สถานีคิดเลขที่ 12 : ‘เฝ้าดู’-ไม่‘คาดหวัง’

สถานีคิดเลขที่ 12 : ‘เฝ้าดู’-ไม่‘คาดหวัง’ วันรัฐธรรมนูญเพิ่งผ่านไปหมาด-หมาด

สถานีคิดเลขที่ 12 : ‘เฝ้าดู’-ไม่‘คาดหวัง’

วันรัฐธรรมนูญเพิ่งผ่านไปหมาด-หมาด
ผ่านไปท่ามกลางความรู้สึกเฉยชา
ในระดับ “เฝ้าดู” แต่ไม่ “คาดหวัง” ว่า รัฐสภาจะสามารถสร้างกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ ให้ดีเลิศได้อย่างไร
เพราะดูๆ แล้วหวังอะไรที่จะเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นยาก

ในแง่ที่ประกอบอาชีพเป็นสื่อ
นั่งอ่านงานวิชาการ ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ที่เขียนบทความ “สื่อมวลชนในรัฐธรรมนูญ 2560” (ประชาไท Mon, 2017-04-24 16:50)
ได้ทบทวนรัฐธรรมนูญ 2560 ระบุอะไรเกี่ยวกับสื่อมวลชนไว้บ้าง
ที่สำคัญๆ ดังนี้

มาตรา 34 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจํากัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของ บุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของ ประชาชน

Advertisement

มาตรา 35 บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสาร หรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทํามิได้
การให้นําข่าวสารหรือข้อความใดๆ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนจัดทําขึ้นไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจ ก่อนนําไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือสื่อใดๆ จะกระทํามิได้ เว้นแต่จะกระทําในระหว่างเวลาที่ประเทศ อยู่ในภาวะสงคราม
เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย
การให้เงินหรือทรัพย์สินอื่นเพื่ออุดหนุนกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชน รัฐจะกระทํามิได้ หน่วยงานของรัฐที่ใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินให้สื่อมวลชนไม่ว่าเพื่อประโยชน์ในการโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์ หรือเพื่อการอื่นใดในทํานองเดียวกันต้องเปิดเผยรายละเอียดให้คณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินทราบตามระยะเวลาที่กําหนดและประกาศให้ประชาชนทราบด้วย
เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง แต่ให้คํานึงถึงวัตถุประสงค์ และภารกิจของหน่วยงานที่ตนสังกัดอยู่ด้วย

มาตรา 184 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้อง
(4) ไม่กระทําการใดๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม อันเป็นการขัดขวางหรือแทรกแซง การใช้สิทธิหรือเสรีภาพของหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนโดยมิชอบ

มาตรา 98 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(3) เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ

Advertisement

นั่นคือ สาระหลักๆ ที่ระบุเอาไว้เกี่ยวกับสื่อ

ยังไม่รู้ว่า เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ใหม่
จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
ที่ผ่านมา ที่ออกฤทธิ์ออกเดชมาก ก็คือ มาตรา 184 การถือหุ้นสื่อของนักการเมือง
ซึ่งก็มีคำถามมากมายว่า คำวินิจฉัยกรณีดังกล่าว เป็นไปตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญหรือไม่
หรือเพียงจ้องเล่นงาน “นักการเมือง” ฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น

ส่วนการแทรกแซงสื่อที่แอบแฝงมาในรูปแบบอื่น ทั้งทุน ทั้งในลักษณะนอมินี จัดการได้หรือไม่
และตอนนี้ ที่วงการสื่อโดยเฉพาะ ทีวีดิจิทัล มีการเคลื่อนไหวของบางกลุ่มที่มีเป้าหมายทางการเมืองชัดเจนว่าจะเอา-ไม่เอาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดพิเศษ
จนถึงขนาดก่อ “นิวส์ วอร์” ได้
จะดูแลกันอย่างไร–รัฐธรรมนูญใหม่จะวางกรอบกันแค่ไหน
ไม่มีคำตอบให้
นอกจากเฝ้าดู และไม่คาดหวัง อย่างที่ว่าเท่านั้น

สุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image