“นิติวัชร์”อัยการ จัดทอล์กโชว์เเพร่ความรู้ สิทธิการเข้าถึงการฉีดวัคซีนโดยเที่ยงธรรม

“นิติวัชร์”อัยการ จัดทอล์กโชว์เเพร่ความรู้ ตอน1 “สิทธิการเข้าถึงการฉีดวัคซีนโดยเที่ยงธรรม “รับมือระบาดโควิด

เมื่อวันที่ 8 เมษายน  น.ส.เสฏฐา เธียรพิรากุล อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานประสานงานกระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์ ได้เปิดเผยในรายการ นิติวัชร์ ทอล์ก EP.1 ในประเด็นเรื่อง สิทธิการเข้าถึงการฉีดวัคซีนโดยเที่ยงธรรม ว่า ในภาวะที่ประเทศต่างๆทั่วโลกกำลังต้องเผชิญกับวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นั้น เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า วัคซีนโควิด 19 เป็นแนวทางสำคัญอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าว ซึ่งในปัจจุบันนี้ หลายประเทศได้เริ่มมีการฉีดวัคซีนโควิด 19ให้กับประชาชนในประเทศแล้ว และในอีกหลายประเทศก็อยู่ระหว่างการจัดซื้อ จัดส่งหรือ จำแหน่ายแจกจ่ายฉีดวัคซีนโควิด 19ให้กับประชาชนในประเทศ

ในตอนแรกนี้ รายการ นิติวัชร์ ทอล์ก จึงขอนำเสนอแนวคิดในเรื่องสิทธิการเข้าถึงการฉีดวัคซีนโดยเที่ยงธรรม หรือที่เรียกว่า Right to Equitable Access to Vaccination ซึ่งเป็นหลักการที่มีการนำเสนอโดยองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ อาทิเช่น องค์การสหประชาชาติ องค์การอนามัยโลก และคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อให้มีการแจกจ่ายหรือจำหน่ายวัคซีนอย่างทั่วถึงกันในทุกประเทศ และประชากรทุกชนชั้นในประเทศสามารถเข้าถึงวัคซีนได้โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ

นอกจากนั้น ในประเทศที่พัฒนาแล้วและได้มีการเริ่มฉีดวัคซีนให้กับประชากรของตนเอง อย่างเช่น ในทวีปยุโรปนั้น คณะกรรมการจริยธรรมของสภายุโรป หรือ Council of Europe, Committee on Bioethics ได้ออกแถลงการณ์กรุงสตราสบรูค 30 ข้อ เมื่อวันที่ 22มกราคม 64 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นมาตรฐานและแนวทางว่าควรมีการแจกจ่ายวัคซีนให้กับประชาชนในประเทศของตนเองอย่างไร

Advertisement

กล่าวโดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

ในภาวะที่วัคซีนนั้นหาได้ยากและทุกคนอาจยังไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้นั้น ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ ซึ่งวัตถุประสงค์ในการจัดลำดับความสำคัญในการเข้าถึงวัคซีนนั้น

ควรเป็น 1.เพื่อลดอัตราการตายและการเจ็บป่วยร้ายแรง และ 2.เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19

Advertisement

และแน่นอนว่าย่อมมีบางกรณีที่อาจมีการจัดจำหน่ายวัคซีนโดยคิดราคา ซึ่งการตั้งราคาวัคซีน หรือราคาในการฉีดวัคซีนนั้น ควรมีราคาที่เหมาะสมในลักษณะที่ไม่เป็นการกีดกั้นการเข้าถึงบุคคลกลุ่มใดหรือชนชั้นใด นอกจากนี้ ยังได้มีคำแนะนำด้วยว่า อาจใช้วิธีใหม่ๆหรือมีการปรับรูปแบบวิธีที่จะทำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงวัคซีนได้ เช่น มีการตั้งคลินิกเคลื่อนที่ ร่วมมือกับองค์กรนอกภาครัฐ หรือองค์กรผู้นำชุมชนด้านศาสนาต่างๆ เพื่อช่วยให้วัคซีนนั้นเข้าถึงประชากรทุกกลุ่มทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียม

และสำหรับสาธารณชนทั่วไป ซึ่งเป็นกลุ่มที่อาจยังไม่ได้รับวัคซีนนั้น ก็ควรได้รับข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้อง และสามารถเข้าใจได้ง่ายว่ามีการจัดลำดับความสำคัญในการแจกจ่ายวัคซีนอย่างไร เหตุใดจึงต้องจัดลำดับความสำคัญแจกจ่ายให้กับบุคคลบางกลุ่มก่อน และการจัดลำดับความสำคัญดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์อย่างไร

และเมื่อเริ่มฉีดวัคซีนให้กับประชาชนแล้ว ควรมีการตรวจสอบติดตามผลการฉีดวัคซีนในแต่ละชนิด ว่ามีผลกระทบในเชิงลบจากการฉีดวัคซีนหรือไม่อย่างไร เช่นบางท่านฉีดวัคซีนแล้วอาจมีอาการแพ้ ซึ่งผลการตรวจสอบดังกล่าวควรมีการรายงานในประชาชนทราบ อีกทั้งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับประเทศต่างๆต่อไป

โดยสามารถติดตามชม นิติวัชร์ ทอล์ค EP.1 ได้ตามลิงต์ข่างล่างนี้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image