พบแม่พิมพ์หล่อเครื่องประดับงานพระเมรุ “พระนางเรือล่ม-พระธิดา” เจ้าของเผยตกทอดจากตระกูลช่างหล่อหลวง

เมื่อวันที่ 21 พ.ย. นายสุรพันธ์ อติชาตนันท์ หรือ ‘อาจารย์แดง’ เจ้าของโรงหล่อ “พัฒนช่าง” ย่านบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เปิดเผยกับ “มติชน” ถึงการพบแม่พิมพ์หินสบู่ 2 ชิ้น ปรากฏข้อความว่า

“การพระสพสมเดจพระนางเจ้าสุนันทากุมา (รี) รัตนแลสมเดจพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ ปีจุลศักราช ๑๒๔๒”

อีกชิ้นหนึ่งข้อความขาดหายไปบางส่วนเนื่องจากแม่พิมพ์แตกหัก ระบุว่า

“ในการพระสพสมเดจพระนาง…….แลสมเดจพระเจ้าลูกเธอเจาฟ้า….”

Advertisement

 

นายสุรพันธ์ กล่าวว่า แม่พิมพ์ดังกล่าว ทำจากหินสบู่จากเมืองจีน ไม่มีไนไทย ตนได้รับเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษสายตระกูลพัฒนางกูร ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ นายช่างหลวงคนสำคัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ออกแบบพระสยามเทวาธิราช โดยตนถือเป็น ‘รุ่นโหลน’ (ลื้อ) โดยแม่พิมพ์เหล่านี้ ตนเห็นมาตั้งแต่ยังเด็ก แต่ไมไ่ด้คิดว่ามีความพิเศษ เนื่องจากในครอบครัวมีแม่พิมพืหินจำนวนมาก เมื่อโตขึ้นได้อ่านข้อความบนแม่พิมพ์ ประกอบกับมีผู้ทำการศึกษาประวัติเกี่ยวกับตระกูลของตน จึงมั่นใจว่าต้องเป็นวัตถุสำคัญที่ใช้ในการพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ ซึ่งสวรรคตจากอุบัติเหตุเรือล่ม เมื่อ พ.ศ. 2423 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินขึ้นพระราชทานเพลิงพระศพ ที่ทุ่งพระเมรุ ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2424

แม่พิมพ์03

Advertisement

“เล่ากันมาในตระกูลว่า มาจากในวัง สืบเชื้อสายจากพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ จากนั้นก็มาเป็นปู่เจริญ ตาหลุย ตาหลัด ตาลืม และแม่ แล้วมาเป็นรุ่นผม แม่พิมพ์พวกนี้ เห็นมาตั้งแต่เด็ก แต่ไม่รู้หรอกว่ามันคืออะไร พอตามเรื่องถึงเพิ่งรู้ว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่ช่างชาวบ้านจะมีได้ เพราะเป็นแม่พิมพ์หินสบู่จากเมืองจีน ในไทยไม่มี ข้อความก็ระบุพระนามชัดเจน และยังมีแม่พิมพ์ลวดลายสำหรับติดตัวละครเรื่องรามเกียรติ์และสัตว์หิมพานต์ ซึ่งลายตรงกับชุดที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์พระนคร ทั้งเครื่องแต่งตัวหรือแม้แต่กงล้อราชรถของพระลักษมณ์ตอนถูกศรพรหมมาสตร์ของพระอินทร์และหนุมานหักคอช้างเอราวัณ มั่นใจว่าแม่พิมพ์หินสบู่ลายแบบนี้ ไม่มีที่อื่นแน่นอน”นายสุรพันธ์กล่าว

แม่พิมพ์01
นางรัชดา โชติพานิช คือนักวิจัยด้านประวัติศาสตร์ กล่าวว่า ข้อความและรูปแบบอักษรบนป้ายโลหะในภาพถ่ายครอบแก้วรูปสัตว์ คือ กวางน้อย ซึ่งถ่ายจากพิพิธภัณฑ์เมืองตูริน ประเทศอิตาลี ตรงกับแม่พิมพ์ที่พบ สอดคล้องกับข้อมูลที่เคยค้นพบว่า เป็นการจัดทำขึ้นเพื่อมอบเป็นที่ระลึกสำหรับแจกชาวต่างประเทศ

แม่พิมพ์02

ผศ. นพ. ถนอม บรรณประเสริฐ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้มีความสนใจส่วนตัวในด้านงานช่างหลวง กล่าวว่า ตนค้นข้อมูลจากจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พบข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมงานพระบรมศพ มีการกล่าวถึงการจัดหาของที่ระลึก โดย “หม่อมเจ้าจร” เป็นผู้ถวาย “ครอบแก้ว” กับ “ตัวรูปสัตว์” คือ กวาง รัชกาลที่ 5 โปรดให้ “พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ” ไปทำเป็นตู้ครอบ ภายในมีสวนจำลองขนาดเล็ก ประกอบขึ้นจากต้นไม้แห้ง และตัวรูปสัตว์ ดังนั้น ข้อมูลต่างๆจึงสอดคล้องกันทั้งหมด ถือเป็นการค้นพบที่น่าตื่นเต้น

อาจารย์แดง แห่ง "พัฒนช่าง"
อาจารย์แดง แห่ง “พัฒนช่าง”

แม่พิมพ์

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image