศาสตร์ ชาติ 20 ปี” ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image