สวยจริงสวยจัง หนูหนังสือจ๋า ไปไหนกันมา เป็นทิวเป็นแถว

สวยจริงสวยจัง หนูหนังสือจ๋า ไปไหนกันมา เป็นทิวเป็นแถว “สวยจริงสวยจัง หนูหนังสือจ๋า ไปไหนกันมา เป็นทิวเป็นแถว” ยกมาจากบทกวีคำฉันท์ ของ ชิต บุรทัต (พ.ศ. 2435-2485) กวีแผ่นดิน ร.6

สวยจริงสวยจัง หนูหนังสือจ๋า

ไปไหนกันมา เป็นทิวเป็นแถว

สวยจริงสวยจัง หนูหนังสือจ๋า ไปไหนกันมา เป็นทิวเป็นแถว” ยกมาจากบทกวีคำฉันท์ ของ ชิต บุรทัต (.. 2435-2485) กวีแผ่นดิน ร.6 แต่งเป็นวิชชุมาลาฉันท์ขนาดยาวหลายบทลงหนังสือเล่มหนึ่งเมื่อ พ.. 2483

๏ สวยจริงสวยจัง    หนู-“หนังสือ” จ๋า

Advertisement

ไปไหนกันมา       เป็นทิวเป็นแถว?

ลำนำทำนอง              นำร้องรู้แนว

นับเป็นกลแกว       เกี่ยวการเรียนสอน

Advertisement

                               โดย ชิต บุรทัต (.. 2483)

หนังสือทุกชุดทุกเล่ม

สั่งซื้อได้ที่ www.matichonbook.com

หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 08 3888 2555 (ธนสิทธิ์) และ 08 4757 4440 (พรศักดิ์)

บทร้องมุขปาฐะจากหนังสือวัดเกาะ

1. บทร้องมุขปาฐะจากหนังสือวัดเกาะ

เล่มที่ 1 มโหรีและเพลงปฏิพากย์ (628 หน้า) เล่มที่ 2 เพลงทรงเครื่อง (554 หน้า) เล่มที่ 3 เพลงร้องรำพัน (728 หน้า) เล่มที่ 4 เพลงออกสิบสองภาษา (438 หน้า) ปกแข็ง พร้อมกล่อง ราคาชุดละ 1990 บาท

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้จัดพิมพ์หนังสือเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 12 สิงหาคม 2559

บทร้องมุขปาฐะจากหนังสือวัดเกาะ” จัดหมวดหมู่ใหม่เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า โดยแบ่งเนื้อหาเป็น 4 เล่ม ดังนี้

เล่ม 1 มโหรีและเพลงปฏิพากย์ หมายถึงเพลงที่ใช้ร้องส่งเครื่องดนตรีไทยและเพลงพื้นบ้านที่ใช้ร้องโต้ตอบกันระหว่างหญิงกับชาย ตัวบทที่รวบรวมไว้ในชุดนี้ มีดังนี้ มโหรี มี 1 เรื่อง ได้แก่ เพลงเทพอัปสรสวรรค์ เพลงปฏิพากย์ มี 5 เรื่อง ได้แก่ แอ่วลาวแพน, เพลงเรือชาวเหนือ, เพลงปรบไก่หญิงกับชายแก้กัน, เพลงเทพทอง, เพลงยาวเพลงสั้นหญิงกับชายแก้กัน

เล่ม 2 เพลงทรงเครื่อง หมายถึงเพลงฉ่อยที่เล่นเป็นเรื่อง ตัวบทที่รวบรวมไว้ในชุดนี้มี 9 เรื่อง ได้แก่ โคบุตร์ จันทโครบ พระรถ ลิ้นทอง นางมโนรา ขุนช้างขุนแผน ไกรทอง ลักษณวงศ์ และพระอภัยมณี

เล่ม 3 เพลงร้องรำพัน หมายถึงเพลงพื้นบ้านที่ผู้ร้องร้องพรรณนาเพียงคนเดียวตลอดเรื่อง เช่น แหล่เครื่องเล่น และเพลงขอทาน ตัวบทที่รวบรวมไว้ในชุดนี้ มีดังนี้ แหล่เครื่องเล่น มี 4 เรื่อง ได้แก่ เครื่องเล่นมหาพนและแหล่ต่างๆ, เครื่องเล่นมหาพนแหล่ใหม่ล้วน, เครื่องเล่นชูชก และเครื่องเล่นกุมาร เพลงขอทาน มี 4 เรื่อง ได้แก่ เพลงขอทานเรื่องพระยาฉัททันต์, เพลงขอทานเรื่องลักษณวงศ์, เพลงขอทานเรื่องจันทโครบ และเพลงขอทานเรื่องพระสุทน

เล่ม 4 เพลงออกสิบสองภาษา หมายถึงเพลงประกอบการแสดงที่มีคำศัพท์ ทำนอง สำเนียงเลียนอย่างภาษาของชนชาติต่างๆ มีทั้งที่ใช้ในการร้องส่งเครื่องดนตรีไทย และที่ใช้ประกอบการแสดงพื้นบ้าน ตัวบทที่รวบรวมไว้ในชุดนี้ มี 4 เรื่อง ดังนี้ เพลงออกสิบสองภาษาที่ใช้ในการร้องส่งเครื่องดนตรีไทย มี 1 เรื่อง ได้แก่ ลำร้องส่งเครื่องต่างๆ และลำร้องภาษาต่างๆ เพลงออกสิบสองภาษาที่ใช้ประกอบการแสดงพื้นบ้าน มี 3 เรื่อง ได้แก่ ลิเกออกภาษา, ลำสวด และจำอวด

(บน) โรงพิมพ์วัดเกาะ คูหาเดียว (ที่ตั้งแรก) ตึกแถวเลขที่ 472 ถนนวานิช (ล่าง) โรงพิมพ์วัดเกาะ 3 คูหาอยู่ต่อเนื่องถึงกัน

(ต่อมาโรงพิมพ์วัดเกาะย้ายไปที่ถนนจันทน์ ยานนาวา ราว พ.. 2520 จึงเลิกกิจการโรงพิมพ์)

   ทศกุมารจริต

2. ทศกุมารจริต

เขียนโดย ทัณฑิน

แปลโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กุสุมา รักษมณี, รศ. ดร. มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์, ผศ. ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ, ผศ. ดร. ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว และ ผศ. ดร. นาวิน โบษกรนัฏ

ภาพวาดประกอบในเล่มโดย เนติกร ชินโย

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559

ทศกุมารจริต (การผจญภัยของกุมารทั้งสิบ) เป็นนิยายแปลจากต้นฉบับภาษาสันสกฤตของทัณฑิน กวีและนักทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤตในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 เนื้อหาเป็นเรื่องราวการผจญภัยของชายหนุ่มสิบคน มีเจ้าชายวราหะและสหาย สหายทั้งเก้าได้ออกตามหาเจ้าชาย เมื่อทุกคนได้มาพบกันแล้วก็ผลัดกันเล่าเรื่องการผจญภัยของตน แล้วทั้งสิบคนก็ร่วมกันพิชิตศัตรูจนได้ชัยชนะ

ปกแข็ง 344 หน้า ราคา 1,600 บาท

รุธิราชรำพัน (โคลงนิราศหริภุญชัย) และจารึกวัดพระยืน

มรดกความทรงจำแห่งอภินวบุรีศรีหริภุญชัย

3. รุธิราชรำพัน (โคลงนิราศหริภุญชัย) และจารึกวัดพระยืน

มรดกความทรงจำแห่งอภินวบุรีศรีหริภุญชัย

ชำระและอรรถาธิบาย วินัย พงศ์ศรีเพียร

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กรกฎาคม 2562

ปกอ่อน 356 หน้า ราคา 390 บาท

กรมพระจันทบุรี (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังฯ)

4. กรมพระจันทบุรี (เมื่อดำรงตำแหน่งเสนาบดีพระคลังฯ)

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 12 สิงหาคม 2559

โดยแบ่งเนื้อหาสาระออกเป็น 3 ภาค คือ

ภาคที่ 1 เรื่องพระประวัติพระบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทรบุรีนฤนาถ

ภาคที่ 2 เรื่อง กรมพระจันทรบุรี (ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังฯ)

ภาคที่ 3 เรื่อง หม่อมเจ้าหญิงอับษรสมาน กิติยากร ประทานหนังสือแผนกภาษาสันสกฤต ของห้องสมุดพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทรบุรีนฤนาถ แด่หอวชิราวุธ

ปกแข็ง 630 หน้า ราคา 860 บาท

ชุด “วชิรญาณ” รวมทั้งหมด 36 เล่ม ราคา 29,900 บาท

5. ชุด “วชิรญาณ”

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริจะจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2555 จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา จัดพิมพ์หนังสือชุด “วชิรญาณ” เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในวาระสำคัญยิ่งนี้

หนังสือชุด “วชิรญาณ” เป็นหนังสือที่ออกในนามหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระบรมราชตระกูล ประกอบด้วยหนังสือ 6 เรื่อง คือ วชิรญาณ วชิรญาณวิเศษ วชิรญาณสุภาษิต วชิรญาณวิเศษฉบับปีใหม่ วชิรญาณฉบับเฉลิมพระชนม์พรรษา และวชิรญาณสโมสร โดยมีที่มาและสาระสังเขป ดังนี้

1. วชิรญาณ เป็นหนังสือที่กำหนดออกเป็นรายเดือน รวมเย็บเล่มได้ 24 เล่ม ออกครั้งแรกเมื่อพุทธศักราช 2427-2428 แล้วหยุดไป กลับมาออกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อพุทธศักราช 2437-2448 รวม 12 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ ให้ความเพลิดเพลินแก่สมาชิก ตลอดจนรายงานข่าวสารของหอพระสมุดฯ

เนื้อเรื่องแบ่งเป็น 8 แผนก คือ

1. คำนำ เป็นเรื่องแสดงความคิดเห็นในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง

2. การต่างประเทศ รวมเรื่องต่างๆ ในนานาประเทศที่สมาชิกส่งมาลงพิมพ์

3. กิจการ เป็นเรื่องที่เห็นว่ามีคุณประโยชน์ เพื่อความรู้ ความประพฤติ ตลอดจนการประกอบสัมมาอาชีพ

4. เรื่องอ่านเล่น เป็นนิทาน หรือเรื่องต่างๆ ที่ทำให้สมาชิกอ่านแล้วสนุกสนานเพลิดเพลิน

5. เบ็ดเตล็ด เป็นเรื่องปกิณกะ

6. เรื่องโบราณ เป็นเรื่องประวัติศาสตร์ที่ควรรู้ ได้แก่ จดหมายเหตุ สารตราถึงเมืองประเทศราช เป็นต้น

7. โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน

8. รายงานหอพระสมุดวชิรญาณ รายงานการประชุมกรรมสัมปาทิก (กรรมการ) และกิจการของหอพระสมุดฯ

2. วชิรญาณวิเศษ เป็นหนังสือที่มีกำหนดออกเป็นรายสัปดาห์ ออกครั้งแรกเมื่อพุทธศักราช 2428 และฉบับสุดท้ายเมื่อพุทธศักราช 2436 รวมเย็บเล่มได้ 9 เล่ม

วชิรญาณวิเศษเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยกรรมสัมปาทิกสภาปีที่ 4 .. 2427 มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ (พระยศขณะนั้น) เป็นสภานายก ทรงคิดจะจัดทำหนังสือข่าวสารหอพระสมุดวชิรญาณให้แตกต่างจากหนังสือวชิรญาณที่ได้ออกมาแล้ว โดยการออกหนังสือขึ้นอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า “วชิรญาณวิเศษ” กำหนดออกทุก 3 วัน คือวันอาทิตย์และวันพฤหัสบดี ควบคู่กันไปกับการออกหนังสือวชิรญาณ จุดประสงค์ของวชิรญาณวิเศษ คือรายงานข่าวราชการที่เกิดขึ้นทุกวันโดยพิมพ์แจกสมาชิกหอพระสมุดฯ เพื่อทราบ หนังสือนี้ออกได้มานานจึงยกเลิก เนื่องจากโรงพิมพ์หลวงไม่มีกระดาษสำหรับพิมพ์

ต่อมาเมื่อพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงดำรงตำแหน่งสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณ ได้ทรงรื้อฟื้นหนังสือวชิรญาณวิเศษขึ้น แล้วเปลี่ยนเวลาออกและวัตถุประสงค์เสียใหม่ เป็นออกทุก 7 วัน ฉบับแรกเมื่อวันที่ 12 มกราคม พุทธศักราช 2428 และมีเนื้อหาสาระเพิ่มมากขึ้น กำหนดให้กรรมสัมปาทิกผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเรียบเรียงเรื่องมาลง อีกทั้งเชิญสมาชิกร่วมเขียนเรื่องมาลงพิมพ์ด้วย ขณะเดียวกันเมื่อทรงออกวชิรญาณวิเศษแล้ว วชิรญาณรายเดือนที่ออกอยู่จึงทรงยกเลิกไป

วชิรญาณวิเศษที่ออกใหม่นี้ มีการเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปเล่ม คือ กว้าง 24 เซนติเมตร ยาว 32 เซนติเมตร วัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องแสวงหาความรู้ตลอดจนความบันเทิงแก่สมาชิกหอพระสมุดฯ ดังนั้นเนื้อหาภายในเล่มจึงมีเรื่องดีๆ น่ารู้ น่าอ่านมากมาย ทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ขนบธรรมเนียมของบ้านเมือง เรื่องเหล่านี้กรรมสัมปาทิกและสมาชิกแต่งขึ้นเองบ้าง แปลจากหนังสืออื่นบ้าง นำเรื่องเก่าทั้งวรรณคดี ประวัติศาสตร์ ศาสนา มาลงพิมพ์ใหม่ บางเรื่องเป็นประโยชน์แก่การประกอบอาชีพ บางปีนำประกาศพระราชบัญญัติในรัชกาลที่ 4 และที่ 5 มาพิมพ์ไว้เพื่อผู้อ่านจะได้รับทราบ วชิรญาณวิเศษออกอยู่นาน 9 ปี 9 เล่ม จึงยกเลิก

3. วชิรญาณสุภาษิต เป็นหนังสือที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงตำแหน่งสภานายกกอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระบรมราชตระกูล แทนสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร โปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์หนังสือวชิรญาณสุภาษิตขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสจัดงานฉลองหอพระสมุด วชิรญาณที่ได้ตั้งมาเป็นปีที่ 8 และพิธีเปิดอาคารใหม่ ณ บริเวณตึกโรงทองเก่า (ปัจจุบันคือ ตึกสำนักราชเลขาธิการ) เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พุทธศักราช 2432

เนื้อเรื่องนั้น ทรงขอให้สมาชิกหอพระสมุดวชิรญาณทั้งฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และพระราชาคณะ จำนวน 292 ท่าน แต่งโคลงหรือสุภาษิตอย่างสั้นๆ ตามความถนัด พอให้เป็นสำนวนโวหารของสมาชิก จะใช้คำประพันธ์ชนิดใดก็ได้ไม่จำกัด ทั้งโคลงกระทู้ ฉันท์ กาพย์ กลอน ร้อยแก้ว บางข้อเป็นสุภาษิตของเก่าที่ผู้แต่งประทับใจ หรือเป็นสุภาษิตที่นิยมกันในสมัยนั้น แล้วส่งมาจัดพิมพ์ เนื้อหามีทั้งคติโลกและคติธรรม แนะนำให้ละเว้นความชั่ว ทำแต่ความดีอันเป็นคุณประโยชน์แก่ผู้ประพฤติตาม

4. วชิรญาณวิเศษฉบับปีใหม่ เป็นหนังสือที่ออกเพียงฉบับเดียว จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2433 ประกอบด้วยเนื้อหา 6 เรื่อง เป็นพระราชนิพนธ์ พระนิพนธ์ และนิพนธ์ของกรรมสัมปาทิกทั้งหมด มีจำนวนหน้า 43 หน้า

5. วชิรญาณวิเศษฉบับเฉลิมพระชนม์พรรษา เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 37 พรรษา 20 กันยายน พุทธศักราช 2433 ประกอบด้วยเนื้อหา 6 เรื่อง เป็นพระราชนิพนธ์ พระนิพนธ์ และนิพนธ์ของกรรมสัมปาทิกทั้งหมดเช่นเดียวกัน วชิรญาณวิเศษฉบับปีใหม่ มีจำนวนหน้า 26 หน้า

6.วชิรญาณสโมสร เป็นหนังสือเพียงฉบับเดียวที่จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสสมาชิกหอพระสมุดวชิรญาณเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พิธีเปิดอาคารใหม่ ณ สัลลักษณสถาน (ปัจจุบันคือ ศาลาสหทัยสมาคม) เมื่อวันที่ 9 กันยายน พุทธศักราช 2435 ประกอบด้วยเนื้อหา 11 เรื่อง เป็นพระราชนิพนธ์ พระนิพนธ์ และนิพนธ์ของกรรมสัมปาทิก 11 ท่าน มีจำนวนหน้า 42 หน้า

นอกจากหนังสือวชิรญาณที่จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสพิเศษทั้ง 3 คราวแล้ว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล สภานายกปีที่ 13 มีพระดำริที่จะพิมพ์หนังสือที่ระลึกงานพระราชพิธีรัชดาภิเษก พุทธศักราช 2436 ขึ้นอีกเล่มหนึ่ง เพื่อแจกแก่สมาชิกดังเช่นที่ผ่านมา ให้ชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า วชิรญาณรัชดาภิเษก โดยทรงรวบรวมโคลงจารึกแต่งประทีป พระนิพนธ์และนิพนธ์ของพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนาง ที่แต่งประดับลับแลไฟในงานพระราชพิธีรัชดาภิเษกที่จัด ณ พระราชวังบางปะอิน เมื่อพุทธศักราช 2436 มาจัดพิมพ์เป็นเล่ม อย่างไรก็ดี หอพระสมุดวชิรญาณก็ไม่ได้พิมพ์หนังสือวชิรญาณรัชดาภิเษกออกมาตามที่ตั้งความประสงค์ไว้ แต่ได้นำโคลงจารึกฯ นี้ไปลงพิมพ์เป็นตอนๆ ไว้ในหนังสือวชิรญาณฉบับออกรายเดือน เมื่อพุทธศักราช 2437

นอกเหนือจากหนังสือวชิรญาณทั้ง 7 เรื่องดังกล่าวแล้ว กรรมสัมปาทิกสภาปีที่ 10 มีพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ (พระยศในขณะนั้น) เป็นสภานายก มีพระประสงค์จะผลิตหนังสืออีกเล่มหนึ้ง ให้ชื่อว่า แก่นวชิรญาณ เป็นการรวบรวมบรรดาเรื่องที่ลงพิมพ์กระจัดกระจายอยู่ในวชิรญาณเล่มต่างๆ นำมาจัดหมวดหมู่และรวมเป็นเล่มให้เป็นหนังสือชุด (Series) เพื่อความสะดวกในการอ่านและการศึกษาค้นคว้า แก่นวชิรญาณ เล่มแรกที่กรรมสัมปาทิกได้จัดพิมพ์คือ การรวบรวมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องพระราชพิธีต่างๆ ที่ลงพิมพ์ในวชิรญาณวิเศษ เล่ม 4 พุทธศักราช 2431 และเล่ม 5 พุทธศักราช 2432 เรียกหนังสือเล่มนี้ว่า พระราชพิธีสิบสองเดือน ซึ่งกรรมสัมปาทิกสภาปีที่ 12 ได้มอบหมายให้โรงพิมพ์หม่อมเจ้าวัชรินทร์จัดพิมพ์เมื่อพุทธศักราช 2436

สำหรับ สารบัญหนังสือชุด “วชิรญาณ” เป็นการรวมรายชื่อเรื่องต่างๆ ที่จัดพิมพ์ไว้ในหนังสือชุด “วชิรญาณ” ทุกเล่ม มีดรรชนี ซึ่งมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาได้จัดทำขึ้นใหม่ เพื่อประโยชน์และความสะดวกรวดเร็วในการศึกษาค้นคว้า

mockups-design.com

หมิงสือลู่ชิงสือลู่ บันทึกเรื่องจริงแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ตอนว่าด้วยสยาม

และหนังสือระยะทาง ราชทูตไปกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ตั้งแต่ ณ เดือน 8 ปีกุญตรีศกและปีชวด จัตวาศก ในแผ่นดินสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอินทรมนตรีแย้ม ได้เรียบเรียงไว้ในรัชกาลที่ 5

6. หมิงสือลู่ชิงสือลู่

วินัย พงศ์ศรีเพียร บรรณาธิการ

หมิงสือลู่ชิงสือลู่ บันทึกเรื่องจริงแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ตอนว่าด้วยสยาม และหนังสือระยะทาง ราชทูตไปกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ตั้งแต่ ณ เดือน 8 ปีกุญตรีศกและปีชวด จัตวาศก ในแผ่นดินสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอินทรมนตรีแย้ม ได้เรียบเรียง ไว้ในรัชกาลที่ 5

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558

ปกแข็ง 526 หน้า ราคา 390 บาท

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image