ภัยเงียบ! หมอ เตือน “โรคกระดูกสันหลัง” ยุค New Normal

จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 โรคระบาดที่ทำให้ประเทศไทย และทั่วโลก ตื่นตัวในการวางมาตรการป้องกัน ที่ส่งผลทำให้หลายคนต้องปรับตัวในการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเลือกใช้ชีวิตแบบ New Normal เว้นระยะห่างทางสังคม โดยใช้โซเชียลติดต่อสื่อสาร จนทำให้เสี่ยงต่อโรคกระดูกก่อนวัยอันควร

ซึ่งในเรื่องนี้ นพ.ดิตถพงษ์ บุญอำพล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์เนิร์ฟ ได้กล่าวภายในงานเสวนาในหัวข้อ “การดูแลตนเองอย่างไรให้ไกลจากโรคกระดูกสันหลังในยุค New Normal” ว่า สถานการณ์โรคทางกระดูกในปัจจุบัน พบพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์ที่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตมากขึ้น ซึ่งในอดีตผู้ป่วยโรคกระดูกส่วนใหญ่จะพบในข้อกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะผู้ที่มีอาชีพเกษตรกรรมที่ต้องทำนาปลูกข้าว แต่หลังจากที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังลดน้อยลง แต่กลับพบปัญหาผู้ป่วยโรคกระดูกคอแทน อาทิ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้น แขนขาชา และกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น ซึ่งจะพบมากในกลุ่มวัยกลางคน จนถึงผู้สูงอายุ

Advertisement

จากสถิติข้อมูลผู้ป่วยในปัจจุบัน ปัญหาโรคกระดูกคอ พบมากในกลุ่มคนเมือง ผู้ใช้แรงงาน และกลุ่มวัยรุ่น ที่มีพฤติกรรมลักษณะการนั่งทำงาน หรือการนั่งเล่นโทรศัพท์มือถือในลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกต้อง จึงทำให้เกิดปัญหาด้านกระดูกเสื่อมก่อนวัยอันควร และสะสมมาเรื่อยๆ จนเริ่มส่งผลชัดเจนเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป โดยพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในแต่ละปี 4 – 5 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน พบว่าโรงพยาบาลที่เชี่ยวชาญด้านกระดูกยังมีน้อย โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์เนิร์ฟ จึงถือว่าเป็นที่แรก และที่เดียวในประเทศไทย ที่ให้การรักษาเฉพาะด้าน โดยเฉพาะการรักษาด้านกระดูกโดยตรง ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ทั้งด้านการให้ความรู้ การรักษาโดยไม่ใช้ยา หรือใช้ยา การผ่าตัดแบบแผลขนาดเล็ก จึงทำให้คนไข้ไม่ต้องนอนพักฟื้นนาน รวมถึงการออกแบบโครงสร้างการใช้อุปกรณ์ทำงาน ห้องนอน และที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับร่างกายของคนไข้อีกด้วย.

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image