Digital Mindset สิ่งที่ท้าทายครูไทย

การเรียนรู้ การยอมรับ และการปรับตัวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับครูในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความท้าทายใหม่ๆ และสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จากยุค IT (Information Technology) สู่ยุค ICT (Information and Communication Technology) มาสู่ยุค Digital และกำลังก้าวเข้าสู่ยุค Metaverse หรือจักรวาลโลกคู่ขนาน ซึ่งความสำคัญของจักรวาลโลกคู่ขนานนี้ คือการที่เทคโนโลยีสามารถเชื่อมโลกแห่งจินตนาการกับโลกแห่งความจริงได้แบบไร้รอยต่อ ทำให้โลกในจินตนาการสามารถเป็นจริงขึ้นได้เรื่อยๆ แต่ถึงกระนั้น…เทคโนโลยีก็ยังต้องการ “ครู” ในการขับเคลื่อนและพัฒนา แรงบันดาลใจจากการรับฟังการบรรยายของ ดร.เอื้ออารี จันทร ในหัวข้อ “Digital Mindset” ทำให้ได้แนวคิดที่นำไปสู่การประยุกต์
ใช้ได้ ดังนี้

ครู เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เพราะครู…เป็นผู้สร้าง และพัฒนาขีดความสามารถของคนควบคู่ไปกับการสร้างแรงบันดาลใจ Mindset หรือกระบวนการทางความคิดของครู จึงมีอิทธิพลต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งต่อบุคคลและต่อสังคม

ในขณะที่ Mindset ของคนเรา แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1) Growth Mindset คือ ชุดความคิดที่ช่วยให้เกิดการพัฒนา และ 2) Fixed Mindset คือ ชุดความคิดที่ยับยั้งการพัฒนา แน่นอนว่าการที่จะสร้างให้คนมี Digital Mindset ได้นั้น ต้องอาศัยการคิดแบบ Growth Mindset คือปลูกฝังความคิดแบบเจริญเติบโต ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนา โดยให้มองว่าการมี Digital Mindset เป็นเรื่องที่ท้าทาย และสามารถสร้างได้ โดยมี

เคล็ดลับ ดังนี้ 1) ก่อนใช้เทคโนโลยีต้องรู้ว่าใช้เพื่ออะไร 2) ใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ 3) ติดตามนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการ และ 4) ฝึกทำงานกับทีมงานที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

Advertisement

การให้ความสำคัญกับ Mindset ของครูร่วมกับแนวทางการขับเคลื่อนที่คล่องแคล่วว่องไว หรือที่เรียกว่า วิถีของ Agile ที่เน้น Interaction ระหว่างบุคคลและการสื่อสารสำคัญกว่ากระบวนการและเครื่องมือ โดยมีเป้าหมายว่า ทำอย่างไรให้คนคิดเร็ว…ทำเร็ว นอกจากเป้าหมายในการสร้างคน ครูยังต้องทำงานร่วมกับเพื่อนครูด้วยกัน ดังนั้น…ครูต้องให้ความไว้วางใจกับทีมงานของตนเอง และร่วมสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงาน

ขณะเดียวกัน ครูต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องซึ่งการพัฒนาสมรรถนะครูในปัจจุบันสามารถพิจารณาได้ 3 ประการ คือ 1) Learn คือ การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ 2) Unlearn คือ ไม่ยึดติดกับความสำเร็จเดิมหรือสิ่งที่เคยเรียนรู้มา และ 3) Relearn คือ เรียนรู้สิ่งที่เคยรู้ด้วยมุมมองใหม่ๆ ถ้าครูมีครบทั้ง 3 ประการนี้ ก็จะสามารถทำงานอยู่ในสภาพการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างที่เรียกว่ารู้เท่าทันสถานการณ์ สอดรับกับความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น อย่างเช่น การผลิตผู้เรียนเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจที่เรียกว่า Gig Economyที่มีแนวโน้มของการขยายตัวที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยเศรษฐกิจแบบ Gig ที่เกิดจากกลุ่มคนทุกสาขาอาชีพที่ไม่ได้ทำงานประจำ (Freelance) แต่สามารถสร้างรายได้ จากทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งถ้าครูมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมและเศรษฐกิจปัจจุบัน ก็จะตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ได้มากขึ้น

สำหรับแวดวงการศึกษา ครูสามารถนำแนวปฏิบัติงานแบบ Gig Economy มาปรับใช้ให้การทำงานไร้ข้อจำกัด โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และที่สำคัญที่สุด คือ การปรับ Mindset และพฤติกรรมของตนเอง โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิด Digital Mindset ให้ได้มากที่สุด ถึงแม้ว่าจะเป็นภารกิจที่

Advertisement

ท้าทายที่ทั้งตัวครูเองก็ยังต้องปรับตัว ซึ่งครูก็หวังว่าผู้เรียนก็จะเรียนรู้และพร้อมที่จะปรับตัวเพื่อรวมพลังในการสร้างอนาคตไปด้วยกัน!!!

น.ส.อภิญรัตน์ สุนทรพรพันธ์
นักศึกษาสาขาวิชาภาวะผู้นำทางการศึกษา
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image